พัฒนาการเด็ก 2 เดือน และวิธีกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม

23 October 2017
135828 view

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน

1 เดือนแล้วกับการลืมตาดูโลกใบกว้าง และหนูน้อยคงชินกับสัมผัสของคุณแม่บ้างแล้ว แล้วคุณแม่ล่ะคะผ่านมา 30 วันเต็ม รู้สึกว่าเข้าที่เข้าทางบ้างหรือยัง Mama Expert เชื่อมั่นมากว่า คุณแม่คงมีความสุขกับสิ่งมหัศจรรย์น้อยๆ นี้เป็นอย่างมาก เมื่อเข้าสู่เดือนที่1 ลูกคุณแม่จะเริ่มอ้อน เริ่มเรียนรู้สิ่งแวดใกล้ตัว เริ่มจดจำเวลากลางวันกลางคืน กำมือแน่น บางคนเก่งหน่อย ฝึกกล้ามเนื้อคอ ด้วยการชันคอขณะคว่ำ เริ่มโชว์พัฒนาการกันแล้ว สำหรับลูกบ้านไหนที่ยังไม่มีพัฒนาการตามที่กล่าวมา อย่ากังวลไปนะคะ รอได้ค่ะ 

เพราะการขับถ่าย ส่งผลต่ออารมณ์และพัฒนาการของลูก อึง่าย ลูกอารมณ์ดีพร้อมเรียนรู้ อึยาก ลูกอารมณ์บูดร้องไห้งอแง คุณแม่ลองเช็กดูนะคะ ว่าลูกอึแบบไหน แค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ มาเช็กกันเลย 


ตรวจเช็คพัฒนาการลูกวัย 2 เดือน

  • ขณะนอนคว่ำ ลูกสามารถยกคอขึ้นจากเบาะ ในระยะเวลาสั้นๆ
  • ส่งเสียงเบาๆ เช่น ฮัม ฮัม เสียงในลำคอ
  • จ้องหน้าคุณแม่ ถึงแม่จะมองไม่ชัด แต่ลูกจะสนใจหน้าคนเป็นพิเศษ
  • มองตามสิ่งเคลื่อนไหว
  • ผวาตกใจเมื่อมีเสียงดัง
  • ยิ้ม แต่ไม่ได้หมายถึงการพึงพอใจ เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติตามวัย
  • เคลื่อนไหวเเขนขาทั้ง 2 ข้าง

การกระตุ้น พัฒนาการลูกวัย 2 เดือน

  • ยื่นหน้าคุณแม่เข้าใกล้ลูกบ่อยๆ ในระยะ ฟุต
  • นวดสัมผัสเพื่อในอารมณ์ดี กระตุ้นการขับถ่าย
  • ยกแขนขา จั๊กจี๋ ให้ลูกยิ้ม
  • โอบกอด อุ้ม พลังความอบอุ่นกระตุ้นให้ลูกหลั่งสารแห่งความสุขออกมา
  • พูดคุยกับูกบ่อยๆ เบาๆ หรือกล่อมลูกก่อนนอน

โภชนาการของลูกวัย 2 เดือน 

  • นมแม่อย่างเดียว 6- 8 มื้อ หรือสามารถคำนวณตามสูตร
  • สูตรคำนวณนมของลูกอายุ 1 เดือน  น้ำหนักลูกเป็นกิโลกรัม คูณ 120 ซีซี แล้วหาร 30
    ตัวอย่างเคส อายุ 2 เดือน หนัก 5 กก.  เอานน.คูณ 120 ได้ 600 เท่ากับ 20 ออนซ์
    ควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อ / วัน
  • น้ำเปล่า ไม่ต้องดื่ม เพราะใน นม มีส่วนผสมที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทารกอยู่แล้ว หากต้องการให้ดื่มเพื่อล้างคราบนม ไม่ควรเกิน 10 ซีซี เพราะหากดื่มน้ำมากลูกจะดื่มนมได้น้อยลง เพราะอิ่มน้ำ

การดูเเลทารกลูกวัย 2 เดือนที่ถูกต้อง

  • ลูกหิวบ่อย และดูโยเยมากขึ้น
  • แหวะนม  อาเจียน  อาการดังกล่าวหากเกิดไม่ถี่จนเกินไป ถือว่าปกติ เกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ หากบ่อยครั้ง อาเจียนพุ่ง ควรพบแพทย์ อาจมีภาวะกรดไหลย้อน
  • ขับถ่ายลดจำนวนครั้งลงแต่ปริมาณของอุจจาระ จะมากขึ้น ถ่ายปกติของเด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว จะมีสีเขียว สีเขียวปนเหลือง สีเหลืองเข้ม  สีเหลืองทอง สีเหลืองอ่อนๆ สีเหลืองมีจุดๆ คล้ายเม็ดมะเขือปน ถือว่าเป้นปกติของถ่ายนมแม่
  • ถ่ายนมผสม (นมผง) เปลี่ยนไปตามยี่ห้อของนม ส่วนมากเป้นสีเหลืองทอง ไม่เหลว
  • ถ่ายผิดปกติ ได้แก่ ถ่ายดำ ถายปนเลือด ถ่ายเป็นมูก ถ่ายสีชอล์ก ถ่ายเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ 4 ครั้งติดต่อกันควรพบแพทย์
  • อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น  สระผม 1 ครั้ง ควรปรับอุณภูมิเป็นน้ำก๊อกปกติไม่จำเป็นต้องอาบน้ำอุ่น
  • ผิวแห้งเป็นขุย อาจต้องทาออยส์ โลชั่นสำหรับเด็ก แต่ต้องทดสอบการแพ้ ด้วยการทาที่ท้องแขนลุกนิดหน่อย ทิ้งไว้ 30 นาที หากไม่มีผื่นขึ้น แสดงว่าไม่แพ้ สามารถใช้ยี่ห้อนั้นได้
  • สวมใส่เสีื้อผ้าแบบสบายๆ ไม่ห่อตัว
  • นอนตะแคง นอนหงายได้ตามปกติไม่หนุนหมอน ถ้าต้องการให้นอนคว่ำ คุณแม่ต้องอยู่ด้วยตลอดเวลา ป้องกัยการเกิด ภาวะ Sudden Infant Death Syndrome หรือย่อว่า SIDS โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กทารก
  • งด สวมถุงมือ ถุงเท้า  แนะนำให้ตัดเล็บให้สั้น แทนการสวมถุงมือ  เพราะการสวมถึงมือ เป็นการปิดกั้นพัฒนาการลูก เด็กวัยแรกเกิดหากใช้มือสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง กำๆ แบๆ บ่อยๆ เป็นการเสริมสร้างเส้นใยประสาท เป็นการกระตุ้นที่ดีมาก

เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ไม่ยากเกินความสามาถของคุณแม่ใช่ไหมคะ เลี้ยงมา 2 เดือนแล้ว คุณแม่และคุณลูกเริ่มคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น ในวันพรุ่งนี้ที่ย่างเข้าเดือนที่ ทุกอย่างจะเริ่มเป็น สะเต็บขึ้นค่ะ สู้ๆ นะคะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. พัฒนาการและการเลี้ยงลูกวัย 1-2 เดือน

2. เทคนิคการอาบน้ำทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่

3. การดูแลสะดือเด็กแรกเกิดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team