การพัฒนา EQ ในเด็ก
การพัฒนา EQ ในเด็ก “E.Q.” คือ ชื่อย่อของ Emotional Quotient หรือ เชาว์อารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ ถึงความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อการสร้างแจงจูงใจในตนเองบริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ได้ วันนี้ Mamaexpert จะมาพูดถึงแนวทางพัฒนา EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ให้เด็กแต่ละช่วงวัย โดยความสำคัญของ EQ นั้นคือ..
ความสำคัญของการพัฒนา EQ ในเด็ก 5 ประการ
- ความตระหนักรู้ตนเอง (Self Awareness)
- การจัดการกับอารมณ์ (Managing Emotion)
- การจูงใจตนเอง (Motivating Oneself )
- การเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
- ทักษะทางสังคม (Social Skills)
หลักสำคัญในของการพัฒนา EQ ในเด็ก
- พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ หรือกล่าวได้ว่าผู้ใหญ่ต้องมี EQ ที่ดีก่อนหากลูกยังเห็นคุณแม่ระเบิดอารมณ์ใส่ตนเอง เค้าคงไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมอารมณ์ตนเอง
- การฝึกฝนและเรียนรู้ควรอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่นร่วมกับช่วยเหลือเด็กให้ควบคุมตนเองได้ด้วยการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน
- การเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ที่ดี คือการให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสกับอารมณ์ด้านลบของตนเอง เช่น โกรธ กลัว อิจฉา รู้สึกผิด ให้เค้าเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับตนเอง เพียงแต่ตัวเค้าจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการ หาแนวทางแก้ปัญหา (Problem Solving Skill) ให้หลากหลายขึ้น แสดงอารมณ์ให้เหมาะสมขึ้นตามวัย
กิจกรรมในการฝึกการพัฒนา EQ ในเด็ก
การพัฒนา EQ ในเด็กเล็ก
- การฝึกวินัยในตนเอง หัดรู้จักการให้แบ่งปันและการเล่นกับผู้อื่นให้เป็น
การพัฒนา EQ ในเด็กวัยเรียน
- ฝึกให้เด็กคิดอย่างมีแบบแผน คิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา สร้างทัศนคติการมองโลกเชิงบวก สอนให้เด็กเรียนรู้ความซื่อสัตย์ การพูดความจริง โดยผู้ปกครองควรให้กำลังใจและให้คำชมเชยเมื่อเด็กทำตามได้และจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้เหมาะสม
การพัฒนา EQ ในเด็กวัยเรียนเด็กโต
- เชื่อมั่นและเคารพความเป็นส่วนตัวของเด็ก ให้ถือว่าเด็กคือบุคคลคนหนึ่งที่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เหตุผลของตนเอง ให้เด็กได้มีอิสระทางความคิด แต่อยู่ในขอบเขตของวัยลดการวิพากษ์วิจารณ์หรือลงโทษเด็กอย่างรุนแรง เน้นการใช้เหตุผลให้เหมาะสมตามวัย
การเลี้ยงลูก คือการให้ความรัก และเข้าใจธรรมชาติของความเป็นเด็ก เข้าใจอารมณ์ของลูก และสร้างอุปนิสัยให้เป็นเด็กหัวเราะง่าย เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ร่าเริง แล้วลูกของคุณแม่ก็จะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย และมี EQ ที่ดีค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่
1. เทคนิคเสริมสร้างความจำง่ายๆ ให้ลูกสมองดี หัวไวพร้อมได้ภูมิคุ้มกัน
3. วัคซีนเสริมควรฉีดไหม ? วัคซีนเสริมมีอะไรบ้าง?
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team