เจ็บแสบหัวนม เพราะหัวนมแตก จะบรรเทาอาการได้อย่างไร

29 March 2022
2820 view

เจ็บแสบหัวนม

.

.

อาการหัวนมแตก เจ็บแสบหัวนม สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดที่ให้นมบุตรทุกคน โดยอาการหัวนมแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้อันตรายอะไรแต่ก็สร้างความกังวลใจให้คุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถที่จะให้นมลูกน้อยจากเต้าได้อีกด้วย โดยหากมีอาการหัวนมแตกจะบรรเทาได้อย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากคุณแม่กันค่ะ

วิธีบรรเทาอาการหัวนมแตก เจ็บแสบหัวนม

คุณแม่หลังคลอดที่เป็นมือใหม่ มักจะมีอาการหัวนมแตก  เจ็บแสบหัวนม ได้ง่าย เนื่องจากมีการให้นมลูกในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือการติดเชื้อรา หากคุณแม่มีอาการหัวนมแตกและมีอาการเจ็บแสบบริเวณหัวนม สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. หากมีอาการ เจ็บหัวนม หัวนมแตกคุณแม่สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งให้ลูกดูดไม่ให้ลูกดูดทับรอยเดิมที่แตก และทานยาบรรเทาอาการปวดตามที่หมอแนะนำ ห้ามซื้อยามาทานเองโดยเด็ดขาด
  2. ถ้ามีอาการ เจ็บแสบหัวนม ลานนมตึงหรือแข็ง ให้คุณแม่ทำการบีบน้ำนมออกจากเต้าหรือนวดบริเวณลานนมให้นิ่มลงก่อนให้ลูกดื่มให้หมดเต้า เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  3. หากมีอาการคัดเจ็บปวดที่เต้า ให้คุณแม่บีบน้ำนมออกมานิดหน่อยเพื่อให้เต้ามีความนิ่มขึ้น ก่อนที่จะให้ลูกดูด วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการคัดเต้าเจ็บปวดที่เต้าได้ดี
  4. หากคุณแม่มีอาการ เจ็บแสบหัวนม หัวนมทั้งสองข้างเจ็บเหมือนกัน ให้นำผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นมาประคบบริเวณหัวนมทั้งสองข้าง เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเต้าได้ดี
  5. ควรให้ลูกดื่มนมในท่าที่เหมาะสม โดยจมูก แก้ม และคางของลูกน้อยควรสัมผัสกับเต้านม ริมฝีปากของลูกทั้งข้างบนและข้างล่างควรแบะออกเหมือนกับปากปลา
  6. การล้างหัวนมบ่อยๆ จะทำให้หัวนมแห้งและแตก ควรล้างตามความเหมาะสม อย่างเช่น ตอนที่มีเหงื่อ หรือหลังจากให้นมลูกดูดเท่านั้น เพื่อป้องกันความสกปรกตกค้างที่หัวนม จนเป็นสาเหตุทำให้หัวนมแตก และอักเสบ
  7. หลังจากที่ให้นมลูกทุกครั้ง คุณแม่ควรบีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันหัวนมแตก หรือจะใช้ลาโนลิน ที่เป็นไขมันชนิดพิเศษ ทาบริเวณหัวนมเล็กน้อยเพื่อป้องกันหัวนมแห้งและแตกจนก่อให้เกิดแผล

หัวนมแตก ให้นมลูกอย่างไรดี

คุณแม่ที่มีอาการหัวนมแตก เจ็บแสบหัวนม ทั้งสองข้าง การให้นมลูกในช่วงนี้ก็คงจะมีอุปสรรคเหมือนกัน ถึงแม้ว่าหัวนมแตกจะมีเลือดปนมากับนมแต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยแต่อย่างใด หากมีอาการหัวนมแตก เจ็บหัวนม ในช่วงนี้คุณแม่ควรใช้การปั๊มนมให้ลูกดื่มแทนการดูดนมจากเต้าโดยตรงไปก่อน เพราะหากฝืนให้ลูกดูดนมจากเต้าจะยิ่งทำให้คุณแม่เจ็บแสบหัวนมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยการปั๊มนมจะช่วยให้คุณแม่ยังให้นมลูกได้ตามปกติ รวมถึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับมือปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย

ป้องกันหัวนมแตกได้ยังไง

อาการหัวนมแตก สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่หลังคลอดเป็นอย่างมาก แถมยังทำให้ไม่สามารถให้นมลูกน้อยตามตามปกติได้อีกด้วย หากไม่อยากหัวนมแตกคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. จัดท่าให้นมลูกอย่างเหมาะสม โดยให้ลูกนอนดูดนมในท่าที่สบายๆ โดยการใช้หมอนรองให้นมช่วยด้วย
  2. หากมีอาการ เจ็บแสบหัวนม ข้างใดข้างหนึ่งควรหยุดให้ลูกดูดและให้ลูกดูดข้างที่ไม่เจ็บแทน แต่หากมีอาการเจ็บทั้งสองข้าง คุณแม่สามารถใช้การปั๊มนมให้ลูกดื่มแทนจนกว่าหัวนมจะหายดี
  3. หลังจากที่ให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง คุณแม่ควรบีบน้ำนมทาบริเวณหัวนม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับหัวนม ป้องกันหัวนมแห้งและแตก
  4. หากนมคัดตึงมากจนเกินไปควรทำการบีบน้ำนมออกจากเต้าให้เต้านิ่มก่อนจึงให้ลูกดูด
  5. ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าให้หมดทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการอักเสบของเต้านม จนก่อให้เกิดอาการหัวนมแตก เจ็บแสบหัวนม 
  6. โดยปกติแล้วเมื่อลูกดูดนมแม่จนอิ่มแล้วก็มักจะหลับคาเต้าแม่ หากลูกหลับขณะที่ดูดเต้านมอยู่ คุณแม่ควรมีวิธีที่จะเอาหัวนมออกจากปากลูกอย่างเหมาะสมโดยที่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่ โดยการสอดนิ้วเข้าไปในปากลูกให้นิ้วอยู่ระหว่างเงือกของลูกเพื่อลดแรงดูด จากนั้นจึงค่อยๆ นำหัวนมออกมาช้าๆ 
  7. หากคุณแม่มีอาการ เจ็บหัวนม และต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด คุณแม่ควรทานยาก่อนให้นมลูกอย่างน้อย 30 นาทีทุกครั้ง
  8. หากมีอาการแตกแห้งบริเวณหัวนม คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่แพทย์แนะนำเพื่อใช้ทาบริเวณหัวนม เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับหัวนม ป้องกันอาการหัวนมแตก และเมื่อจะให้นมลูกทุกครั้งควรมีการล้างหรือเช็ดออกก่อนเพื่อความปลอดภัย

หัวนมแตก ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่มักจะพบเจอในระหว่างที่ให้นมลูก หัวนมแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีที่เรานำมาแนะนำในวันนี้ หากมีอาการหัวนมแตก เจ็บแสบหัวนม ที่รุนแรงคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์และทำการรักษาอย่างเหมาะสมตามที่แพทย์ได้แนะนำเพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยนั่นเอง

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อาการเต้านมอักเสบ เจ็บเต้านม แก้ไขอย่างไร

2. เจ็บเต้าสองข้าง เกิดจากอะไร? ปัญหาที่แม่ให้นมลูกมักต้องเจอ

3. เต้านมคัด สาเหตุเต้านมคัด และวิธีรับมือกับอาการเต้านมคัดให้หายทันใจ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team