น้ำหนักของเด็กกินนมแม่
คุณแม่คนเก่งที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่100% หลายๆบ้านแอบกังวลอยู่ไม่น้อย เพราะการขึ้นของน้ำหนักลูกเป็นไปอย่างช้าๆ คุณแม่เกรงว่าลูกจะตัวเล็กไป หรือจ้ำม่ำน้อยไปหรือเปล่า อยากให้ลูกอวบอ้วนบ้าง วันนี้ mamaexpert มาไขข้อข้องใจดังกล่าวเพื่อให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100%ได้เข้าใจกันอย่างถูกต้องและสบายใจ ว่า… เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว 100%นั้นสุขภาพเป็นต่อ ส่วนการขึ้นของน้ำหนักตัวของเด็กกลุ่มนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สม่ำเสมอ อย่าได้กังวลกับน้ำหนักมากจนเกินไป เพราะเด็กอวบเด็กอ้วนนั้นใช่ว่าจะดี เพราะอาจมีปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมามากมาย
การขึ้นน้ำหนักของเด็กกินนมแม่ล้วนควรเป็นอย่างไร ?
1.แรกเกิด – 3 เดือน น้ำหนักควรขึ้นวันละ 20 กรัม
2.อายุ 3 – 6 เดือน น้ำหนักควรขึ้นวันละ 10 กรัม
3.อายุ 6 – 12 เดือน น้ำหนักควรขึ้นวันละ 15 กรัม
4.เด็กอายุ 1 ปี – วัยรุ่น น้ำหนักควรขึ้นปีละ 2 – 2.5 กิโลกรัม
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อน้ำหนักของเด็กกินนมแม่
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อน้ำหนักของทารกแต่ละคนได้แก่ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการบริโภค คุณภาพของน้ำนมแม่ และระบบเผาผลาญของร่างกายด้วย สิ่งที่แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่จำนวนมากมักจะเจอเวลาพาลูกไปพบแพทย์ คือ แพทย์ทักว่าน้ำหนักตัวลูกน้อยเกินไป ทั้งที่ลูกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับทารกที่กินนมแม่ ปัญหานี้เกิดจาการที่แพทย์บางส่วนไม่คุ้นเคยกับอัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวของเด็กที่กินนมแม่ แพทย์บางคนยังอาศัยข้อมูลจากกราฟแสดงการเติบโตฉบับเก่าซึ่งเก็บสถิติจากเด็กที่กินนมผสม และอาจไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อน้ำหนักตัวของทารก สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน แนะนำให้เทียบน้ำหนักลูกจากกราฟนมแม่นี้แทนนะคะ
กราฟน้ำหนักของเด็กกินนมแม่ล้วน
- กราฟการเจริญเติบโตของน้ำหนักของเด็กกินนมแม่ล้วนองค์การอนามัยโลก ของเด็กหญิงช่วงอายุ 0- 2 ปี
- กราฟการเจริญเติบโตของเด็กนมแม่ล้วนจากองค์การอนามัยโลก ของเด็กชายช่วงอายุ 0- 2 ปี
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับในแต่ละวัน แบ่งตามอายุ
2. ลูกกินนมแม่จ้ำม่ำได้ทำตามนี้เลย
3. นมแม่ VS นมผง แตกต่างกันอย่างไร?
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team