ตากระตุก
เมื่อไหร่ก็ตามที่มีอาการ ตากระตุก หลายคนก็จะมีความเชื่อว่าอาจจะกำลังเกิดเรื่องไม่ดี หรือกำลังจะเกิดเรื่องดี ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วการที่ไม่ว่าจะ ตากระตุก ข้างขวา หรือ ตากระตุก ข้างซ้าย ไม่ได้เกิดจากความเชื่อเหล่านั้นแต่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาที่ชั่วขณะ สำหรับวันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก ว่าจริง ๆ แล้วการที่ตากระตุกนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ และเมื่อตากระตุกกำลังบ่งบอกถึงความผิดปกติอะไรของร่างกายหรือไม่พร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่า
ตากระตุก ข้างขวา มีสาเหตุมาจากอะไร
ตากระตุก ข้างขวา บ่อยๆ มีสาเหตุมาจากอะไร แต่ที่แน่ ๆ หลายคนเชื่อว่า ตากระตุก ข้างขวา กำลังจะมีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้ตาขวากระตุกมีดังต่อไปนี้
- เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จนทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาล้า เมื่อยตา จึงมักจะแสดงออกด้วยอาการกระตุกนั่นเอง
- ตากระตุก ข้างขวา ตากระตุกบ่อย ๆ เกิดจากการอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานานมาก ๆ ซึ่งอย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่อต้องอยูในที่ที่มีอากาศแห้งจะทำให้เกิดอาการตาแห้ง นำไปสู่การกระตุกของเปลือกตานั่นเอง
- การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ตากระตุก ข้างขวา ได้ด้วยเช่นกัน โดยการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอคือ การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตาได้นั่นเอง
- ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือ ความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุทำให้ ตากระตุก ข้างขวา ได้รวมถึงยังทำให้ ตากระตุก ข้างซ้าย ได้ด้วยเช่นกัน
อาการตากระตุกแบบไหน ไม่ปกติ
อาการ ตากระตุก ข้างขวา หรือ ตากระตุก ข้างซ้าย แบบไหนที่บ่งบอกถึงความผิดปกติและควรไปพบแพทย์ทันที เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกำลังมีอาการกระตุกของเปลือกตาดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
- เมื่อมีอาการตากระตุกที่เกิดขึ้นติดต่อกันร่วมนานเป็นสัปดาห์ ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปไม่ควรปล่อยละเลยแต่ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยด่วน
- อาการตากระตุกที่เกิดขึ้นเมื่อมีอาการบวมแดง แสบ และเจ็บบริเวณดวงตาร่วมด้วย เพราะอาจจะเกิดจากการติดเชื้อและอาจจะเกิดการลุกลามได้ ทั้งนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่มีของเหลวไหลออกมาจากดวงตาก็ควรพบแพทย์ทันทีด้วยเช่นกัน
- เมื่อคุณมีอาการกระตุกที่เปลือกตาหรือที่บริเวณตามากกว่าหนึ่งจุด และเป็นการกระตุกของเปลือกตาที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการรักษาที่ตรงจุดในทันทีด้วยเช่นกัน
- อีกหนึ่งอาการกระตุกของเปลือกตาที่ต้องพบแพทย์และเป็นความผิดปกติของการกระตุกตาคือ มีการกระตุกจนกระทั่งเปลือกตาบนปิดลงทับเปลือกตาล่าง อาการตากระตุกที่เกิดขึ้น กระตุกจนไม่สามารถลืมตาได้เลยถือเป็นความผิดปกติที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างมาก
ดูแลรักษาอย่างไรเมื่อตากระตุก
การดูแลเมื่อตากระตุกสามารถทำได้ดังนี้
1.อาการตากระตุกที่ไม่รุนแรง มีวิธีการดูแล คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดตากระตุก เช่นการใช้สายตาเป็นเวลานาน หมั่นพักสายตาบ่อย ๆ เพื่อลดอาการกระตุกของตา หรือจำเป็นต้องใช้สายตานาน ๆ แนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นบริเวณดวงตาลดการระคายเคืองตาได้ดีในระดับหนึ่ง
2.อาการตากระตุกที่รุนแรง มีวิธีการดูแลคือ จะมีการรักษาด้วยการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็น ยา Clonazepam , Trihexyphenidy หรือ Lorazepam ซึ่งเป็นการรักษาโดยแพทย์หรือเภสัชกร อีกหนึ่งวิธีก็คือ การรักษาโดยการฉีดโบท็อกซ์ เพื่อเป็นการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา ทำให้การกระตุกที่เปลือกตาหายไป ในการฉีดนั้นควรเป็นการฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ป้องกันตากระตุกได้ด้วยวิธีไหน
เราสามารถป้องกันไม่ให้ตากระตุกได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับที่เพียงพอควรพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการตากระตุกได้ในระดับหนึ่ง หรือแทบจะไม่มีอาการกระตุกของตาเลยก็ว่าได้
2.หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะหน้าจอสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ ก็ไม่ควรจะจ้องนานหากจำเป็นต้องทำงานหน้าจอนาน ๆ ก็ควรบำรุงสายตาอย่างเหมาะสม และหมั่นพักสายตาบ่อย ๆ เพื่อลดอาการปวดเมื่อยดวงตานั่นเอง
3.ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เนื่องจากมีผลกับอาการตากระตุกเช่นกัน หรือหากจำเป็นต้องดื่มจริง ๆ ควรเลือกดื่มในเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากจนเกินไป
4.ลดภาวะเครียด ความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการตากระตุกได้เช่นกัน การไม่มีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไปจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ตากระตุกได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว
เป็นอย่างไรกันบ้างจากข้อมูลข้างต้นพบว่าอาการตากระตุกนั้นถือเป็นอาการปกติทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อย่างไรก็ตามหากเป็นอาการที่ดูแล้วเป็นความผิดปกติ เช่นเกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ก็ควรพบแพทย์ทันที เพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำอีกด้วย ดังนั้นหากเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่ควรละเลยหรือมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะนั่นอาจจะนำไปสู่ภาวะความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาได้นั่นเอง
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.ลูกน้อยขยี้ตา ระวังโรคเยื่อบุตาอักเสบในเด็ก โรคใกล้ตัวที่คุณแม่ควรรู้
2.5 วิธีแก้ขอบตาลึก เพิ่มความสดใส ให้ใบหน้าดูสวยเป๊ะขึ้นกว่าเดิม
3.7 วิธีลดถุงใต้ตา ทำง่ายได้ผลดีจริง ไม่ต้องพึ่งมีดหมอ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team