คุณแม่ต้องรู้ อุปกรณ์ที่ล้างจมูกเด็กมีอะไรบ้าง ที่ควรซื้อติดบ้านไว้เสมอ

05 February 2023
1141 view

อุปกรณ์ที่ล้างจมูกเด็ก

.

.

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นวิธีที่ปลอดภัย ช่วยให้เด็กที่มีอาการคัดจมูก เนื่องจากมีน้ำมูกอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ อาการดีขึ้น หายใจได้โล่งสะดวกขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกได้ด้วยตนเอง ดังนั้นจึงจำเป็นที่คุณแม่ต้องมีอุปกรณ์ที่ล้างจมูกติดบ้านไว้เสมอ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการล้างจมูกที่ถูกต้อง

อุปกรณ์ที่ล้างจมูกเด็ก มีอะไรบ้าง

เมื่อลูกมีอาการคัดจมูก ให้คุณแม่ล้างจมูกให้ลูกเองก่อน เพื่อเป็นการบรรเทาอาการเบื้องต้นที่ทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน โดยอุปกรณ์ที่ล้างจมูก มีดังต่อไปนี้

  • น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% อุปกรณ์ที่ล้างจมูกสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และคุณแม่สามารถหาซื้อน้ำเกลือได้ง่ายตามร้านขายยา แนะนำให้ซื้อขนาด100ซีซี และเมื่อเทออกมาใช้แล้วมีน้ำเกลือเหลือ ควรเททิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่
  • ถ้วย หรือภาชนะใส่น้ำเกลือ
  • ลูกยางแดง ใช้สำหรับเด็กที่สั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้ โดยลูกแดงยางเบอร์ 0-2 ใช้กับเด็กขวบปีแรก และลูกแดงยางเบอร์ 2-4 ใช้กับเด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป
  • กระบอกฉีดยาพลาสติก อุปกรณ์ที่ล้างจมูกสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย โดยเด็กอายุขวบปีแรก ควรใช้ขนาด1ซีซี และเด็กที่มีอายุ1-5ปี ควรใช้ขนาด 2-5ซีซี

วิธีการล้างจมูกเด็ก ทำอย่างไร

วิธีล้างจมูก เริ่มต้นให้อุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูก เพื่อให้น้ำเกลือมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับเยื่อบุจมูก ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอาการคัดจมูกหลังการล้าง โดยวิธีการอุ่นน้ำเกลือนั้น ทำได้โดยต้มน้ำประปาให้เดือดในหม้อ หลังจากนั้นปิดไฟ แล้วใส่ขวดน้ำเกลือลงไปในน้ำเดือนประมาณ5นาที จึงนำมาใช้ แต่ควรตอบสอบอุณหภูมิน้ำเกลือก่อนว่าอุ่นขนาดที่หลังมือทนได้ไหมทุกครั้ง โดยมีวิธีการล้างจมูกดังต่อไปนี้

1. เตรียมอุปกรณ์ที่ล้างจมูก 

โดยการเลือกลูกยางแดง หรือกระบอกพลาสติกให้เหมาะสมกับวัยของเด็กนั้นๆ

2. ล้างมือ 

ก่อนที่จะล้างจมูกให้เด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ ต้องล้างมือของตนเองให้สะอาดก่อนทุกครั้ง 

3. ผ้าห่มห่อตัว 

สำหรับทารก หรือเด็กเล็ก อาจจำเป็นต้องใช้ผ้าห่มห่อตัว ก่อนล้างจมูก เพื่อป้องกันการดิ้น 

4. จัดเด็กให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อม 

ในทารกที่ยังไม่สามารถนั่งได้ ควรจัดให้เด็กนอนในท่าที่ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว เพื่อป้องกันการสำลัก แต่สำหรับเด็กโตแล้ว ให้เด็กนั่งหรือยืน โดยแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย 

5. ล้างด้วยน้ำเกลือ 

สำหรับทารกให้ค่อยๆ หยดน้ำเกลือ 2-3 หยด หรือสอดปลายกระบอกฉีดยา โดยกระบอกฉีดชิดบริเวณด้านบนของรูจมูกเด็ก แล้วค่อยฉีดน้ำเกลือเข้าไปครั้งละ 0.5 ซีซี ส่วนในเด็กเล็ก ให้ฉีดน้ำเกลือปริมาณ 0.5-1 ซีซี หรือเท่าที่เด็กทนได้

6. เอาน้ำมูกออก 

โดยใช้ลูกยางแดงช่วยดูดน้ำมูกในจมูกของทารกออก ส่วนเด็กเล็กให้สั่งน้ำมูกออกสองข้างพร้อมๆกัน ไม่ควรอุดจมูกข้างใดข้างหนึ่ง

7. ทำซ้ำ 

เมื่อน้ำมูกยังมีอยู่ให้ทำขั้นตอนที่ 5และ6 ซ้ำจนกว่าจะไม่มีน้ำมูก

การดูแลลูกน้อยเมื่อมีน้ำมูก

นอกจากวิธีการล้างจมูก โดยใช้อุปกรณ์ที่ล้างจมูก เมื่อลูกมีน้ำมูกแล้ว ยังมีวิธีการดูแลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่สบายของลูกน้อย ดังต่อไปนี้ 

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 

ควรให้ลูกได้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำในอุณหภูมิห้อง เพราะการน้ำดื่มจะช่วยลดความข้นเหนียวของน้ำมูกลงได้ นอกจากการดื่มน้ำเปล่าแล้ว คุณแม่ยังสามารถให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ได้เช่นกัน 

2. วางหัวหอมไว้ข้างเตียง

ให้ทุบหัวหอม  แล้วห่อผ้าไว้ นำมาวางไว้ใต้หมอน หรือหยอดน้ำมันหอมระเหยที่บริเวณเสื้อ หรือปลอกหมอนที่ลูกนอน เพื่อให้ลูกได้สูดกลิ่น ซึ่งจะช่วย บรรเทาอาการคัดจมูกหายใจไม่ออกขณะนอนได้ 

3. จัดท่านอนให้เหมาะสม 

เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกในขณะที่มีน้ำมูก ในเด็กเล็กควรจัดให้นอนในท่าตะแคง ส่วนเด็กโตแนะนำให้หนุนหมอนสูง เพื่อให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น

4. สูดดมไอน้ำ

เด็กที่มีอาการคัดจมูก มักหายใจไม่สะดวก คุณแม่สามารถให้เด็กสูดดมไอน้ำจากฝักบัวหรือกาน้ำร้อนได้ ด้วยวิธีต้มน้ำ4-6ถ้วย แล้วใช้ผ้าขนหนูกางไว้เหนือศีรษะเพื่อกักเก็บไอน้ำให้มากที่สุด โดยสามารถทำติดต่อกันครั้งละ10-15นาที

5. ปรับอุณหภูมิห้อง

ในช่วงที่ลูกไม่สบายแบบนี้ คุณแม่ควรปรับอุณหภูมิในห้องนอน หรือห้องที่ลูกอยู่ ให้มีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ถ้าลูกร้อนก็เลือกเสื้อผ้าให้ลูกอย่างเหมาะสม แต่ถ้าเปิดพัดลมก็ควรเปิดแบบส่ายไปส่ายมา

6. งดออกไปเล่นนอกบ้าน

ในช่วงที่ลูกมีน้ำมูกแบบนี้ จำเป็นต้องให้ลูกพักผ่อนเยอะๆ ไม่พาออกไปเที่ยวนอกบ้าน เพราะอาจไปแพร่เชื้อต่อหรือรับเชื้อโรคอื่นๆได้ง่าย

7. ระวังหวัดลงหูและลงคอ

คุณแม่ควรเฝ้าระวัง ถ้าอาการน้ำมูกของลูกแย่ลง โดยดูจากสีของน้ำมูกออกเหลือง หรือเขียว เพราะอาจส่งผลให้เป็นโรคอื่นๆตามมา เช่น หูอักเสบ หรือคออักเสบ จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

8. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

สำหรับเด็กที่มีน้ำมูกเพราะเกิดจากอาการภูมิแพ้ ก็ควรหาสาเหตุของการแพ้และหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น น้ำมูกก็จะดีขึ้น

การล้างจมูกให้ลูก ต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสำคัญ โดยน้ำเกลือ และอุปกรณ์ที่ล้างจมูกต้องสะอาดอยู่เสมอ น้ำเกลือต้องใหม่ ไม่เปิดทิ้งไว้นานเพราะอาจมีเชื้อโรคสะสมอยู่ รวมทั้งวิธีล้างจมูก คุณแม่ก็จำเป็นต้องศึกษาให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูก เช่นน้ำเกลือเกิดย้อนกลับไปในไซนัส หรือเกิดแก้วหูทะลุ เนื่องจากการสั่งน้ำมูกข้างเดียวเป็นต้น

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ล้างจมูกเด็กไม่ยากอย่างที่คิด ควรล้างจมูกเด็กบ่อยแค่ไหนแม่ต้องรู้

2. ล้างจมูกให้เด็กทารก 0-12 เดือน ล้างอย่างไรให้ลูกไม่สำลัก ไม่งอแง

3. เทคนิคดีๆเพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจโล่ง จากอาการหวัดเมื่ออากาศเปลี่ยน

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team