นมแม่ แน่อย่างไร รวมทุกเรื่องที่คุณแม่ นมแม่ต้องรู้จริง!!!

28 February 2018
4182 view

นมแม่

นมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารมากที่สุด การให้ลูกน้อยได้ดูดนมทันทีหลังคลอดนำไปสู่น้ำนมหยดแรกที่มีคุณค่าทางสารอาหาร สร้างสายใยรัก ให้ภูมิคุ้มกันโรค ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้และมีการพัฒนาสมอง ตลอดจนการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัยควบคู่กับนมแม่




10 เรื่องของนมแม่ ที่คุณแม่มือใหม่อาจไม่รู้

1. นมแม่มีสารทำลายเชื้อโรค เวลาที่ลูกน้อยดูดนมแม่จะมีนมแม่ค้างอยู่ในปาก ช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปากลูก

2. นมแม่ช่วยปรับสมดุลย์ระบบย่อยและระบบขับถ่าย

3. นมแม่ช่วยให้ลูกห่างไกลโรค เพราะนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่างๆ

4. นมแม่ช่วยให้ลูกเจริญเติบโตอย่างเต็มที่

5. นมแม่เป็นสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติ 

6. นมแม่ช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูก

7. ให้นมลูก แม่หุ่นดี นมแม่ดีต่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน ระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวเข้าที่ได้อย่างลวดเร็ว และช่วยเผาผลาญไขมันของแม่ให้ลดลงด้วย 

8. นมแม่ไม่ทำให้ลุูกอ้วนจนเกินไป เนื่องจากนมแม่มีสารอาหาร อยู่ในสัดส่วนทีเหมาะสมกับเด็กทารก 

9. นมแม่มี DHA ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ที่เป็นองค์ประกอบของไขมันทช่วยในการที่ช่วยบำรุงสมอง

10. นมแม่ช่วยลดภาวะเสี่ยงของการเป็นโรคภูมิแพ้

กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ลูกจะขาดสารอาหารหรือไม่

ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ระบบต่างๆในร่างกาย ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การให้ทารกได้รับประทานอาหารที่ย่อยยากๆ จะมีผลทำให้ระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายทำงานหนักและไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ทารกมีอาการท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อยได้ ดังนั้นทารกตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงอายุ 6 เดือนรับประทานได้นั้น ควรเป็นอาหารเหลว ที่มีปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ และย่อยง่าย และอาหารที่เหมาะสมที่สุดคือ นมแม่ เพราะในนมแม่  จะมีโปรตีนโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย มีไขมันที่มีประโยชน์ มีภูมิต้านทานร่างกาย  ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดี นมแม่ยังมีฮอร์โมนโพรสตาแกลนดินที่ช่วยให้ลำไส้เคลื่อนตัวเร็ว ซึ่งส่งผลให้ระบบขับถ่ายของลูกทำงานได้ดี

นมแม่มีข้อเสียหรือไม่

นมแม่ล้วนมีประโยชน์และสารอาหารมากมายต่อลูกน้อย หากคุณแม่ที่ให้นมบุตรทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมักของดอง อาจมีผลเสียต่อนมแม่ได้หากลูกกินนมอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่สบาย ท้องเสีย ฉะนั้นนมแม่มีข้อดีอยู่มากมายแต่ข้อเสียของนมแม่ก็มีเช่นกันคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องดูแลรักษาสุขภาพทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อตัวคุณแม่และลูกน้อย

นมแม่จัดเก็บอย่างไร

วิธีการเก็บน้ำนมแม่มี 2 วิธีคือ

1. ใช้มือบีบน้ำนม  เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ก่อนการเก็บน้ำนมควรล้างมือให้สะอาด นวดคลึงบริเวณเต้านมอย่างแผ่วเบา จากนั้นจึงใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งวางบริเวณลานหัวนมในลักษณะตัว C ส่วนนิ้วที่เหลือช่วยประคองเต้า ค่อย ๆ บีบเป็นจังหวะอย่างเบามือ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บ หากน้ำนมยังไม่ออกให้เปลี่ยนตำแหน่งนิ้วชี้และนิ้วโป้งเล็กน้อย แล้วเริ่มบีบเป็นจังหวะอีกครั้ง หากน้ำนมเริ่มไหลช้าลง จึงค่อยเปลี่ยนทำกับเต้านมอีกข้าง 

2. ใช้เครื่องปั๊มนม มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปั๊มนมแบบมือ เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมได้ครบทุกส่วนทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง ในกรณีที่ลูกน้อยทานนมแค่ส่วนหน้าหรือทานนมแค่เต้าเดียว

นมแม่ด้อยค่าหลัง 1 ปี จริงหรือ

เมื่ออายุครบ 1 ปี ลูกทานอาหาร 3 มื้อ แต่คุณค่าทางสารอาหารในน้ำนมแม่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หากคุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลานาน แต่น้ำนมแม่ยังคงคุณค่าอยู่เสมอต่อาจจะน้อยลงตามธรรมชาติร่างกายของแม่และตามความต้องการของลูก

น้ำนมแม่ในช่วงเวลา 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ ให้สารอาหารที่สำคัญในการบำรุงสมองและร่างกายในสัดส่วนดังนี้ 

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 43% ของ โปรตีน ที่เด็กต้องการต่อวัน

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 36% ของ แคลเซียม ที่เด็กต้องการต่อวัน

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 75% ของ vitamin A ที่เด็กต้องการต่อวัน

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 76% ของ โฟเลต ที่เด็กต้องการต่อวัน

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 94% ของ vitamin B12 ที่เด็กต้องการต่อวัน

นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 60% ของ vitamin C ที่เด็กต้องการต่อวัน

5 สาเหตุนมแม่มาน้อย นมแม่ไม่มี นมแม่ไม่เพิ่ม

1. ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี งับเต้านมไม่ลึกพอ

2. ลูกดูดนมแม่น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือให้อาหารเสริมก่อนวัย 6 เดือนทำให้ลูกอิ่ม ไม่ยอมดูดเต้า

3. เริ่มให้ลูกดูดนมกระตุ้นช้าเกินไปหลังจากคลอด

4. กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอ

5. เกิดความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย




นมแม่คัด คัดเต้านม ( Engorged ) ทำอย่างไร

เต้านมคัด (Engored) คุณแม่ทุกคนต้องประสบพบเจอหลังคลอด ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวด ไม่สบายตัว มีไข้ เป็นสาเหตุในการให้นมได้ไม่ดี ไม่สามารถระบายน้ำนมออกได้ จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง ทำให้หัวนมสั้นลงจนลูกดูดไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี บางครั้งอาจจะมีไข้ได้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

เต้านมคัดเกิดจากสาเหตุ

1. ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้การระบายไม่ดีเท่าที่ควร

2. ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน

3. ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้การระบายไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีแก้ปัญหาเต้านมคัด

มีวิธีแก้ปัญหาเต้านมคัด ดังนี้

1. บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง

2. ให้ลูกดูดน้ำนมบ่อยมากขึ้น อย่างน้อยทุก 2 – 2 ½ ชั่วโมง 

3. ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดอย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่จะให้นมลูก

4. ถ้าแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจต้องพัก ระบายน้ำนมออกโดยบีบหรือปั๊มออก

5. รับประทานยาแก้ปวด ตามความจำเป็นเช่น พาราเซทตามอล

6. หลังให้นมลูกเสร็จ ประคบเต้านมด้วยความเย็นเพื่อลดความเจ็บปวด

7. บีบเอาน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ 

8. หากอาการคัดเป็นรุนแรงมาก ควรปรึกษาคลินิกนมแม่

9. ควรใส่เสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านมไว้

การป้องกันเต้านมคัด

การป้องกันเต้านมคัดคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ 

1. ไม่ควรทิ้งระยะให้นมลูกนานเกินไป  ควรบีบน้ำนมออกมาเก็บไว้เพื่อให้ลูกทานด้วยถ้วย

2. ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ดูดถูกวิธี และดูดจนเกลี้ยงเต้า

ยาเพิ่มนมแม่กินตัวไหนดี

หากน้ำนมแม่ไม่มาภายใน1สัปดาห์ แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่รับประทานยาเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม  ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยารักษาอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารแต่มีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง จึงได้มีผลการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนว่ามันช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และเป็นยาที่มีความปลอดภัยเพียงพอ ปัจจุบันจึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

นมแม่ลูกแพ้ได้หรือไม่

นมแม่คือนมที่ดีที่สุด เพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนในการบำรุงร่างกายและสมอง ที่สำคัญดื่มนมแม่ไม่ทำให้ลูกแพ้ หากในกรณีที่ลูกแพ้อาจเกิดจากอาหารที่แม่ทานเข้าไปเพราะอาหารเหล่านั้นถูกกลั่นออกมาเป็นน้ำนมทำให้ลูกได้รัับสารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหารของทารกได้ ทำให้ลูกเกิดลมในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย เกิดผื่นขึ้นบริเวณปากและก้น 

นมแม่ของคนอื่นลูกกินได้หรือไม่

สามารถกินได้แต่นมนั้นต้องมาจากธนาคารนมที่ผ่านการคัดกรองหรือฆ่าเชื้อมาแล้ว แต่คุณแม่ต้องดูปัจจัยหลายๆอย่างว่า น้ำนมของคุณแม่ที่จะให้ลูกกิน  มีพาหะนำโรคหรือไม่เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือเชื้อแบคทีเรียบางตัว การให้คุณแม่ท่านอื่นให้นมลูกนั้นสามารถทำได้ แต่อย่างไรแล้วคุณแม่ทุกคนอยากให้นมลูกด้วยตัวเองมากกว่า Mama Expert ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนค่ะ

บริจาคนมแม่ทำอย่างไร

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำต่อว่า การบริจาคหรือการให้นมแม่แก่ลูกคนอื่นนั้น ยังสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ ความสมัครใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย แต่สำคัญมากๆ เราจะต้องคุ้มครองสิทธิเด็กให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยแม่ที่ให้นมแก่ลูกผู้อื่น จะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ไม่มีโรคติดเชื้อต่างๆ อาทิ ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ บี และซี และไซโตเมกกาโลไวรัส (CMV) รวมทั้งแม่ที่เสพสารเสพติดทุกชนิด

นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองจริงหรือ

ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่เป็นเรื่องจริง เกิดได้ 2 กรณี คือ 

1. ลูกตัวเหลืองจาก สารบางชนิดในน้ำนมแม่ ( Breast milk jaundice ) สาเหตุทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดคาดว่าเกิดจากสารบางชนิดในน้ำนมแม่ รักษาด้วย วิธีส่องไฟ หากพบระดับสารเหลืองในเลือดสูงมาก แพทย์จะให้หยุดนมแม่ชั่วคราวประมาณ 24-48 ชั่วโมง และสามารถกลับมาดื่มนมแม่ได้อีกครั้ง หลังจากการรักษาได้ผลดีแล้ว

2. ลูกกินนมแม่ตัวเหลือง ( Breast feeding jaundice ) เนื่องจากกินนมแม่น้อย ไม่พอ ของเหลวในลำไส้น้อย หากทารกได้รับนมในปริมาณที่พอเพียง ภาวะนี้จะหายไป

นมแม่กับการคุมกำเนิด

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะลดการมีลูกได้ แต่ไม่ใช่เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้ผลและวางใจได้ดีที่สุด เพราะคุณแม่บางคนมีวงจรการตกไข่ที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยในคุณแม่ที่ไม่ได้ให้นมหลังคลอด จะเริ่มมีการตกไข่ใหม่หรือเริ่มมีประจำเดือน ประมาณ 1-3  เดือน แต่ถ้าให้นมบุตรอย่างต่อเนื่อง การเริ่มตกไข่จะยาวนานออกไปประมาณ สัปดาห์หลังคลอด จนถึง 18 เดือน สำหรับคุณแม่ให้นมบุตรมียาคุมสำหรับคุณแม่โดยเฉพาะ คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว หนึ่งแผงจะมี 28 เม็ด กินได้ทุกวันโดยไม่ต้องหยุด มี 2 ตัวคือ ยาคุมกำเนิดยี่ห้อ ซีราเซท (Cerazette) และยาคุมกำเนิดยี่ห้อ เอ็กซ์ลูตอน (Exluton) โดยซีราเซทนั้นจะคุมกำเนิดได้ดีกว่าและมีประจำเดือนกะปริดกะปรอยน้อยกว่า

คุณค่านมแม่สุดเลอค่า เมื่อทราบเช่นนี้แล้วคุณแม่ยุคใหม่มั่นใจได้เลยว่านมแม่แน่ที่สุดในโลก สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นม คุณแม่อย่าได้กังวลเพราะ โรงพยาบาลต่างๆทั่วทุกจังหวัด เปิดบริการคลินิคนมแม่ เพื่อให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โทรเลย http://www.mamaexpert.com/posts/content-4899 ตามลิงค์ที่ให้ไว้นี้ มีเจ้าหน้าที่ใจดีคอยตอบคำถามและหาวิธีช่วยให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมสำเร็จแน่นอน Mama Expert เป็นกำลังใจให้ทุกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100 % ให้สำเร็จ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. คลินิคนมแม่

2. อาหารบำรุงน้ำนม ที่คุณแม่ไม่ควรพลาด

3. ปัญหาที่เกิดกับแม่เลี้ยงลูกด้วยนมและวิธีป้องกันแก้ไข

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team