โรคเด็ก โรคใหม่ โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

26 February 2015
12119 view

โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง หรือทางการแพทย์ เรียก Anti-NMDA-receptor encephalitis เป็นโรคที่พบได้น้อยในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กและเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ล่าสุดพบในเด็ก อายุ 2ปี 10 เดือน สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัด คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตหากลูกมีอาการดังต่อไปนี้

อาการของโรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

  1. ความสามารถในการพูด ( speech disorder) น้อยลง พูดคำเดียวซ้ำๆ ลากเสียงยาวๆ เหมือนยานคางและที่สุดไม่พูดเลย
  2. การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดธรรมชาติ (movement disorder / disorientation) มือเท้าสะเปะสะปะ ขึ้นลงไม่เป็นจังหวะ บังคับไม่ได้ บิดงอเกร็ง และเดินไม่ได้ ปากขมุบขมิบ ทำท่าเคี้ยวตลอดเวลา
  3. ภาวะปัญหาในการนอนหลับ โดยน้องลาเต้ 48 ชั่วโมงนางร้องไห้ตลอดไม่มีนอนเลย ไม่หลับเลยจนในที่สุดต้องให้ยานอนหลับเธอ โดยแม่ต้องสัปหงกเฝ้าเพราะกลัวเธอหยุดหายใจ
  4. ชัก ชัก ชัก ชัก ชัก ตอบไม่ได้ว่าจะชักเมื่อไหร่ ยังไง รู้แต่ว่าอย่าให้ปากเขียวหรือคล้ำเพราะนั่นหมายความว่าขาดอ๊อกซิเจน
  5. ระบบ อัตโนมัติในร่างกายไม่เป็นปกติ ภาวะตัวเย็น เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น มีไข้ ไข้หายติดๆดับๆ 
  6. ความรู้สึกตัวลดลง ไม่ตอบสนองสิ่งเร้าใดๆ ไม่สนใจรอบข้าง ตาเหม่อลอยไม่โฟกัสใดๆ

สาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่ พบในผู้หญิงมากกว่าในผุ้ชาย  มักสัมพันธ์กับการมีเนื้อนอกในรังไข่  นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับการมีก้อน ในเต้านม  ปอด ตับอ่อน แต่น้อยมาก

การรักษา โรคภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายสารสื่อประสาทในสมอง

ใช้หลักการรักษาผู้ป่วย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พบว่า สามารถหายขาดได้ 75%

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง

2. โรคโลหิตจางในเด็ก

3. โรคร้ายในเด็กแต่ละช่วงวัย

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert  Editorial Team