จุกนมหลอก จำเป็นไหม? เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย

18 April 2022
2025 view

จุกนมหลอก จำเป็นไหม?

.

.

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนแรกหลายคนอาจจะยังสับสนว่า จุกนมหลอก จำเป็นไหมในการเลี้ยงลูก และหากใช้ไปนานๆ จะมีผลต่อสุขภาพปากและฟันของลูกหรือไม่ ควรเลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูกน้อยมากที่สุด ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับจุกหลอก และวิธีการเลือกซื้อที่คุณแม่ควรรู้กันค่ะ

จุกนมหลอก จำเป็นหรือไม่

จุกนมหลอก ถือเป็นอุปกรณ์ตัวช่วยในการเลี้ยงดูลูกอย่างดี เพราะจุกหลอกจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย เบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหยุดร้อง ช่วยให้ไม่ดูดนิ้วที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด นอกจากนี้จุกหลอกยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกระหว่างที่นอนหลับ หรือที่เรียกว่าโรคใหลตายในเด็กได้อีกด้วย โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้จุกนมหลอกนั้น เด็กควรมีอายุครบหนึ่งเดือนขึ้นไปแล้ว สำหรับคุณแม่ที่ป้อนนมลูกจากขวดสามารถใช้ จุกหลอก ให้ลูกดูดแทนการดูดนมจริงหลังจากที่ลูกดื่มนมอิ่มแล้วได้ แต่ใช่ว่าการใช้ จุกนมหลอก จะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะการใช้มากเกินไปก็อาจจะไปสกัดกั้นการเจริญเติบโตของลูกได้เช่นกัน รวมถึงเสี่ยงที่จะติดเชื้อในหู และหากใช้นานๆ ก็อาจทำให้ลูกฟันยื่น ฟันเหยิน ฟันเกได้ ซึ่งสรุปแล้วการใช้ จุกนมหลอก จำเป็นกับลูกน้อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ในการเลี้ยงลูกนั่นเอง

วิธีการเลือกจุกนมหลอก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่แน่นอนว่าความปลอดภัยของลูกน้อยต้องมาเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกับการเลือก จุกนมหลอก คุณแม่ควรพิจารณาเลือกอย่างพิถีพิถันเพื่อความปลอดภัยของลูก โดยวิธีการเลือก จุกนมหลอก ที่ดีก็มีดังนี้

1. เลือกให้เหมาะกับวัยของลูก

คุณแม่ควรเลือก จุกหลอก ให้เหมาะกับวัยและขนาดปากของลูกมาเป็นอันดับแรก เพราะขนาดที่เหมาะสมจะปลอดภัยกับลูกมากที่สุด หากเลือกเล็กหรือใหญ่จนเกินไปอาจเสี่ยงที่จะทำให้ลูกสำลักนมขณะที่ดื่มได้

2. มีรูระบายอากาศได้ดี

อีกหนึ่งจุดสำคัญในการเลือกซื้อ จุกนมหลอก สำหรับลูกน้อยให้ปลอดภัยนั่นก็คือ รูระบายอากาศ เพราะรูระบายอากาศจะช่วยให้อากาศถ่ายเทมากขึ้นระหว่างที่ลูกใช้ดูด ทำให้ลมไม่เข้าไปอยู่ในท้องจนเป็นสาเหตุอาการท้องอืดในเด็กนั่นเอง

3. เลือกตามวัสดุที่เหมาะสม

เนื่องจากว่า จุกนมหลอก นั้นผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ซิลิโคน ยางพารา และพลาสติก ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดนั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน คุณแม่ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของลูก เพราะหากลูกมีอาการแพ้ยางก็ควรเลือกแบบซิลิโคน หรือ พลาสติกแทน

4. ปลอดสาร (BPA) 

เพราะสารบีพีเอนั้นถือเป็นสารเคมีที่อันตรายต่อเด็กมาก เป็นสารที่นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นจำพวกพลาสติก คุณแม่ควรเลือก จุกนมหลอก ที่ปราศจากสาร บีพีเอ จะช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยมากขึ้น

5. ทำความสะอาดง่าย

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกซื้อ จุกนมหลอก ให้ปลอดภัยกับลูกน้อยนั่นก็คือการล้างทำความสะอาดง่ายสามารถใช้ล้างกับสบู่หรือน้ำยาล้างขวดนมได้ และที่สำคัญต้องทนต่อความร้อนเวลาใช้ความร้อนฆ่าเชื้อนั่นเอง

คำแนะนำในการใช้ให้ปลอดภัย

หลังจากคุณแม่ได้ทราบวิธีการเลือก จุกหลอก ที่ปลอดภัยไปแล้ว มาต่อกันที่วิธีการใช้งานที่ปลอดภัยกันดีกว่า โดยการใช้จุกนมหลอก คุณแม่จะต้องทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ล้างทำความสะอาด จุกนมหลอก ทุกครั้งหลังลูกใช้งานเสร็จเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
  2. ควรเปลี่ยนใหม่เป็นประจำอย่างน้อยทุกๆ 1 – 2 เดือน หรือหากมีรอยรั่วหรือฉีกขาดมีกลิ่นเหม็นก็ควรเปลี่ยนเลยทันที
  3. เลี่ยงการซื้อจุกที่มีของประดับสวยงาม อย่างเช่น กากเพชรที่หลุดลอกง่าย เพราะชิ้นส่วนเหล่านั้นอาจจะหลุดเข้าไปในปากหรือตาทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้
  4. ไม่ควรใช้จุกกับเด็กคนอื่น และควรมีจุกสำรองไว้อย่างน้อย 2 อัน
  5. ไม่ควรใช้สายคล้องกับจุก เพราะจะทำให้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
  6. ไม่ควรใช้ของหวานทาบริเวณจุกเพื่อเป็นการหลอกล่อให้ลูกดูด เพราะของหวานและน้ำผึ้งอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ และยังเสี่ยงที่จะทำให้ลูกติดหวานอีกด้วย
  7. หากลูกน้อยไม่ยอมใช้จุกก็ไม่ควรฝืน เพราะการใช้จุกหลอกนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเช่นกัน

ต้องยอมรับเลยว่าการใช้ จุกนมหลอก ในการเลี้ยงลูกนั้นช่วยให้คุณแม่สะดวกสบายมีเวลามากเพิ่มมากขึ้น เพราะจุกสามารถช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อยได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่พาไปฉีดวัคซีน เวลาร้องไห้งอแง หรือการใช้จุกเพื่อให้ลูกน้อยหลับสบายมากยิ่งขึ้น แต่ใช่ว่าการใช้จุกนั้นจะมีแต่ข้อดีอย่างเดียว เพราะหากลูกไม่ยอมใช้จุกตั้งแต่แรกก็ไม่ควรฝืน เพราะเด็กถ้าติดจุกแล้วหากไม่มีจุกหลอกก็จะไม่ยอมนอน และหากใช้ไปนานๆ ก็เสี่ยงที่ลูกจะมีรูปปากที่ผิดไป เสี่ยงที่จะฟันยื่น ฟันเก ฟันเหยิน ได้เช่นกัน

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ลูกติดจุก ติดขวด แก้อย่างไรให้สำเร็จ

2. จุกหลอกดีจริงหรือ? เช็คข้อดี VS ข้อเสียของจุกนมหลอกได้ที่นี่

3. เทคนิคเลิกขวดนมแบบหักดิบ และเลิกแบบค่อยเป็นค่อยไป เลิกแบบไหนแม่เลือกได้

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team