8 วิธีลดสารพิษตกค้างในผักผลไม้ … เพื่อสุขภาพของลูกรัก

29 May 2015
15867 view

วิธีลดสารพิษตกค้างในผักผลไม้

ผักผลไม้บ้านเรา ใช้ยาฆ่าเเมลงกันเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่ตกค้างแบบไม่รู้ตัว ถึงแม้จะมีผักออแกนิคเป็นอีกทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ แต่เมื่อสำรวจราคาผักออแกนิกตามท้องตลาดพบว่า มีราคาสูงลิ่วจนหลายคนต้องกลับมารับประทานผักสารเคมีกันเช่นเดิม ในผู้ใหญ่หากมีสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณที่ไม่มาก ร่างกายมีความแข็งแรงพอที่จะต่อต้านกับสารแปลกปลอม แต่สำหรับเด็กๆความต้านทานของร่างกายยังต่ำมาก คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับการทำความสะอาดผักผลไม้ให้มากๆ เพื่อลดการสระสมสารเคมีในร่างกายจนทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้ วิธีล้างผักผลไม้มีหลากหลายวิธีดังนี้

1.ล้างผักผลไม้ด้วยด่างทับทิม

ด่างทับทิม หรือ Potassium Permanganate มีลักษณะเป็นเกร็ดแข็งสีม่วงสามารถละลายได้ในน้ำ และเมื่อนำไปละลายน้ำจะให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม ด่างทับทิมจัดเป็นสารประกอบประเภทเกลือ ในการล้างผักผลไม้ควรใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20 – 30 เกล็ดเท่านั้น ผสมในน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดวิธีนี้สามารถลดสารพิษตกค้างลงได้ร้อยละ 35-43
 
ข้อควรระวัง : ควรใช้ในปริมารที่พอเหมาะเพราะการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

2.ล้างผักด้วยน้ำส้มสายชู

น้ำส้มสายชู หรือVinegar เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม (กรดน้ำส้ม) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณและอาจสูงถึง 18% สำหรับ picklingน้ำส้มสายชูหมักโดยธรรมชาติยังมีกรดชนิดอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย เช่น tartaric acid และ citric acid การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84
 
ข้อควรระวัง : ผักหรือผลไม้ อาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดค้าง และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว หรือเมื่อรับประทานอาจมีรสเปรียวปนมาได้ ไม่ควรใช้ชามพลาสติกในการล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพราะกรดอาจกัดกร่อนพลาสติกได้

3.ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดไหลผ่าน

การล้างผักด้วยน้ำสะอาด จำเป็นต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเพราะสารเคมีจะได้หลุดไหลไปตามแรงน้ำไหล วิะีการง่ายๆโดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที การใช้น้ำไหลล้างผักและผลไม้ต้องพิถีพิถันและใช้ เป็นวิธีที่ประหยัดและดีมาก สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของผู้ล้างเป็นสำคัญ
ข้อจำกัด : เสียเวลานานและใช้น้ำในปริมาณมาก

4.ล้างผักผลไม้ด้วยเกลือ

เกลือมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ (NaCl2) คือเกลือที่ใช้สำหรับใส่และเตรียมอาหารมีรสเค็ม ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษและสารเคมี ลงได้ร้อยละ 27-38
ข้อควรระวัง : ต้องล้างน้ำสะอาดหลังเเช่น้ำเกลือ 2-3 น้ำ เพราะอาจมีเกลือตกค้างในผักผลไม้ หากได้รับเกลือในปริมาณมาก เสี่ยงตอการเกิดโรคเเทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น
 

5.ลดสารเคมีจากผักผลไม้ด้วยการปลอกเปลือกทิ้ง

ผักประเภทหัว หรือ ประเภทห่อใบ การปอกเปลือกหรือการลอกใบชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72

6.ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำยาล้างผักผลไม้โดยเฉพาะ

น้ำยาล้างผักผลไม้ ประกอบด้วยโซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) โซเดียม ออกไซด์ (sodium oxide) โซเดียม คาร์บอเนต (sodium carbonate) เอธานอล (ethanol) กลีเซอรอล (glycerol) และน้ำ นอกจากนี้ยังมีการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท (potassium permanganate) อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์ประกอบของน้ำยาล้างผักดังข้างต้น เช่น โซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol) โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate) กลีเซอรอล เมื่อนำมาใช้ล้างผักสด แม้ว่าจะช่วยลดปริมาณการตกค้างของสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ แต่หากแช่ผักในน้ำที่ผสมน้ำยาล้างผักและตามด้วยการล้างน้ำไม่ดีพอ สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาล้างผักอาจเกิดการปนเปื้อนและดูดซึมเข้า สู่ร่างกายได้ สำหรับการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท ยังอาจทำให้ผักบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีม่วง  และหากใช้ในปริมาณสูงและล้างออกไม่หมดก็อาจทำให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้เช่น กันวิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70
ข้อควรระวัง : ต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

7.ล้างผักผลไม้ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต

โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือที่คุ้นๆหูกันคือ เบกกิ้งโซดา ลักษณะเป็นผงผลึกหรือผงละเอียดสีขาว ละลายน้ำได้ดี รสชาติแปร่งเค็มเล็กน้อย มีคุณสมบัติเป็นด่าง  หากต้องการล้างผักผลไม้ให้ใช้ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95
ข้อควรระวัง : เบกกิ้งโซดามีส่วนผสมของเกลือหลังแช่ควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดและหากมีเบกกิ้งโซดาตกค้างในผักผลไม้ปริมาณมาก อาจทำให้ท้องเสียได้
 

8.ลดสารเคมีจากผักผลไม้ด้วยความร้อน

วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อนสามารถ ลดปริมาณสารพิษในผักผลไม้ได้ ประมาณร้อยละ 50 การต้มอาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการของผักผลไม้ลดลงได้ โดยเฉพาะ วิตามินซี วิตามินบี 1 ไนอะซิน
การลดปริมาณสารเคมีในผักผลไม้มีให้เลือกหลากหลายวิธีแต่ไม่มีวิธีไหนเลยจะสามารถกำจัดสารพิษตกค้างได้100% คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดควรล้างน้ำสะอาดหลังแช่น้ำยาต่างๆ อย่างน้อย 3 น้ำเพื่อลดปริมาณสารเคมีให้ได้มากที่สุด ระมัดระวังเรื่องการรับประทานผักสดในเด็กให้มากขึ้น หลังรับประมาณ หากพบว่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง 
1. Potassium Permanganate.-http://en.wikipedia.org/wiki/Potassium_permanganate. [2015, June 25].
2. Baking powder.-http://en.wikipedia.org/wiki/Baking_powder.[2015, June 25].
3. ล้างผักถูกวิธีชีวีปลอดภัย. – http://www.thaihealth.or.th/.[2015, June 25].