สเต็มเซลล์จากสายสะดือ (MSC) เมื่อแรกคลอด

27 January 2014
3863 view

สเต็มเซลล์จากสายสะดือ


สเต็มเซลล์จากสายสะดือ (MSC) เมื่อแรกคลอด สายสะดือของทารกจะมีส่วนที่เรียกว่า Wharton’s jelly ซึ่งเป็นอุดมไปด้วย มีเซนไคมอล สเต็มเซลล์ (Mesenchymal stem cell) ซึ่งเป็นสเต็มเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ของอวัยวะต่างๆ อาทิเช่น เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์กระดูกอ่อน เซลล์ไขมัน เซลล์กล้ามเนื้อ  เซลล์ประสาท เซลล์ตับ เซลล์ตับอ่อนชนิด เบต้า เป็นต้น  ถือว่าเป็นทางเลือกการรักษาหนึ่งที่เป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาที่จะช่วยใน การซ่อมแซมเซลล์ และเนื้อเยื่อใหม่ รวมถึง โรคพาร์กินสัน อาการกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ อาการชัก แผลที่เกิดจากไฟไหม้ โรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 1 โรคข้ออักเสบและบวม โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และโรคเกี่ยวกับตับ เป็นต้น

ทำไม่ต้องเก็บเลือดจากสายสะดือ เก็บจากเส้นเลือดอื่นได้หรือไม่ 

ตัวสายสะดือนั้นจะมีเซลล์ต้นกำเนิดซึ่งสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิ คุ้มกัน เพิ่มอัตราการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากเลือดให้ประสบผลสำเร็จมากขึ้น และช่วยลดการต่อต้านเนื้อเยื้อ (GVHD)พร้อมทั้งลดการปฏิเสธเซลล์ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพการปลูกถ่ายจะสำเร็จเพิ่มมากขึ้นหากใช้ ร่วมกันในการปลูกถ่าย สเต็มเซลล์จากเลือดจากสายสะดือ

สเต็มเซลล์จากสายสะดือ มีความสำคัญอย่างไร 

สเต็มเซลล์จากเลือดจากสายสะดือจะมีความสำคัญในการนำไปใช้ในการปลูกถ่าย กลุ่มโรคเลือดเป็นหลัก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือต้องมีการทดสอบการเข้ากันได้ของรหัสเนื้อเยื่อเม็ด เลือดขาวระหว่างผู้รับกับผู้ให้ก่อน อีกทั้งยังผลข้างเคียงระยะยาวคือการต้านเซลล์ของผู้ให้จากผู้รับ ซึ่งผู้รับจะต้องทานยากดภูมิต้านทานตลอดชีวิต แต่ถ้าการปลูกถ่ายนั้นถ้าทำร่วมกับการปลูกถ่ายมีเซนโคมอล สเต็มเซลล์ แล้วนั้นจะลดการต้านเซลล์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับได้อย่างมาก เพราะข้อมูลวิจัยต่างจากประเทศพบว่า มีเซ็นไคมอล สเต็มเซลล์  ช่วยลดการต่อต้านของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ให้กับผู้รับอีกทั้งยังไม่จำเป็น ต้องตรวจการเข้ากันได้ของรหัสเนื้อเยื่อเม็ดเลือดขาว

หลังจากตัดสายสะดือส่วนที่ติดกับตัวเด็กประมาณ 20 ซม. ห้องปฏิบัติการจะถูกนำไปสกัดโดยเทคนิคชั้นสูงเพื่อให้ได้ส่วนของมีเซนไคมอล สเต็มเซลล์และเก็บแช่แข็งไว้ เมื่อต้องการใช้ในอนาคตก็สามารถนำไปใช้ได้ ไม่ต่างจากการรับเลือดกรุ๊ปโอ ที่ร่างกายผู้รับไม่ต่อต้าน

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. 13 เรื่องที่เกิดกับแม่ลูกมือใหม่ 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

2. ผื่นผ้าอ้อม เคล็ดลับดีๆและวิธีป้องกันการเกิดผื่นผ้าอ้อม

3. ประเภทของผดผื่นในเด็ก และการดูแลผื่นที่ถูกต้องเพื่อให้ผื่นหายเร็ว

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team