โรคกลากน้ำนม (เกลื้อนน้ำนม) และวิธีรักษาที่ได้ผลจริง

01 December 2017
113698 view
สารบัญ

กลากน้ำนม

กลากน้ำนมหรือเกลื้อนน้ำนม เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่พบมากในเด็กและวัยรุ่น ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย โดยเฉพาะเด็กที่มีสีผิวค่อนข้างเข้ม พบในผู้ใหญ่บ้างแต่น้อยกว่าพบในเด็ก

อาการกลากน้ำนม 

เป็นรอยแดง อ่อนๆ  มีขนาด 0.5เซนติเมตร  –  4 เซนติเมตร  มีขอบเขตไม่จำกัด ต่อมามีลักษณะเป็นวงขาวเป็นดวงๆ หรือเห็นสีผิวดูจางกว่าบริเวณใกล้เคียงและมีขุยละเอียด พบบริเวณใบหน้าเป้นส่นใหญ่ เช่น บริเวรหน้าผาก ขอบตา แก้มปาก และอาจพบได้ที่บริเวณแขน ลำคอ และไหล่ สามารถพบร่วมกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยมากไม่ค่อยมีอาการ แต่อาการมักจะเป็นมากขึ้นหลังตากแดด ตากลม หรือในหน้าร้อน


สาเหตุการเกิดกลากน้ำนม

สาเหตุการเกิดไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่การที่เกิดรอยด่างเกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้าสร้างเม็ดสีลดลง ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดเป็นรอยขาวชัดเจนขึ้น อาจเกิดจากความแห้ง หรือมีการอักเสบของผิวหนัง การแพ้ลม แพ้แดด การขาดอาหาร หรือมีติดเชื้อแบคทีเรีย

การรักษากลากน้ำนม

  1. ควรใช้สบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก สบู่น้ำ ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
  2. ทาครีมกันแดดที่มีSPFสูง และหลีกเลี่ยงแสงแดด กลากน้ำนมนี้จะเป็นๆหายๆ มักเป็นเรื้อรัง บางรายอาจมีอาการเป็นปี แต่ไม่เป็นอันตราย บางคนจะหายได้เอง และไม่ติดต่อไปยังผู้อื่น
  3. ทาครีมบำรุงผิวหรือใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ






ข้อควรรู้เกี่ยวกับกลากน้ำนม 

  1. กลากน้ำนมมักจะเป็นเรื้อรัง หรืออาจเป็นๆหายๆนาน 1-2 ปี แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด และไม่ติดต่อให้ผู้อื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง
  2. กลากน้ำนมต่างจากเกลื้อน ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง คอ และหน้าอก และพบมากในคนหนุ่นสาวที่มีเหงื่ออกมาก แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่ และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว ถ้าหากแยกกันไม่ออกให้ลองรักษาแบบเกลื้อน ดูก่อน หรือถ้าใช้สเตอรอยด์ทาแล้ว กลับลุกลามมากขึ้น ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้วให้ยารักษาเกลื้อนแทน
  3. กลากน้ำนม ในชื่อมีคำว่าน้ำนมแต่ไม่ได้เกิดจากการกินนม ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะ ที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม
  4. ผู้ที่มีอาการ ไม่ควรซื้อยาทาประเภทแสบร้อนหรือขี้ผึ้งเบอร์ต่าง ๆ มาทา อาจทำให้หน้าไหม้เกรียม หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำถ้าจะให้หายดีและรักษาได้อย่างถูกต้องควรปรึกษาเเพทย์ผิวหนัง

การป้องกันกลากน้ำนม

การป้องกันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่การดูแลเพื่อลดอาการกลากน้ำนมได้ดีคือ การไม่ตากแดดเป้นเวลานานๆ ดูแลผิวใวห้เกิดความชุ่มชื่นอยู่เสมอ และควรใช้สบู่อ่อนๆโดยเฉพาะทารกควรใช้สบู่สำหรับผิวทารกโดยเฉพาะ แค่นี้ก็ห่างไกลจากลากน้ำนม เกลื้อน้ำนมแล้วค่ะ 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่  :

 
1. วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม

2.การดูแลผื่นที่ถูกต้องเพื่อให้ผื่นหายเร็ว

3.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก ที่คุณแม่ต้องรู้

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team