หลงตัวเอง ความผิดปกติในเด็กที่ไม่ควรมองข้าม เช็คสิมีอาการอย่างไร

16 December 2022
775 view

โรคหลงตัวเอง

.

.

พัฒนาการของลูกถือเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่อย่างเราไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านั้นสามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของลูกได้ ซึ่งความผิดปกติอย่างหนึ่งที่พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน นั่นก็คือภาวะ หลงตัวเองพ่อแม่บางคนอาจจะมองว่าเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน จึงทำให้มองข้ามและไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้กันเป็นจำนวนมาก แต่ในทางจิตเวชนั้นถือเป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็ก และพ่อแม่ก็ไม่ควรมองข้ามกับเรื่องนี้เด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เด็กเกิดความคิดแบบผิด ๆ ได้ วันนี้เราเลยจะพาคุณไปรู้จักกับภาวะดังกล่าวนี้กันว่าเป็นอย่างไร พร้อมกับแนวทางการรักษาเมื่อรู้ว่าลูกกำลังอยู่ในภาวะดังกล่าว 

ลูกหลงตัวเอง ความผิดปกติทางจิตเวช

โรคหลงตัวเอง หรือ Narcissistic personality disorder ถือเป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่งในเด็ก โดยจะทำให้เด็กมีบุคลิกเป็นคนที่ค่อนข้างจะหลงตัวเอง ชอบยกยอตัวเองว่าตัวเองเก่งที่สุด หรือเก่งกว่าคนอื่น ๆ และมักจะมองคนอื่นด้อยกว่า ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ หรือในบางคนก็จะมองหาผลประโยชน์จากผู้อื่น สำหรับภาวะ หลงตัวเองเป็นภาวะทางจิตเวชในเด็กที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน ส่งผลทำให้พ่อแม่หลายคนไม่เข้าใจในเรื่องนี้จนทำให้เกิดการมองข้ามและไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ โดยทางจิตเวชจะมองว่าภาวะ หลงตัวเอง นั้นมักเกิดจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม รวมถึงการเลี้ยงดูของครอบครัวด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กที่เป็น โรคหลงตัวเอง มักจะมาจากครอบครัวที่ถูกเลี้ยงด้วยความคาดหวัง และการตามใจมากจนเกินไป ทำให้มักมองคนอื่นด้วยค่ากว่าเสมอ ซึ่งรู้หรือไม่ว่าหากพ่อแม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเรื้อรัง หรือเด็ดไม่ได้รับการรักษาหรือคำแนะนำที่ดีอาจส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเด็กและสังคมรอบข้างได้ รวมทั้งอาจจะส่งผลกระทบต่อปัญหาจิตเวชอื่น ๆ อีกด้วย อย่างเช่น โรคซึมเศร้า 

อาการของเด็กที่เป็นโรคนี้

อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่าพ่อแม่หลายคนไม่ให้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ทำให้เด็กที่อยู่ในภาวะ หลงตัวเอง เกิดปัญหาเรื้อรัง และมักมีแนวความคิดแบบผิด ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการสังเกตอาการของเด็กว่าเป็นอย่างไร โดยอากาของเด็กที่กำลังอยู่ในภาวะ หลงตัวเอง มีดังนี้ 

1. มีความต้องการเป็นที่สนใจ

การเป็นที่สนใจเป็นเรื่องปกติที่เด็กต้องการแต่ในเด็กปกติเมื่อได้รับความสนใจจะมีความรู้สึกปลาบปลื้ม และขอบคุณพร้อมกับเข้าใจในสิ่งที่ได้รับ แต่ในเด็กที่มที่มีภาวะ หลงตัวเอง เมื่อได้รับความสนใจเขาจะมีไม่รู้สึกถึงความพิเศษ และไม่ซาบซึ้งในสิ่งที่ได้ และไม่ขอบคุณกับสิ่งที่ได้รับ 

2. ความสัมพันธ์ลดน้อยลง

เด็กปกติโดยทั่วไปจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและพูดคุยกับทุกคนได้อย่างมีความสุข แต่ในเด็กที่มีภาวะ หลงตัวเอง มักจะมีความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวไม่ค่อยดี รวมถึงความสัมพันธ์กับสังคมภายนอก คือ จะมีลักษณะเป็นคนเพื่อนน้อย ดื้อ เอาแต่ หยิ่งและมีนิสัยที่ไม่ฟังใคร

แนวทางการรักษา

หากเมื่อไหร่ที่พ่อแม่สังเกตเห็นว่าเด็กกำลังอยู่ในภาวะ หลงตัวเอง จริง ๆ แล้วมีแนวทางรักษาเพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังและเป็นปัญหาระยะยาวได้ไม่ยาก เพราะอย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าปัญหาต่าง ๆ จะสามารถแก้ไขได้ด้วย ความเข้าใจก่อนเลยเป็นอันดับแรกจากนั้นก็จะตามมาด้วยแนวทางการรักษาตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการรักษาเด็กที่มีภาวะ หลงตัวเอง มีดังต่อไปนี้

  • เมื่อพ่อแม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหารที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรคุณสามารถปรึกษาพูดคุยกับจิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นได้ทันที โดยแพทย์จะใช้วิธีประเมินจากอาการลักษณะความคิด พร้อมกับอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความรักมากขึ้น และช่วยให้เด็กของเห็นคุณค่าในตัวเอง ปรับเปลี่ยนความคิดให้มีความเห็นอก เห็นใจคนอื่นมากขึ้น 
  • หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมและแง่ความคิดในแนวลบมากจนเกินไปแพทย์จะทำการบำบัดด้วยด้วยความคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยแพทย์อาจจะต้องขอความร่วมมือกับผู้ปกครองและคนในครอบครัว เพื่อให้มีความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมแก้ปัญหาไปด้วยกัน ในบางกรณีที่รุนแรงอาจจะต้องรักษาร่วมกับการใช้ยา
  • พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวบ่อย ๆ เปิดใจที่จะเข้าถึงปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กสัมผัสได้ถึงความรักและการเอาใจใส่ โดยที่ไม่รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว เพราะเมื่อเด็กได้รับความรัก ความเอาใจใส่ เขาจะเห็นคุณค่าในตนเองและรักตนเอง มีความเห็นอก เห็นใจคนอื่นมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือเขาจะมองเห็นคุณค่าในตัวเองและคนอื่นอยู่ตลอดเวลา 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความผิดปกติของภาวะหลงตัวเองที่เกิดขึ้นในเด็ก เพราะฉะนั้นแล้วหากเมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่สังเกตเห็นความผิดปกติของลูกไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามสิ่งสำคัญอันดับแรกคือจะต้องทำความเข้าใจด้วยเหตุผล เพื่อจะได้สามารถหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และแน่นอนเลยว่าเมื่อเราทราบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นของความผิดปกติต่าง ๆ พ่อแม่อย่างเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จนลูกสามารถกลับมามีอาการที่ปกติโดยสมบูรณ์ได้อย่างแน่นอน 

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ยาสีฟันสำหรับเด็ก ควรเลือกอย่างไร? ยี่ห้อไหนดีที่สุด

2. โรคในฤดูฝน เด็กป่วยง่ายผู้ใหญ่ป่วยบ่อย เช็คสิมีโรคอะไรบ้าง

3. นมแม่แช่แข็ง นำมาละลายให้ลูกดื่มอย่างไร ไม่สูญเสียคุณค่าทางอาหาร

 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team