เจ็บเต้าสองข้าง เกิดจากอะไร? ปัญหาที่แม่ให้นมลูกมักต้องเจอ

26 March 2022
1529 view

เจ็บเต้าสองข้าง

.

.

เชื่อว่าคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่น่าจะเคยเจออาการเจ็บเต้านมด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะในช่วง 1 – 3 เดือนแรกของการให้นมบุตร โดยอาการเจ็บเต้านมเป็นอาการที่ไม่ได้รุนแรงอะไร แต่ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งคุณแม่หลังคลอดที่มีอาการ เจ็บเต้าสองข้าง นั้นเกิดจากอะไร และจะสามารถให้นมลูกได้ปกติหรือไม่ เรามีข้อมูลมาบอกให้รู้กันแล้ว

เจ็บเต้าสองข้าง เกิดจากสาเหตุอะไร

เจ็บเต้านมหลังคลอด ถือเป็นอาการหนึ่งที่คุณแม่ให้นมลูกส่วนใหญ่มักจะพบเจอ โดยเฉพาะในช่วง 6 – 12 สัปดาห์หลังคลอด โดยอาการ เจ็บเต้าสองข้าง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย

1. เจ็บเต้าจากการคัดตึง

อาการ เจ็บเต้าสองข้าง หลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัดตึงบริเวณเต้าทั้งสองข้างถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากหลังคลอดเต้านมมีการผลิตน้ำนมมากขึ้น และหากไม่มีการดูดดื่มของเด็กทารก หรือให้ลูกดูดนมน้อยเกินไปก็จะทำให้นมคั่งค้างบริเวณเต้านมทั้งสองข้างเป็นจำนวนมาก และมีอาการคัดตึงเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการนี้ถือเป็นอาการคัดตึงเต้านมทั่วไป สามารถใช้น้ำแข็งมาประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

2. เจ็บเต้านมเนื่องจากการติดเชื้อรา 

คุณแม่หลังคลอดที่มีอาการเจ็บบริเวณเต้านมทั้งสองข้าง จะมีลักษณะที่เจ็บร้าวไปที่เต้านม การเจ็บจะเจ็บแบบจี๊ดๆ ร้าวไปทางด้านหลัง และบริเวณหัวนมก็จะมีตุ่มสะเก็ด หรือมีอาการอักเสบ ซึ่งอาการติดเชื้อแบบนี้มักจะเกิดจากคุณแม่หลังคลอด มีการใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องยาวนาน หรือคุณแม่ที่มีโรคเบาหวาน มีภูมิคุ้มกันสุขภาพต่ำ การรักษาหากมีอาการ เจ็บเต้าสองข้าง ที่เกิดจากเชื้อรา แพทย์จะให้ทานยาฆ่าเชื้อ และยาทาไปที่ปากเด็กทารก อย่างเช่น ยา gentian violet 

3. เจ็บเต้าจากการอุดตันของท่อน้ำนม

การอุดตันท่อน้ำนม หรือก้อนอุดตัน (plugged duct) มักจะพบในคุณแม่ที่มักจะสวมใส่เสื้อยกทรงที่คับแน่นจนเกินไป ซึ่งจะไปขัดขวางการไหลของน้ำนม ทำให้ท่อน้ำนมเกิดการอุดตันเป็นก้อน สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก  โดยบรรเทาอาการเจ็บปวดนี้ได้โดยการประคบร้อนหรือนวดบริเวณที่เจ็บเต้านม 

4. เจ็บเต้าที่เกิดจากการอักเสบ

คุณแม่ที่มีอาการ เจ็บเต้าสองข้าง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการอักเสบของเต้านมจากข้างใน โดยจะมีอาการเต้านมบวม แดง และร้อนมากเมื่อจับหรือคลำดูบริเวณเต้า คุณแม่อาจจะมีอาการไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการเจ็บเต้านมเนื่องจากการอักเสบ สามารถรักษาได้โดยการทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ก็คือเชื้อที่พบบ่อยที่เป็นสาเหตุของการอักเสบนั้นก็คือเชื้อแบคทีเรียผิวหนังจากพวก Staphyolococcus หรือ streptococcus โดยคุณแม่ควรหมั่นรักษาความสะอาดบริเวณเต้านม และทำความสะอาดช่องปากของลูกน้อยจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อดังกล่าวได้

5. เกิดฝีที่เต้านม 

อาการ เจ็บเต้าสองข้าง ที่เกิดจากฝีเต้านม คุณแม่จะมีอาการเจ็บนมคล้ายๆ กับอาการนมอักเสบ แต่เมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนหยุ่นๆ ที่มีลักษณะเหมือนกับฝีบริเวณที่เจ็บและผิวหนังบริเวณที่มีอาการเจ็บก็จะมีสีคล้ำเป็นสีม่วง โดยภาวะเกิดฝีที่เต้านมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก การรักษาจำเป็นจะต้องระบายหนองออกจากเต้านม โดยแพทย์จะทำการรักษาโดยการเจาะระบายหนองออกและให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

คุณแม่จะให้นมลูกอย่างไร เมื่อเจ็บเต้านม

ถึงแม้ว่าคุณแม่จะมีอาการ เจ็บเต้าสองข้าง แต่ก็ยังสามารถให้นมลูกได้ปกติ เว้นแต่ว่าจะมีอาการเจ็บเต้านมอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย ไข้ขึ้นสูง จนไม่สามารถที่จะให้นมลูกได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถใช้การปั๊มนมให้ลูกดื่มแทนได้ แถมการปั๊มนมยังเป็นการช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้า ไม่ให้คั่งค้างเป็นเวลานานๆ หรือหากยังสามารถให้ลูกดื่มนมจากเต้าได้ปกติควรให้ลูกดูดนมข้างที่ไม่เจ็บไปก่อน ให้นมลูกไปพร้อมๆ กับการรักษาจากแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาและให้นมลูกอย่างเหมาะสม

อาการเจ็บเต้านมสองข้างที่มักจะเกิดกับคุณแม่หลังคลอด ถือเป็นหนึ่งอาการที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อันตรายอะไรแต่ก็สร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก โดยคุณแม่สามารถป้องกันอาการ เจ็บเต้าสองข้าง ด้วยการรักษาความสะอาดเต้านมอยู่เสมอ ให้นมลูกด้วยท่าที่เหมาะสม และพยายามให้ลูกดื่มนมหมดเต้าเพื่อไม่ให้คั่งค้าง เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันอาการเจ็บเต้านมได้บ้างแล้ว

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อาการเต้านมอักเสบ เจ็บเต้านม แก้ไขอย่างไร

2. เต้านมอักเสบ ลูกต้องงดเต้า ทำอย่างไรให้หายทันใจลูก

3. เต้านมคัด สาเหตุเต้านมคัด และวิธีรับมือกับอาการเต้านมคัดให้หายทันใจ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team