ตั้งครรภ์ 1 เดือน (ท้อง 1 เดือน) การเปลี่ยนแปลงของแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ 1 เดือน

02 November 2017
691207 view

สารบัญ

  1. ตั้งครรภ์ 1 เดือน
  2. ตั้งครรภ์ 1 เดือน พัฒนาการต่างๆของลูกเป็นอย่างไร
  3. ตั้งครรภ์ 1 เดือน คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
  4. ตั้งครรภ์ 1 เดือน คุณแม่ดูแลครรภ์อย่างไร
  5. ตั้งครรภ์ 1 เดือนต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง
  6. บทบาทคุณพ่อมือใหม่ขณะแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน

ตั้งครรภ์ 1 เดือน (ท้อง 1 เดือน)

ก่อนอื่น Mama Expert ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งวิเศษและน่ามหัศจรรย์ยิ่ง คุณแม่มือใหม่ตื่นเต้นไม่เบากับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พัฒนาการของทารกในครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายอย่างเป็นตัวกำหนด เริ่มจากสารพันธุกรรมจากพ่อแม่ การรับประทานอาหารบำรุงร่างกายของแม่ รวมถึงการรับประทานยา อารมณ์ของแม่ และสิ่งเเวดล้อมที่แม่อาศัยอยู่ขณะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เดือนที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปรงของฮอร์โมนในร่างกายหลายๆตัวพร้อมกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สุขภาพครรภ์ การตั้งครรภ์เดือนที่1 และ พัฒนาการทารกในครรภ์
สุขภาพครรภ์  การตั้งครรภ์เดือนที่1 และ พัฒนาการทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์  1 เดือน พัฒนาการต่างๆของลูกรักเป็นอย่างไร

สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ขนาดของทารกยังเหมือนวุ้นไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 5-7 วันจะฝังตัวที่ผนังมดลูก ข่เจริญอย่างรวดเร็วเรียก ตัวอ่อน ซึ่งจะมีการสร้าง รก และสายสะดือ เพื่อเป็นทางนำอาหารจากแม่สู่ลูกและขับของเสียจากลูกสู่แม่ เด็กจะอยู่ในถุงน้ำเรียก amniotic sac ซึ่งป้องกันแรงเด็กจากการกระแทก เปรียบเสมือนบ้านและห้องนอนของลูกก็ว่าได้ค่ะ

สัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ จะมีการสร้างประสาทไขสันหลังและกระดูกสันหลังรวมทั้งเส้นประสาท เมือเวลาผ่านไป 6 สัปดาห์เด็กจะมีหัวและลำตัว

สัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ เซลล์จะแบ่งตัวประมาณ 150 เซลล์และแบ่งเป็น3ชั้นได้แก่

  • ชั้นนอก ectoderm ซึ่งจะสร้าง สมอง เส้นประสาท และผิวหนัง
  • ชั้นกลาง mesoderm ซึ่งจะกลายเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด หัวใจและอวัยวะเพศ
  • ชั้นใน endoderm ซึ่งจะกลายเป็นอวัยวะภายในเช่น ตับ หัวใจ กระเพาะ ปอด เป็นต้น

ทารก จะมีขนาดประมาณ1/4 นิ้ว เริ่มมีการสร้างหัวใจ (5-6สัปดาห์หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย) ตาและแขน แต่ยังฟังเสียงหัวใจไม่ได้ สิ้นสุดสัปดาห์ที 6 เด็กจะมีขนาดครึ่งนิ้ว

ตั้งครรภ์ 1 เดือน คุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร

คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ในระยะแรกของ การตั้งครรภ์จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด คัดเต้านม อารมณ์จะผันผวนเหมือนก่อนมีประจำเดือน บางท่านอาจจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อยเนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวอาการต่างๆจะเป็นมากน้อยในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

ตั้งครรภ์ 1 เดือน คุณแม่ดูแลครรภ์อย่างไร

  1. การพักผ่อน คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดโดยเฉพาะเวลากลางคืน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งครรภ์ออกมาในเวลากลางคืน คุณแม่ควรนอนหลับติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืนคุณแม่บางท่านอาจออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำเมื่อก่อนตั้งครรภ์
  2. การออกกำลังกาย เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็จำเป็นต้องลดการออกกำลังกายลง การออกกำลังกายอย่างเบาๆ สม่ำเสมอในช่วงที่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามเดือนแรก และสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การออกกำลังกายมากเกินไปอาจทำให้เกิดการแท้งคุกคามหรือคลอดก่อนกำหนดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี โอกาสแท้งจะสูงกว่าปกติ ดังนั้นการออกกำลังของคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถออกกำลังได้แค่ไหนอย่างไร
  3. อาหาร คุณแม่ควรรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และควรเลือกอาหารที่จะรับประทานให้มากยิ่งขึ้น ในหนึ่งวันควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ อย่ากลัวอ้วนเพราะลูกจำเป็นต้องใช้อาหารจากคุณแม่ ควรรับประทานอาหารโปรตีนสูงรวมถึงคาร์โบไฮเดรตและไขมันด้วย ควรรับประทานพืชผักผลไม้สดทุกวันจะให้วิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นและยังได้กากอาหารอีกด้วยซึ่งจะช่วยทำให้ท้องไม่ผูก ดื่มน้ำให้เพียงพอและดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่รับประทานอาหารได้เพียงพอแล้ว คุณแม่จะสังเกตได้จากน้ำหนักตัว น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละไม่เกินครึ่งกิโลกรัม คุณแม่อาจชั่งน้ำหนักของตัวเองทุกสัปดาห์และจดบันทึกเอาไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อไปตรวจครรภ์คุณหมอจะให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักทุกครั้งเสมอ และเมื่อคุณหมอทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ก็จะเห็นปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่ล้อมรอบตัวทารกว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ ก็จะทำให้ทราบได้เช่นเดียวกันว่าคุณแม่รับประทานอาหารได้เพียงพอหรือไม่ เพราะปริมาตรของน้ำคร่ำสัมพันธ์กับการได้รับอาหารของทารก หากทารกได้รับอาหารมากก็จะปัสสาวะออกมามากซึ่งปัสสาวะของทารกก็คือน้ำคร่ำนั่นเอง ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตั้งครรภ์ แต่อย่าเครียดกับการบริโภค เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่มีคุณหมอคอยดูแลให้อยู่แล้ว หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดคุณแม่และทารกก็จะมีสุขภาพดีทั้งสองฝ่าย

ตั้งครรภ์ 1 เดือน ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง

    1. แท้งคุกคาม การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยอาจเป็นสัญญานของการตั้งครรภ์ที่รกของเด็กมีการฝังตัวเจาะเข้าไปในเส้นเลือดแม่ ทำให้มีเลือดออกในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีประจำเดือน แต่ในเดือนที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ไม่ควรจะพบเหตุการณ์เช่นนั้นอีกเพราะมันอาจหมายถึงว่ามีการฉีกขาดของเส้นเลือดที่เชื่อมต่อถึงกัน ระหว่างแม่กับลูกจากการกระทบกระเทือน ซึ่งการกระทบกระเทือนนี้อาจเกิดจากคุณแม่ที่ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์จึงได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย หรือมีการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่จากการที่คุณแม่มีฮอร์โมนช่วยในการตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้จะทำให้มีเลือดออกและมีการแท้งตามมา การที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกันได้อีกทาง เพราะคุณหมอจะให้ยาฮอร์โมนเสริมในกรณีที่คุณแม่มีฮอร์โมนน้อย แต่ถ้าการมีเลือดออกได้เกิดขึ้นแล้วให้คุณแม่สังเกตสี ปริมาณ และอาการที่เกิดขึ้น เช่นเลือดออกเป็นสีแดงสดและมีปริมาณมากไหลออกมาทางช่องคลอด และคุณแม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วยคุณแม่ต้องรีบโทรหาคุณหมอหรือไปโรงพยาบาลทันที
    2. อารมณ์แปรปรวน คุณแม่อาจค้นพบว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหว กังวล ซึมเศร้า สับสน หรือกลัว นั่นเป็นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ เพียงแต่ให้คุณแม่รับทราบเอาไว้ว่ามันอาจเกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องปกติ
    3. ภูมิแพ้ กลายเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตของเด็กๆ ซึ่งมีบ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจมีอาการเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว และส่งต่อถึงลูกได้ เช่น ไอจามเป็นชุด คัดจมูก นอนกรน ลองสังเกตตัวเองหรือ คลิกทดสอบความเสี่ยงภูมิแพ้ ที่คุณแม่ทำได้เองง่ายๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เพื่อรู้ว่าลูกอาจเป็นภูมิแพ้หรือไม่ให้ไวที่สุด จะได้หาทางปกป้องลูกหรือรับมือได้อย่างถูกต้อง

บทบาทคุณพ่อมือใหม่ขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ 1  เดือน

จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ทั้งดีใจ ตื่นเต้น ไม่มั่นใจว่าเด็กเกิดมาจะเลี้ยงเป็นหรือไม่ ใครเป็นเลี้ยง เป็นต้น คุณแม่ควรปรึกษากับพ่อบ้านในเรื่องต่างๆที่สงสัย

เลือกอ่านอายุครรภ์อื่นๆ โดยการคลิกที่ตัวเลขค่ะ 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team