จุกนมหลอก
คุณแม่หลายๆคน นิยมเลี้ยงลูกด้วยจุกนมหลอก ถึงแม้จะทราบดีว่าอาจทำให้ลูกติดได้ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า ลูกอยู่นิ่งและหยุดร้องได้ จึงให้ลูกดูดเรื่อยๆ ก่อนที่คุณแม่จะตัดสินใจ เลี้ยงลูกด้วยจุกนมหลอก คุณแม่มาทำความรู้จักกับข้อดี ข้อเสีย และ ข้อแนะนำของการใช้ จุกนมหลอก กันก่อนนะคะ
ข้อดีของจุกนมหลอก
- ช่วยระงับอาการร้องไห้ของลูก
- ลดพฤติกรรม การเล่นน้ำลาย ดูดนิ้ว ดูดปากของลูกน้อย
- การดูดจุกหลอก ทำให้เด็กผ่อนคลาย
- สามารถลดอาการร้องจาก โคลิกได้ คุณแม่บางคนเลือกใช้จุกหลอกเพื่อลดอาการร้องไห้จากโคลิคพบว่าได้ผล (ในบางรายเท่านั้น)
- การดูดจุกนมหลอก ขณะทารกหลับสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อภาวะการตายเฉียบพลันในทารก (SIDS) ได้ ซึ่งทางการแพทย์เปิดเผยว่า ยังไม่สามารถหาเหตุผลในข้อนี้ได้ แต่งานวิจัยเรื่องนี้ ศึกษาวิจัยในเด็กที่ดูดนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น
ข้อเสียของจุกนมหลอก
- ทำให้ติดและเลิกยาก
- ทารกอาจจะ สับสนระหว่างจุกนมหลอกและหัวนมแม่ บางรายดุดจุกนมหลอกแล้วพบว่าไม่ดูดนมแม่
- หลังเลิกจุกหลอกเสี่ยงต่อการที่ลุกจะติดดูดนิ้วแทนดูดจุกนมหลอก
- ทำลายโครงสร้างของฟัน โดยเฉพาะฟันหน้า ทำให้ฟันผิดรูป ฟันเก ฟันเหยินได้
- ลูกมีปัญหาในการบดเคียวอาหารเนื่องจากฟันไม่สบกันกันกระเพาะอากหารของลุกทำงานมากขึ้นเนื่องจากระบบการบดเคียวอาหารของลูกไม่ดี
- ลูกพูดไม่ชัดเมื่อโตขึ้น
คุณแม่ควรเริ่มใช้ จุกนมหลอก เมื่อลูกน้อยอายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันการสับสน ระหว่างจุกนมหลอกและหัวนมแม่ และไม่ควรใช้นานเกิน เมื่ออายุ 12 เดือนควรเลิกใช้ทันที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ :
1. เทคนิคเลิกขวดนมได้ผลเกินคาด
2. วิธีสังเกตจุกนมเสื่อม ขวดนมเสื่อม
3. ลูกสับสนติดจุก ติดขวด แก้อย่างไรให้สำเร็จ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team