ปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไรดี มีวิธีป้องกันหรือไม่?

19 November 2012
33640 view

ปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์

ปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไรดี อาการปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ เกิดจากผล ของฮอร์โมนรีแล็กซิน ที่ถูกผลิตขึ้นในขณะตั้งครรภ์ และฮอร์โมนนี้ ยังทำให้เอ็นและข้อต่ออุ้งเชิงกรานเกิดการนิ่มตัว พร้อมที่จะยืดขยายได้เมื่อทารกคลอดผ่านถ้าขอต่อยืดขยายหรือเคลื่อนไหวมากเกินไปก็ทำให้ปวดได้ ดังนั้น กล้ามเนื้อสะโพกต้องแข็งแรงมากพอที่จะกระชับข้อต่อให้มั่นคงการนอนหงายเมื่อทารกโตแล้ว น้ำหนักครรภ์จะกดให้อุ้งเชิงกรานแบะ ออกจากกระดูกก้นกบ ทำให้ปวดได้ค่ะ เรามาดูวิธีป้องกันและแก้ไข อาการปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ กันค่ะ

ปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ ป้องกันและดูแลอย่างไร

  1. นอนตะแคงแทนการนอนหงาย เลี่ยงการนอนตะแคงข้างขวา2.ถ้าต้องการพลิกตัวให้งอเข่า
  2. ข้างซ้อนกันขณะนอนตะแคง แล้วยกสะโพกให้ลอยขึ้นจากพื้นเตียงตลอดเวลาที่พลิกตัวมาอีกข้าง เมื่อพลิกเสร็จแล้วจึงค่อยๆ วางสะโพกลงถ้าไม่มีแรงในการยกสะโพกให้ใช้มือช่วยยก3.ขณะตอนตะแคง ให้เอากระเป๋าน้ำร้อนประคบ 30 นาที จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อ
  3. บริหารกล้ามเนื้อสะโพกให้แข็งแรง

ปวดก้นกบขณะตั้งครรภ์ ป้องกันด้วยการบริหารกล้ามเนื้อสะโพก

การบริหารกล้ามเนื้อสะโพกท่าที่ 1 ยกก้น

วิธีบริหาร นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ข้าง วางแขนไว้ข้างลำตัว ค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกยกให้ลอยสูงขึ้นค้างไว้ นับ 1-5 แล้วค่อยๆ วางลง ทำชุดละ 5 ครั้ง ทำให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 ครั้ง การที่ให้ทำเพียงชุดละ 5 ครั้ง เพราะการนอนหงาย นอกจากจะแบะข้อต่อกระดูกก้นกบ น้ำหนักครรภ์ยังกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ที่รับเลือดจากส่วนล่างของลำตัวส่งกลับมายังหัวใจอีกด้วย ถ้าปล่อยให้กดนานๆ จะเกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะได้ (การนอนตะแคงขวาก็มีผลกดหลอดเลือดเช่นกัน) ส่วนมากที่มีอาการปวดก้นกบ มักจะไม่สามารถยกก้นขึ้นจากพื้นได้ แสดงถึงความอ่อนแอของกล้ามเนื้อสะโพกให้บริหารในท่าที่ 2 ก่อน

การบริหารกล้ามเนื้อสะโพกท่าที่ 2 เกร็งสะโพก ยกขา

วิธีบริหาร คุกเข่าบนเบาะข้างเตียงหรือเก้าอี้ดังรูป เกร็งสะโพกยกขาเหยียดตรง ค้างไว้ นับ 1-5 แล้วค่อยๆ วางลง ทำสลับข้างกัน ข้อควรระวัง ขณะยกขาจะต้องไม่ให้สะโพกบิด มิฉะนั้นจะเกิดอาการปวดที่ข้อต่ออื่นๆ เช่น ข้อต่อสะโพก และบั้นเอว ควรมีเบาะรองใต้เข่าจะช่วยลดแรงกดที่เข่า ป้องกันการปวดเข่า การอยู่ในท่าคุกเข่าข้างเตียงหรือเก้าอี้เช่นนี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในการบริหารกล้ามเนื้อสะโพก ยังเป็นการถ่ายน้ำหนักของครรภ์จาก อุ้งเชิงกรานลงมาที่หน้าท้อง ข้อสำคัญ อีกประการคือ จะต้องคอยแขม่วท้องไม่ให้หลังแอ่นย้อยมาก มิฉะนั้นจะปวดหลังได้ การแขม่วท้องวิธีนี้จะต้องแขม่ว ยกครรภ์ขึ้น เท่ากับเป็นการออกกำลัง ต้านกับน้ำหนักของครรภ์ จะได้ความแข็งแรงเพิ่มมากกว่าการนั่ง นอน หรือ ยืนแขม่วท้องธรรมดา จึงควรบริหารควบคู่ไปกับการบริหารข้อสะโพก

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์ด้วย ก่อนทานยาแก้ปวดค่ะ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. การป้องกันอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์

2. อาการปวดหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะหายไปด้วยเคล็ดลับ 11 วิธี

3. 13 อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ต้องรีบพบแพทย์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorail Team