การดูแลบาดแผลของลูกน้อย เมื่อลูกน้อยมีบาดแผล แผลสด แผลแห้ง

20 June 2015
37445 view

การดูแลบาดแผลของลูกน้อย

เด็กๆวัยซน ตั้งแต่ตั้งไข่จนถึงวิ่งวัยอนุบาล คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลไม่ให้คลาดสายตา เพราะไม่เช่นนั้นได้หัวแตก ปากแตกกันเป็นแน่ แต่ถึงจะดูแลอย่างไม่ห่างก็ไม่วายได้แผลบ้างอยู่ดี คุณแม่สามารถทำแผลให้ลูกได้ แต่แผลมีหลายประเภท ได้แก่ แผลสด แผลติดเชื้อ แผลเรื้องรัง เเผลปิด แผลเปิด แผลแห้ง เยอะแยะไปหมด แผลที่พบได้บ่อยคือเเผลเปียกและเเผลแห้งการดูแลแผลแต่ละชนิดแตกต่างรายละเอียดคุณแม่ต้องรู้ตามนี้ค่ะ

dressing set-horz

การดูแลบาดแผลของลูกน้อย แผลสด 

อุปกรณ์

1. เซ็ตทำแผล ( ปากคีบ  ผ้าก๊อซ  สำสีก้อนทรานสปอ )
2. น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์  ( 0.9% NSS )
3. เบตาดีน
4. 70 % แอลกอฮอล์

แผลสดส่วนใหญ่เกิดจากอุบัตืเหตุต่างๆ ได้แก่หัวเตก หกล้ม  มีดบาด หากมีเลือดไหลให้ทำการห้ามเลือดก่อน  โดยใช้ผ้าก๊อซกดลงน้ำหนักที่ปากแผลประมาณ 10 – 15 นาที เลือดจะหยุดไหล แล้วค่อยทำแผล แผลสดที่สกปรกมาก เช่นเลอะดิน ต้องด้วยการใช้น่ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ ( 0.9% NSS ) ล้างเศษดินในแผลออกจนสะอาด แล้วค่อยทำแผล
ขั้นตอนการทำแผลสด

1.ล้างมือให้สะอาด
2.ใช่สำสีชุป 70 %  แอลกอฮอล์ ทารอบปากแผลวนออกด้านนอกวนกว้างออกไปเรื่อยๆ ห้ามเช็ดย้อนไปมา
3. ใช้สำลีชุบน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์  ( 0.9% NSS ) ทำความสะอาดบริเวณแผล
4. ใช้สำลีชุบเบตาดีน เช็ดที่แผลอีกครั้ง ( สำหรับแผลที่ผ่ามาแล้ว 90 นาที) หากเป็นแผลใหม่ ให้ทำผสมเบตาดีนกับน้ำเกลือก่อน เพราะเบตาดีนที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำลายเซลล์เนื่อเยื่อของบาดแผลได้
5. ปิดผ้าก็อซทับแผลไว้ป้องกันการติดเชื้อ
6.ใช้ทรานปอร์ติดทับให้แน่น

ทำแผล เช้า – เย็น หากมีเลือด หรือน้ำเหลืองซึม ควรทำแผลบ่อบขึ้น หรือเปลี่ยนผ้าปิดแผล

การดูแลบาดแผลของลูกน้อย แผลแห้ง 

1. เซ็ตทำแผล ( ปากคีบ  ผ้าก๊อซ  สำสีก้อนทรานสปอร์ )
2. 70 % แอลกอฮอล์

แผลแห้ง ส่วนใหญ่เป็นแผลจากการถลอกไม่ลึก ไม่มีเลือดซึมแล้วการดูแลไม่ยุ่งยากเหมือนแผลสด วิธีทำความสะอาดตามนี้
1.ล้างมือให้สะอาด
2.ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ เช็ดขอบแผลก่อนโดยเริ่มจากบริเวณที่ชิดด้านในเเผลมากที่สุดวนออกด้านนอกประมาณ 2-3 นิ้ว ไม่วนไปมา
3.ใช้สำลีสะอาดก้อนใหม่ชุบแอลกอฮอล์ทาบริเวณบาดแผล
4. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและทรานสปอร์

หากแผลไม่ซึม ทำแผลเช้า – เย็น หรือวันละ 1 ครั้ง

คำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลบาดแผลของลูกน้อย

หากภาวะฉุกเฉินสามารถใช้น้ำไหลผ่านบาดแผลเพื่อทำความสะอาดได้ แต่เนื่องจากน้ำธรรมดามีความกระด้างจะเพิ่มความเจ็บปวดให้กับบาดแผลได้  น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ เป็นน้ำยาที่ม ความเข้มข้นของเกลือ 0.9 % เทียบเท่ากับความเข้มข้นของเกลือในเลือดของคนที่มีสุขภาพปกติ จึงไม่ทำให้ระคายเคืองบาดแผล และหากมีเลือไหลไม่หยุดและแผลลึกมากควรพบแพทย์เพื่อเย็บแผล

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เด็กศีรษะกระแทกพื้น ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยสูงสุด

2. ดูแลผิวลูกรัก อย่างเข้าใจไร้ผดผื่น

3. การดูแลที่ถูกต้อง..เมื่อลูกน้อยถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorail Team