ขาดโปรตีน มีผลต่อสมองลูก 12 อาการเตือนที่บ่งบอกว่าลูกรักขาดโปรตีน

13 June 2015
23464 view

ขาดโปรตีน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

โปรตีนอาหารสมองของเด็กตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โปรตีนช่วยจับกับสารอาหารลำเลียงเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดโปรตีนอาจส่งผลต่อสมองได้

ภาวะขาดโปรตีนในเด็ก 

ภาวะขาดโปรตีนในเด็ก หรือเรียกง่ายๆว่า โรคขาดสารอาหาร เพราะสารอาหารที่เด็กต้องการเป็นส่วนใหญ่แต่ขาดคือ โปรตีน ภาวะขาดโปรตีนนี้ พบมากในเด็กก่อนวัยเรียน เด็กหลายคนกินเก่งแต่ทำไม่เลี้ยงไม่โต  หากลูกคุณแม่มีอาการแบบนี้อยู่อาจเป้นไปได้ว่า ลูกคุณแม่กำลังประสบกับปัญหาร่างกายขาดโปรตีน อาการแสดงที่แม่อาจสังเกตพบ มีดังนี้

อาการแสดงของเด็กขาดโปรตีน 

1.ใบหน้าบวมกลมเหมือนดวงจันทร์  / และมีอีกกลุ่ม ใบหน้าตอบเหี่ยวแห้งคล้ายลูกลิง

2.ตาแห้ง เปลือกตาด้านในซีด หรืออาจมีอาการบวมๆรอบๆดวงตา

3.มีอาการอักเสบภายในช่องปากบ่อยๆเช่น ต่อมน้ำลายโต ลิ้นอักเสบ ริอมฝีปากอักเสบ
4.มีฟันขึ้นช้า

5.ขนตาสั้น ขนตาห่าง ผมเสียแห้งไม่เงางาม

6.ผิวคล้ำ / หรืออาจซีดลง ร่วมกับมีผิวลอก

7.เล็บนิ่มและบาง

8.ผิวแห้ง  รูขุมขนเป็นตุ่ม

9.มีกล้ามเนื้อที่แก้มแต่ไม่มีกล้ามเนื้อที่อวัยวะอื่นๆ เช่นที่สะโพก

10.ท้องป่งโต อาจตรวจพบน้ำในช่องท้อง หรือตับโตร่วมด้วย

11.หัวใจเต้นช้าลง ความดันต่ำ

12.ซีด เลือกออกง่าย

พัฒนาการของเด็กขาดโปรตีน  

การตรวจพัฒนาการ พบว่าเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

พฤติกรรมของเด็กขาดโปรตีน

เด็กขาดโปรตีนมักมีพฤติกรรมเฉยชาต่อสังคม ซึม ไม่ร่าเริง

วิธีป้องกันโรคขาดโปรตีน

โรคขาดโปรตีนพบมากในเด็กก่อนวันเรียน และสาเหตุหลักมาจาก การได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอตามวัย  หรืออาจเกิดจากการดูดซึมของลำไส้ หรือความผิดปกติของไต โปรตีนรั่ว การป้องกันพื้นฐานเริ่มที่อาหารคุณแม่ควรมีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ  สำหรับเด็กทุกช่วงวัยโดยเฉพาะ วัยเริ่มหม่ำ

แหล่งอาหารมากโปรตีนสำหรับเด็ก

1.นม ดื่มนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน หลังจากนั้นเริ่มอาหารเสริม และนม

2.ไข่ จัดเป็นอาหารโปรตีนสูงราคาถูก ควรเริ่มไข่แดงก่อน และรับประทานไข่ขาวหลัง 12 เดือน เพราะรายงานทางการแพทย์พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเสี่ยงต่อการแพ้ไข่ขาว

3.เนื้อปลา ปลาน้ำจืดได้แก่ ปลาช่อน ปลากระพง ปลาทะเลได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทู

4.อกไก่ บริเวณอกไก่พบว่ามีปรืมาณสูงสุดในเนื้อไก่ คุณแม่ควรเลือกใช้อกไก่ในการปรุงอาหารให้ลูกน้อย

5.เนื้อสันในหมู

6.ถั่วลันเตา เต้าหู้

7.ธัญพืช เช่น ควินัว เหมาะมากในการนำมาปรุงอาหารเด็ก ๆ โปรตีนสุงให้พลังงานสูงแต่ไม่อ้วน

นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะขาดโปรตีน สาเหตุหลักเกิดจากภาวะพร่องความรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมของทารก เมื่อทราบเช่นนี้เเล้วคุณแม่อย่าละเลยเรื่องเมนูอาหารลูกน้อยนะคะ ทุกอย่างอยู่ที่คุณแม่แล้วค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. โปรตีนแปลกปลอม อาหารกลุ่มเสี่ยงผ่านน้ำนมแม่สาเหตุทำลูกครืดคราด

2. โปรตีนที่ดีย่อยง่าย จุดเริ่มต้นพัฒนาการที่ดีของลูกรัก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team