พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือนเป็นอย่างไร คุณแม่ต้องรู้ !!

04 January 2012
3841 view

พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน

พัฒนาการของลูกวัย 16 เดือน ควรเป็นอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ มาติดตามพัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน ในสิ่งที่เขาควรทำได้ในพัฒนาการแต่ละด้าน ไปพร้อมกับ Mamaexpert กันเลยค่ะ

พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน ด้านร่างกาย

ลูก จะเริ่มขีดเขียน (แบบไก่เขี่ย), อยากเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของบ้าน ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ลูกมักจะขอมีส่วนด้วยเสมอ, เอานิ้วชี้มา “จุ๊…จู๊” ที่ปากได้, ชอบเล่นจ๊ะเอ๋, ชอบต่อบล็อก, ชอบเล่นเกมส์ ทายส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น “จมูกอยู่ไหน?” , ลูกจะเริ่มให้ความร่วมมือ กับการแต่งตัวให้เขามากขึ้น, จะชอบปีนขึ้นและลงกระได (ปีนได้ทั้งวัน) แต่ยังไม่สามารถทำได้ดีนัก ยังต้องระวังตกกระได เนื่องจากเขายังไม่รู้จักการควบคุมการทรงตัว อย่างผู้ใหญ่ได้ดีนัก (กำลังเรียนรู้วิธีอยู่นั่นเอง)

พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

ลูกกำลังฝึกฝนตนเองหลายอย่าง ว่าจะปีนกระได เดินเร็วๆ (หรือวิ่ง) แต่เนื่องจากยังไม่มีทักษะมากพอ ก็มักจะล้ม หรือทำไม่ได้ดังใจ ทำให้เขารู้สึกหงุดหงิด เมื่อทำไม่ได้ คุณสามารถช่วยให้เขาได้ฝึกทักษะเหล่านี้บ่อยๆ ก็จะทำให้เขามีความมั่นใจ และทำได้ ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการพัฒนาการด้านอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นต่อไปตามเกณฑ์ของอายุ

พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน ด้านอารมณ์

 บางครั้งลูกจะมีอารมณ์ต่างๆ ประดังเข้ามามาก ทำให้เขาซึ่งยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างผู้ใหญ่ รู้สึกว่าจะต้องแสดงออก ซึ่งก็จะเป็นในรูปแบบที่พบบ่อย คือ “ อาละวาด….ลงไปดิ้น..” ซึ่งเป็นวิธีหนึ่ง ที่ลูกใช้ เพื่อปลดปล่อยอารมณ์แรง ที่มีในตัวเขาออกมา ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ และรู้วิธีดูแลเขา ก็จะทำให้เขาสงบลง และกลับเป็น “เด็กดี” เหมือนเดิมได้ในเวลาไม่นาน อย่าลืมว่า วิธีการอาละวาด และลงไปดิ้นกับพื้นนั้น เป็นวิธีหนึ่งที่ลูกค้นพบ และใช้เป็นทางระบายออกของอารมณ์ของเขา คุณไม่ควรจะโมโห หรือ ไปตี ทำโทษเขาที่ทำเช่นนั้น แต่ควรควบคุมอารมณ์ของเราให้นิ่งก่อน และอยู่ข้างๆ (ห่างไปไม่ไกล) และคอยให้เขาสงบลงเอง ก่อนเข้าไปปลอบ

พัฒนาการของเด็ก อายุ 16 เดือน ด้านภาษาและการสื่อสาร

 ถ้า คุณฝึกอ่านหนังสือกับลูกมาแล้ว ตั้งแต่ตอนที่ลูกยังเล็ก ก็ขอให้ทำต่อไป (สำหรับคนที่ยังไม่ได้เริ่ม ก็ควรเริ่ม ทำการอ่านหนังสือกับลูกด้วย) , ลูกยังอยากเรียนรู้อีกมาก และเด็กเองจะชอบที่มีคุณอยู่ใกล้ ควรให้ลูกเลือกหนังสือที่จะอ่านเอง และอ่านไปกับเขา แม้ว่าคุณจะพบว่า อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นครั้งที่ร้อยแล้วก็ตาม คุณสามารถช่วยลูกให้เรียนรู้สิ่งอื่นๆในหนังสือได้ เช่น การพูดถึงสัตว์ต่างๆ ที่มีในเรื่อง หรือของอื่นที่มีอยู่ในภาพ และสอนให้ลูกเรียก “สี” ต่างๆ ของเสื้อผ้าที่ตัวเอกของเรื่องใช้ ฯลฯ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เทคนิค 8 ข้อ ในการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการสมวัย

2. พัฒนาการลูกถดถอย พ่อแม่ต้องรู้

3. พัฒนาการลูกน้อยสร้างง่ายๆ แต่ได้คุณภาพ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team