คันปากช่องคลอด
.
.
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาของผู้หญิงที่พบได้บ่อยกับทุกคนเลยก็ว่าได้กับอาการ คันปากช่องคลอด ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนอาจจะมองว่าไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก แต่กลับทำให้เกิดความรำคาญหรือรู้สึกหงุดหงิดมากกว่า สำหรับสาเหตุของการ คันนั้นก็จะมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน รวมถึงอาจมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็เป็นไปได้ จึงไม่อยากให้สาว ๆ มองข้ามเรื่องนี้และควรพบแพทย์ทันทีจะดีกว่าเมื่อมีอาการ เพราะนี่ถือเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงและไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าอาย แต่หากใครที่ยังกังวล วันนี้เราจะพาคุณไปดูสาเหตุของอาการคัน วิธีการดูแล และการป้องกัน ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้รู้ถึงแนวทางการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง
คันปากช่องคลอด เกิดจากอะไร
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าอาการ คันปากช่องคลอด นั้นมีสาเหตุดมาจากหลายสิ่งด้วยกัน ซึ่งในแต่ละคนนั้นมักจะมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันออกไป โดยที่มักจะพบได้บ่อยมีดังนี้
- การติดเชื้อรา เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับผู้หญิงทุกคนแม้กระทั่งในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อราในช่องคลอดที่มีมากกว่าปกติ ส่งผลทำให้เกิดอาการคัน แสบร้อน และในบางรายก็จะมีตกขาว ที่มีลักษณะเป็นก้อนไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งอาจจะเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทั้งนี้การใช้ยาดังกล่าวยังสามารถทำลายแบคทีเรียที่ดีต่อการควบคุมของเชื้อราในช่องคลอดได้ด้วย
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกันก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ คันช่องคลอด ได้เช่นกัน อย่างเช่น การติดเชื้อทริโคโมแนส หนองในแท้ หนองในเทียม หูด หรือเริมที่อวัยวะเพศ สิ่งเหล่าล้วนนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการ คันปากช่องคลอด ได้ และนอกจากนี้ก็ยังมีอาการอื่นที่นอกจากอาการคันร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตกขาว มีกลิ่นเหม็น ปวดแสบขณะปัสสาวะ
อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการ คันปากช่องคลอด หากถามว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่นั้น คำตอบคือ ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ในกรณีที่คุณไม่รับการรักษาให้ถูกวิธีและยังรักษาไม่หายขาด เด็กก็อาจจะมีโอกาสติดเชื้อราจากการคลอดได้ ทำให้เป็นฝ้าสีขาวข้น ที่ลิ้น กระพุงแก้ม และเพดานของทารกได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการ คันช่องคลอด ควรพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาและรับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วจะดีกว่าและไม่ควรปล่อยไว้นาน ๆ เพราะอาจะทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้นั่นเอง ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั่นเอง
ดูแลรักษาอย่างไรเมื่อมีอาการคัน
คันปากช่องคลอด ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนก็จริง แต่ก็เป็นอาการที่เราสามารถดูแลได้เมื่อมีอาการคัน โดยการดูแลรักษาเมื่อมีอาการคันสามารถทำได้ดังนี้
- ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำอุ่น และเลือกใช้ปลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนต่อผิว แต่ไม่ควรล้างทำความสะอาดมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน เนื่องจากอาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้
- รับประทานโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อราในช่องคลอดที่เพิ่มมากขึ้น และยังช่วยให้อาการ คันปากช่องคลอด ลดลงทำให้มีอาการคันน้อยลงอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่กำลังมีอาการคันเพราะอาจเสี่ยงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ให้รอจนกว่าอาการคันจะลดลง หรือจนกว่าอาการคันจะหายไปดีกว่า
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัย กระดาษชำระ สบู่ หรือครีมอาบน้ำ หรือโฟมทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำหอม เนื่องจากจะทำให้ยิ่งมีอาการคที่มากกว่าเดิม และอาจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
- เมื่อมีอาการ คันปากช่องคลอด ไม่ควรเกา เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ และเกิดการติดเชื้อรุนแรงได้อีกด้วย
วิธีการป้องกัน ทำได้อย่างไร
อาการ คันปากช่องคลอด เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ
- ไม่ใช่ของส่วนตัวร่มกับผู้อื่น เช่น กางเกงใน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
- ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันได้
- ในช่วงที่มีประจำเดือนควรหมั่นทำความสะอาดช่องคลอดให้สะอาด และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก ๆ 4 ชั่วโมง
- ก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ควรความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำสะอาด
- หากมีอาการคันจุดซ่อนเร้น และมีตกขาวผิดปกติและไม่สามารถหายเป็นปกติได้เอง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันที
- เลือกชุดชั้นในที่บางสามารถระบายได้ดี เพื่อลดการอับชื้น
ก็ได้รู้จักกันไปแล้วกับอาการ คันปากช่องคลอด อาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นหากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าผิดปกติ หรือมีความเสี่ยงอื่น ๆ ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีจะดีกว่า เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังนั้นเอง และเมื่อเราได้ทรายถึงสาเหตุของการเกิดที่แท้จริงแล้ว เราจะได้สามารถป้องกันและดูแลได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
.บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. เชื้อราในช่องคลอด เกิดง่ายหายยากผู้หญิงต้องอ่าน
2. ตรวจช่องคลอด เจ็บไหม? ทำไมคุณแม่หลังคลอดต้องตรวจ
3. เชื้อราในช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องตรวจรักษาอย่างไร
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team