การฝากครรภ์ เริ่มเมื่อไหร่ การฝากครรภ์ตรวจอะไรบ้างเช็กเลย!!!

21 November 2017
22019 view

การฝากครรภ์

การฝากครรภ์ คืออะไร 

คุณผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษอะไรบ้าง แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัวโรคทางกรรมพันธุ์ ยาที่ใช้ ประวัติการแท้ง การคลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อวางแผนการรักษา แต่ในความเป็นจริงมักมาฝากครรภ์ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรจะรีบฝากครรภ์เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะประวัติ การเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว  ประวัติการเจ็บป่วยของสามี ยาที่ใช้อยู่หรือใช้เป็นครั้งคราว และทดสอบการตั้งครรภ์

การฝากครรภ์ ต้องตรวจร่างกายอย่างไร

แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในเพื่อวัดขนาดของมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ตรวจวัดความกว้างของช่องเชิงกรานว่ากว้างพอจะคลอดเองได้หรือไม่ ตรวจหามะเร็งปากมดลูก

การตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นใน การฝากครรภ์

เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มคือ

  •     CBC เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และดูกลุ่มเลือด ถ้าซีดแพทย์จะให้ยาบำรุงเลือด
  •     ดูกลุ่มเลือด Rhesus (Rh)
  •     ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคหัดเยอรมัน
  •     ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี
  •     ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นโรคซิฟิลิส
  •     ตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีโรคไต หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือไม่

อาการที่ควรแจ้งแพทย์ใน การฝากครรภ์ แต่ละครั้ง

  •     เลือดหรือน้ำออกจากช่องคลอด
  •     บวมหน้าและนิ้ว
  •     ปวดศีรษะอย่างมาก
  •     คลื่นไส้อาเจียนไม่หาย
  •     มึนงง
  •     ตามองไม่ชัด
  •     ปวดท้องหรือตะคริวหน้าท้อง
  •     ไข้สูงหนาวสั่น
  •     เด็กดิ้นน้อยลง
  •     ปัสสาวะออกน้อยลง
  •     การเจ็บป่วยอื่นๆ

ยาที่ได้รับจากแพทย์เมื่อมีการฝากครรภ์

ยาที่ได้รับจากแพทย์จะแตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุครรภ์ ยาพื่น ฐานที่คุณแม่จะได้รับ มี 3 ชนิด คุณแม่บางคนอาจได้หลายตัวยา เนื่องจากภาวะสุขภาพ เพราะหากมีภาวะเเทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์อาจจะต้องเพิ่มยาบางชนิด

  • โฟลิก หรือโฟเลท (folic acid/folate) เรียกอีกอย่างคือ วิตามิน บี9  เป็นวิตามินที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือด และสร้างระบบประสาทของทารก ถ้าเป็นไปได้ สำหรับคุณที่วางแผนจะตั้งครรภ์แนะนำให้รับประทานก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน และทานต่อเนื่องจนอายุครรภ์ 3 เดือน
  • ธาตุเหล็ก (Iron supplement) ธาตุเหล็กจะเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีความจำเป็นในการขนส่งออกซิเจน (Oxygen) ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายให้สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • แคลเซียม (Calcium) เสริมสร้างการบำรุงระบบโครงร่างและกระดูกของทารกในครรภ์ และแม่ด้วยป้องกันการขาดแคลเซี่ยมระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงแคลเซี่ยมจากแม่ไปใช้ ในกระบวนพัฒนากร่างกาย

การฝากครรภ์เมื่ออายุมาก (อายุเกิน35ปี)

กรณีฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจที่มากขึ้นหรือแตกจากข้างต้นที่กล่าวมา เช่น อาจมีการตรวจอัลตราซาวด์  ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์  ตรวจเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ แพทย์จะประเมินตามอายุครรภ์ของคุณแม่ด้วย การนัดตรวจครรภ์ของคุณแม่ที่อายุเยอะ อาจนัดถี่กว่าคุณแม่อายุปกติเนื่องจาก มีความเสี่ยงงมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป  

หลังจากฝากครรภ์ครั้งแรกไปแล้ว คุณแม่อย่าลืมนัดครั้งต่อไปนะคะ เพราะคุณหมอจะแจ้งผลเลือดบางอย่าง ที่ค้างตรวจจากการฝากครรภ์ครั้งแรกให้ทราบด้วย และการตรวจแต่ละครั้งสำคัญมากเพราะอาจตรวจพบความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ จะได้รีบแก้ไขได้ทันท่วงที

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

  1. เทคนิคการเลือกสถานที่ ฝากครรภ์
    1. รีวิวการฝากครรภ์ ต้องใช้เงินกี่บาท
    2. ฝากครรภ์ฟรี ปี60 สิทธิประโยชน์ดีๆแม่ท้องรู้หรือยัง ?

    เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team