ตั้งครรภ์ 8 เดือน (ท้อง 8 เดือน) การเปลี่ยนแปลงของแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

02 November 2017
212650 view

 ตั้งครรภ์ 8 เดือน 

สุขภาพครรภ์ การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 และ พัฒนาการทารกในครรภ์

 

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ 8 เดือน

เมื่อเข้าสู่ การตั้งครรภ์เดือนที่8 ทารกยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว กระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะ เคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 16-18 นิ้ว หนักประมาณ 2 กิโลกรัม

 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ 8 เดือน

การตั้งครรภ์เดือนที 8 แพทย์จะนัดทุกสองสัปดาห์และจะตรวจร่างกายเหมือนเดือนที่ 5 คุณแม่ในช่วงเดือนนี้ มักตรวจพบอาการไม่สุขสบายหลายอย่าง ที่พบบ่อยคือ

1. หายใจตื้น หายใจขัด หายใจไม่อิ่ม  เนื่องจากมดลูกจะบีบตัวมากขึ้น และยอดมดลูกที่สูงขึ้นไปเบียด กดทับกระบังลม ทำให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก แนะนำให้นั่งตัวตรง หนุนหลังด้วยหมอนนุ่มๆ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ แบ่งมื้ออาหารเป็นหลายๆมื้อ แต่และมื้อไม่ควรรับประทานอิ่มมากเกินไป 

2.เจ็บอวัยวะเพศและหัวหน่าว เกิดจาก เชิงกรานขยาย และทารกเริ่มกลับศรีษะแล้ว ทำให้ศรีษะของทารกไปกดเสินประสาทบริเวณอุ้งเชิงกรานทำให้คุณแม่มีอาการปวดมากขึ้น ลดการเดิน นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการปวดต่างๆไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบสูติแพทย์  

3.ท้องแข็ง ท้องปั้นบ่อย เกิดจากการบีบตัวของมดลูก สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยสังเกตได้จากอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น และการบีบตัวก็จะมีมากขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องหรือท้องแข็งนั่นเอง ซึ่งเกิดจากเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด คุณแม่จึงรู้สึกเจ็บๆ ตึงๆ ที่ท้อง ธรรมชาติมดลูกจะบีบตัวมากที่สุดตอนจะคลอดค่ะ แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องแข็งหรือปวดท้องมากทั้งๆที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือของการคลอดก่อนกำหนดได้

4.มือเท้าบวม

ในช่วงกลางของไตรมาสที่สอง และในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่อาจมีอาการบวมตามนิ้วมือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มดลูกที่ขยายตัวขึ้น อาจไปกดทับเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดจากร่างกายส่วนล่างกลับสู่หัวใจ ระบบการไหลเวียนเลือดจึงช้าลง ส่งผลให้มีเลือดคั่งอยู่บริเวณขามากกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตัวบวมได้ อาการนี้มักเกิดในตอนเย็นของทุกวัน โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน
อาการบวมน้ำโดยทั่วไปไม่มีอันตราย ยกเว้น…

• เกิดอาการบวมตามใบหน้า หรือบริเวณรอบดวงตา
• เกิดพร้อมน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 1.8 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์)
• เกิดพร้อมอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
• เกิดพร้อมอาการสายตาผิดปกติ, มองเห็นภาพซ้อน, ภาพเบลอ, เห็นจุดแสง, ตาไวต่อแสง หรือมองไม่เห็นในบางครั้ง
• เกิดพร้อมอาการปวดช่วงท้องด้านบนอย่างรุนแรง หรือกดเจ็บ
• เกิดพร้อมอาการคลื่นไส้/อาเจียน

หากเกิดอาการบวมน้ำร่วมกับอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับทารกและตัวคุณแม่เองได้

 การดูแลตนเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ 8 เดือน

1. ระวังอุบัติเหตุ เนื่องจากอยู่ในระยะใกล้คลอดแล้ว ประกอบกับขนาดของทารกโตมากขึ้น การเคลื่อนไหวของคุณแม่จึงเป็นไปอย่างลำบาก สิ่งที่ตามมาคือ อุบัติเหตุและการปวดเมื่อยต่างๆ 

2.รับประทานอาหารย่อยง่าย ช่วงเดือนที่8 ทารกในครรภ์น้ำหนักพุ่งอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรบำรุงมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้หายใจไม่สะดวก เพราะการเผาผลาญของแม่ตั้งครรภ์จะลดลง ไม่ควรดืมนมมากเกินความจำเป็น หากคุณแม่จำเป้นต้องดื่มนมวัว ควรดื่มวันและ 1 แก้ว หรือมากสุดไม่เกิน 2 แก้ว ต่อวัน