ลูกสะอึกบ่อย ทำอย่างไรดี มาดูสาเหตุและวิธีแก้อาการสะอึก

08 July 2023
710 view

ลูกสะอึกบ่อย ทำอย่างไรดี

.

.

พฤติกรรมต่าง ๆ หรืออากัปกิริยาอาการต่าง ๆ ของลูกน้อยมักจะอยู่ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองเสมอ แม้จะเป็นเพียงพฤติกรรมหรืออากัปกิริยาอาการต่าง ๆ ของร่างกายเพียงเล็กน้อยก็ตาม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อลูกน้อยยังเด็กนั้นอาจจะไม่สามารถบอกความไม่สบายหรือไม่สามารถบอกอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองให้กับคุณพ่อคุณแม่รับรู้หรือรับทราบได้ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้นี่เองที่จะช่วยบอกให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้รับทราบและเข้าใจอาการของลูกน้อยในเบื้องต้นได้ และหนึ่งในอาการที่มักพบในลูกน้อยแล้วทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกิดความกังวลก็คือ อาการที่ลูกน้อยสะอึกบ่อย ซึ่งในบทความนี้เราจะขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไปทำความเข้าใจกับการสะอึกบ่อยของลูกน้อย รวมถึงไปทราบถึงสาเหตุของอาการดังกล่าวและวิธีแก้สะอึกกัน

ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากสาเหตุใด

การที่ลูกน้อยสะอึกบ่อยมักเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยดื่มนมอิ่มใหม่ ๆ ทั้งนี้ก็มีความสัมพันธ์การดื่มนมของลูกน้อยนั่นเอง หรือ สาเหตุก็มาจากการดื่มนมอิ่มของลูกน้อย เพราะเมื่อลูกน้อยดูดนมอิ่ม น้ำนมที่ดื่มเข้าไปจะไหลลงสู่กระเพาะอาหาร จากนั้นกระเพาะอาหารจะเกิดการขยายตัวแล้วทำให้เกิดแรงดันขึ้น แรงดันนี้จะถูกส่งต่อไปยังส่วนของกล้ามเนื้อกะบังลม เมื่อลูกน้อยหายใจออก จะส่งผลให้กล้ามเนื้อกะบังลมเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็วเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงนั้นก็เรียกว่าการสะอึกนั่นเอง

อาการสะอึก เป็นอย่างไร

อาการสะอึกนั้นเป็นลักษณะอาการที่เมื่อลูกน้อยหายใจออกจะมีเสียงออกมาด้วย ในลูกน้อยบางรายจะสังเกตเห็นการโยกของกระบังลมร่วมด้วย รวมถึงมีเสียงเมื่อหายใจออกร่วมด้วย โดยลูกน้อยมักเกิดการสะอึกได้ และมักเกิดการสะอึกบ่อยหลังการดื่มนมอิ่มอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

วิธีแก้อาการสะอึกในเด็ก

แม้ว่าอาการสะอึกบ่อยจะเป็นอาการที่สามารถเกิดได้ในเด็กในทุก ๆ คน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็คงไม่สบายใจนัก หากอาการสะอึกบ่อยเกิดขึ้นกับลูกน้อยของตน เราจึงได้รวบรวมวิธีแก้สะอึกมาช่วยคุณพ่อคุณแม่ ดังนี้

1. หลังลูกน้อยดื่มนมอิ่มพยายามช่วยให้ลูกน้อยเรอออกมา ซึ่งสามารถใช้ได้หลายวิธี อาทิเช่น การอุ้มลูกน้อยพาดบ่าแล้วตบหลังเบา ๆ ด้วยความอ่อนโยนจนกระทั่งลูกน้อยเรอออกมา หรือจะเป็นการวนมือบริเวณท้องของลูกน้อย ๆ จะช่วยให้ลูกน้อยเรอและช่วยป้องกันอาการสะอึกได้อีกด้วย

2. ทำการไล่ลมให้ลูกน้อยในท่านั่ง โดยเริ่มจากการอุ้มลูกน้อยในท่านั่ง จากนั้นใช้มือข้างหนึ่งประคองคางหรือส่วนหัวของลูกน้อยไว้ ส่วนมืออีกข้างทำการลูบตั้งแต่บริเวณเอวขึ้นมาจนถึงบริเวณต้นคอของลูกน้อยเบา ๆ เพื่อไล่ลม ซึ่งช่วยแก้อาการสะอึกในลูกน้อยได้

3. ให้ลูกน้อยดูดนมจากเต้าของคุณแม่ ซึ่งไม่มีส่วนของลมมาผสมอย่างแน่นอน โดยวิธีนี้จะช่วยลดการสะอึกได้ แถมยังสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ และความผูกพันธ์ที่ดีระหว่างคุณแม่และลูกน้อย ในขณะให้นมได้อีกด้วย

4. หลีกเลี่ยงการดูดนมจากขวดซึ่งมักมีลมเข้าไปผสมเมื่อลูกน้อยดูด แล้วทำให้ลมเหล่านั้นไหลปะปนไปกับน้ำนมลงสู่กระเพาะอาหาร เมื่อกระเพาะอาหารเกิดการขยายตัวก็เป็นการขยายตัวที่มากขึ้นแล้วทำให้เกิดแรงดันไปยังกล้ามเนื้อกะบังลมที่มากและรวดเร็วกว่าปกติ จนเกิดเป็นการสะอึกตามมา แต่หากเราหลีกเลี่ยงส่วนนี้ก็ช่วยแก้การสะอึกได้

5. เมื่อลูกน้อยดื่มนมจากขวด ต้องหมั่นสังเกต หากน้ำนมหมดให้รีบดึงขวดนมออกจากปากลูกน้อยอย่างอ่อนโยน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยดูดลมเข้าสู่กระเพาะอาหาร ก็เนื่องมาจากสาเหตุเดียวกันกับในข้อ 4 และวิธีนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้และป้องกันการสะอึกในลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

6. เมื่อลูกน้อยเกิดการสะอึกบ่อย หนึ่งในวิธีแก้ที่คุณพ่อคุณแม่มักใช้คือการให้ลูกน้อยดื่มน้ำตามในปริมาณมาก ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ผิดเพราะการดื่มน้ำในปริมาณมาก จะทำให้น้ำไหลลงสู่กระเพาะอาหารตามนมไป แล้วทั้งน้ำและนมจะรวมกันทำให้เกิดแรงดันที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะอึกที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อลูกน้อยเกิดการสะอึกไม่ควรแก้โดยการให้ดื่มน้ำตาม เพราะไม่เพียงไม่ช่วยให้หายสะอึก อาจทำให้ลูกน้อยสำลักน้ำได้อีกด้วย

วิธีแก้สะอึกที่เรากล่าวมาข้างต้นในบนความล้วนเป็นวิธีที่สามารถใช้กับลูกน้อยได้ผลเป็นอย่างดี แต่หากลูกน้อยของคุณสะอึกบ่อยติดต่อกันเป็นเวลานาน (ระยะเวลาร่วม 3 ชั่วโมง) หรือมีอาการสะอึกพร้อมกับอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น การสะอึกพร้อมกับการอาเจียน การสะอึกพร้อมกับการมีไข้ การสะอึกพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ หรือ การสะอึกพร้อมกับการมีปัญหาด้านการหายใจที่รุนแรง สาเหตุอาจไม่ได้มาจากการดื่มนมอิ่ม ส่วนนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ และเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย


บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ผ้ากันเปื้อนเด็ก จำเป็นไหม? ควรเลือกอย่างไรดี 

2. ลูกไม่สบายบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดูแลรักษาอย่างไร

3. เด็กสะอึกหลังกินนมแก้อย่างไร ความเชื่อผิด ๆเกี่ยวกับเด็กสะอึกที่ห้ามทำเด็กขาด!!!

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team