ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือแฝดน้ำ อันตรายต่อแม่ท้องมากน้อยแค่ไหนที่นี่มีคำตอบ

27 March 2017
19185 view

ภาวะน้ำคร่ำมาก

ภาวะน้ำคร่ำมาก เป็นอีกภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยทั่วไปในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์  32 สัปดาห์ ถ้าน้ำคร่ำน้อยกว่า 0.5 ลิตร ทางการเเพทย์เรียกว่ามีน้ำคร่ำน้อย และในคุณแม่ที่มีปริมาณน้ำคร่ำ 1.5-2 ลิตร ทางการแพทย์เรียกว่า มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือเรียกง่ายๆว่าครรภ์แฝดน้ำ ซึ่งทั้งสองภาวะนี้มักพบร่วมกับความผิดปกติของทารกเป็นภาวะที่มีน้ำคร่ำมากกว่า 95 เปอร์เซ็นไทล์ของปริมาณน้ำคร่ำที่อายุครรภ์นั้น ๆ หรือมากกว่า 1.5-2 ลิตร ในไตรมาสสุดท้าย

สาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ

การสร้างมากไปหรือกระบวนการในการกำจัดเสียไป ได้แก่ neural tube defect เป็นความพิการที่พบร่วมกับแฝดน้ำได้บ่อย เกิดจากน้ำไขสันหลังไหลเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ร่วมกับการขาดฮอร์โมนทำให้ทารกปัสสาวะมาก การอักเสบของถุงน้ำคร่ำ ทำให้รกสร้างน้ำคร่ำมากกว่าปกติ การติดเชื้อที่พบบ่อยได้แก่ ซิฟิลิส และ parvo virus สำหรับคุณแม่ที่มีเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็พบแฝดน้ำได้

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ

อาการแสดงที่สำคัญและคุณแม่สามารถรู้ได้ด้วยตัวเอง คือ คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องโตเร็ว อืดอัด หายใจไม่สะดวก นอนราบไม่ได้ แต่ในคนไข้ที่น้ำคร่ำมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการก็ได้ ส่วนลักษณะที่บอกว่าน่าจะมีภาวะแฝดน้ำ ได้แก่ ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ คลำส่วนของทารกได้ไม่ชัดเจน ฟังเสียงหัวใจเด็กได้ยาก การตรวจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยภาวะแฝดน้ำ ผู้ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่มีความชำนาญสามารถบอกได้ค่อนข้างแม่นยำ  การรายงานนิยมใช้การวัคปริมาณน้ำคร่ำโดยตรงซึ่งทำได้ 2 วิธี ได้แก่ การหาตำแหน่งที่มีน้ำคร่ำมากที่สุด แล้ววัดในแนวดิ่ง หากปริมาณมากกว่า 10 ซม. ถือว่ามีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ อีกวิธีหนึ่งคือ การวัด amniotic fluid index (AFI) โดยแยกมดลูกออกเป็นสี่ส่วนหา amniotic fluid pocket ที่ใหญ่ที่สุด วัดในแนวดิ่ง แล้วนำน้ำคร่ำที่ได้ทั้งสี่ค่ามารวมกัน ถ้ามากกว่า 95 เปอร์เซ็นไทล์ หรือมากกว่า 180 มล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อตรวจพบว่าภาวะแฝดน้ำควรทำอัลตราซาวนด์ เพื่อหาความผิดปกติที่เป็น

ผลกระทบจากภาวะน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำต่อมารดาและทารกในครรภ์

  • แม่รู้สึกอืดอัดนอนราบไม่ได้
  • หายใจไม่สะดวก
  • คลอดก่อนกำหนด
  • ผ่าตัดคลอด
  • ทารกเปลี่ยนท่าบ่อยครั้ง
  • ทารกพิการ

การตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ

แพทย์จะทำการตรวจทารกการตรวจน้ำคร่ำหรือเลือดจากสายสะดือเด็กเพื่อดูโครโมโซมในกรณีที่ทารกมีความพิการหลายอย่าง ซึ่งแพทย์จะดูแลรักษาโดยการรักษาสาเหตุโดยตรงและการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้การตั้งครรภ์สามารถดำเนินไปได้จนเด็กมีปอดสมบูรณ์ โดยร้อยละ 50 อาจหายได้ ซึ่งการติดตามสุขภาพทารกและน้ำคร่ำโดยการทำอัลตราซาวนด์ทุก 2-3 สัปดาห์ การให้ยาที่มีผลทำให้ปัสสาวะและน้ำจากปอดทารกลดลง ทำให้ปริมาณน้ำคร่ำลดลงได้ หรือการดูน้ำคร่ำออกทางหน้าท้อง ถ้าปริมาณน้ำคร่ำมากจนคุณหรือกลัวว่าจะทำให้เกิดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดการเจาะหน้าท้องเอาน้ำคร่ำออกสามารถทำให้ลดอาการอย่างรวดเร็ว การเจาะคุณหมอจะเลือกเจาะที่บริเวณกึ่งกลางหน้าท้องต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ถ้าเอาน้ำคร่ำออกเร็วเกินไปอาจเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้

ทุกครรภ์ ทุกคนมีความเสี่ยงเสมอ เพราะฉะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใส่ใจภาวะสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ให้มากๆ หากสงสัยอย่าเก็บไว้เพียงเพราะกลัวแพทย์ดุ คุณแม่ควรรีบไปตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลเพื่อสุขภาพแะความปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ Mamaexpert ขอให้คุณแม่ทุกคนสุขภาพแข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ทุกครรภ์ทุกคนนะคะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ความผิดปกติของน้ำคร่ำ ที่แม่ท้องต้องรู้

2. การตรวจเจาะน้ำคร่ำ ของคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป

3. เจาะน้ำคร่ำของคุณแม่ตั้งครรภ์ เจาะอย่างไร ใครบ้างที่ต้องเจาะ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team