เครียดลงกระเพาะ
ความเครียด อาจเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ความกดดัน การคิดอะไรที่มากและซ้ำไปมา และอื่น ๆ อีกมากมาย ความเครียดมีหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึง เครียดลงกระเพาะ จนทำให้เกิดเป็นอาการ เครียดจนคลื่นไส้ ก็ได้ เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนอาจจะเป็นอาการแบบนี้จนกลายเป็นเรื่องปกติ หรืออาจจะปล่อยไว้ให้เป็นอาการแบบนี้ต่อไป แต่จริง ๆ แล้ว อาจไม่ดีแน่นอน หากคุณเกิดความเครียดหรืออาการเหล่านี้ มักจะมีสาเหตุที่ไม่ดีแน่นอน แต่จะเป็นสาเหตุแบบไหนกันบ้าง เรามาติดตามไปพร้อมกับแนวทางในการแก้ไขได้เลย
เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร
เครียดจนคลื่นไส้ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า เครียดลงกระเพาะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนในวัย 18-35 ปี ซึ่งอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย แต่จะเป็นแบบอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าที่มาที่ไปเป็นแบบไหน เราจะมาบอกให้คุณทั้งหลายได้ทราบกันในตอนนี้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่
- เกิดจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป
ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ทำให้นอนไม่หลับและเกิดเป็นอาการหิว เพราะทำการเผาผลาญที่มากเกินไป
- ระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นต่อมหมวกไต
ทำให้เกิดการหลั่งสารอะดรีนาลีนเกิดขึ้น แน่นอนว่าร่างกายของคุณจะต้องเกิดอาการผิดปกติแน่นอน
- ความเครียดที่ทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารหยุดชะงักลง
เมื่อความเครียดเกิดขึ้น กระเพาะอาหารของคุณก็จะหยุดการทำงานลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กลายเป็นอาการของ เครียดลงกระเพาะ และอาการที่จะตามมาก็คือ เครียดจนคลื่นไส้ นั่นเอง
อาการเครียดลงกระเพาะ เป็นอย่างไรบ้าง
เครียดลงกระเพาะ เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อคุณเกิดอาการนี้ขึ้นมา จะมีผลข้างเคียงเป็นอย่างไรบ้าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำอย่างไร เรามาดูกัน
- ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ตอนท้องว่าง
- เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด เรอเหม็นเปรี้ยว
- นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับเลยก็ได้
- เสียดหน้าอก แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
วิธีการดูแลรักษาเมื่อเครียดจนลงกระเพาะ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเป็นความ เครียดลงกระเพาะ หลายคนอาจจะมองข้ามไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หาย แต่จริง ๆ แล้ว อาการนี้ถือว่าค่อนข้างจะมีผลต่อร่างกายอย่างมากเลย เพราะทำให้คุณเป็นโรคกระเพาะเลยก็ได้ ดังนั้นเรามีวิธีการดูแลอาการเหล่านี้ให้ลดลงหรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่า การดูแลรักษาอาการจะสามารถทำให้หายขาดได้เลย ดังนั้นเรามีขั้นตอนการดูแลจากวิธีการดังนี้ ได้แก่
1.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
เมื่อกระเพาะของการได้รับอาหารตรงตามเวลาปกติ ร่างกายของเราก็จะไม่เกิดความผิดปกติ ไม่ว่าคุณจะมีความเครียดหรือไม่ก็ตาม แต่บอกได้เลยว่า ความเครียดจะไม่มีผลต่อกระเพาะอาหารคุณอย่างแน่นอน รับประทานอาหารให้ตรงเวลา มีผลมากที่สุด
2.หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด
ของมัน ของทอดทั้งหลาย ที่คุณรับประทานเข้าไป อาจเป็นผลให้เกิดอาการ เครียดลงกระเพาะ ด้วยก็ได้ ดังนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงเลย เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องของความเครียดแล้ว เรื่องของไขมันก็สำคัญเช่นกัน
3.ไม่รับประทานอาหารรสจัด
การทานอาหารรสจัดทำให้กระเพาะอาจเกิดเป็นแผล แสบ ได้ ดังนั้นยิ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแสบท้องหรือเครียดลงกระเพาะได้อีกด้วย ดังนั้นลดความเผ็ดหรือรสจัดจ้านลงมาบ้าง ก็จะดีมากเลย
4.งดแอลกอฮอลล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือของมึนเมา บอกได้เลยว่า เลี่ยงได้เลี่ยง เพราะนอกจากจะทำลายสุขภาพแล้วก็ยังทำให้เกิดเป็น เครียดลงกระเพาะ ได้แบบไม่น่าเชื่ออีกด้วย
5.ลดความเครียดลง
หากเราจะแนะนำคุณทั้งหลายว่า ไม่ต้องเครียด ก็อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะในแต่ละวัน คุณจะต้องพบกับอะไรมากมาย แบบที่กำหนดและควบคุมไม่ได้ ดังนั้นลดความเครียดลงบ้างก็ได้ หรือจะไม่เครียดเลยก็จะดีมาก ๆ แต่หากเกิดอาการเครียดจริง ๆ ก็ลองหาอะไรที่ผ่อนคลายแทนด้วยก็ได้
6.นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อคุณได้รับการพักผ่อน คุณก็จะช่วยลดความเครียดลงได้เยอะเลย อาจจะเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกัน แต่บอกได้เลยว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพักผ่อนแน่นอน
ป้องกันอาการเครียดลงกระเพาะได้อย่างไร
เราจะป้องกันอาการของ เครียดลงกระเพาะ ได้อย่างไรบ้าง บอกได้เลยว่า ป้องกันได้ เพราะมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เราเกิดอาการนี้ ดังนั้นเราเองก็จะต้องนำปัจจัยนี้มาเปลี่ยนเป็นแนวทางในการป้องกันที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดเป็นความเครียดที่จะเกิดขึ้น นั่นก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ความเครียด หรืออะไรก็ตาม ที่คุณอาจจะติดอยู่กับแบบเดิม ๆ เช่น การรับประทานอาหาร ความเครียด ความกดดันที่เมื่อก่อนอาจจะมีมาก แต่ตอนนี้ก็จะต้องพยายามให้มันลดลงบ้างก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี และนอกจากนี้แล้ว หากคุณยังเป็นอาการรูปแบบนี้อีก ทางที่ดีคือ การไปพบแพทย์ จะดีที่สุด
ความเครียดเป็นสิ่งที่ใครก็อาจจะต้องเผชิญ แต่เราจะรับมือกับความเครียดนี้ได้อย่างไรบ้าง และไม่ทำให้ร่างกายของเราจะต้องถูกผลกระทบที่มากไปกว่านั้นอีก เครียดลงกระเพาะ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หากเกิดขึ้นแล้ว รีบรักษาให้หายขาดได้ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อร่างกายของเราจนถึงขั้นรุนแรงไปอีก
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.ความเครียดในเด็ก สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ทำอย่างไรเมื่อลูกเครียด
2.แบบทดสอบสุขภาพจิตแม่ตั้งครรภ์ 16 ข้อ คุณเป็นแม่ท้องที่เครียดเกินไปหรือไม่
3.เครียดตอนท้อง ส่งผลต่อลูกในครรภ์อย่างไร
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team