วัยทองสองขวบ
วัยทองสองขวบ หรือ Terrible Two เป็นช่วงเวลาที่เด็กเกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ เด็กในช่วงวัยนี้จึงมีอารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอารมณ์สองขั้ว มีปฏิกิริยาต่อต้านมากยิ่งขึ้น ไม่ชอบการถูกขัดใจ มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมักจะแสดงอาการขัดขืนเมื่อได้รับคำสั่ง ชอบโวยวายและเรียกร้องความสนใจ คุณแม่จึงต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งวัยทองของเด็กสองขวบจะมีอาการอย่างไร อันตรายหรือไม่ และคุณแม่จะมีวิธีรับมืออย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมมาบอกกันแล้ว
อาการที่แสดงว่าลูกเป็น วัยทองสองขวบ
อาการที่จะแสดงออกสำหรับเด็กที่เป็น วัยทองสองขวบ ในช่วงนี้จะมีอาการที่ค่อนข้างก้าวร้าวรุนแรง เพราะอยู่ในช่วงที่กำลังยืดตัวร่างกายกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทั้งร่างกายและความคิดเกิดภาวะเครียดสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุทำให้แสดงอาการต่างๆ ออกมาดังนี้
- เมื่อได้รับการปฏิเสธหรือมีคนมาออกคำสั่งจะแสดงอาการต่อต้านขัดขืน
- ร้องกรี๊ดโหวกเหวกโวยวายเมื่อมีคนขัดใจหรือถึงขั้นทำร้ายตัวเองจิกผม ทำร้ายพ่อแม่ กัดแขนเพื่อแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
- วัยทองสองขวบ มีความรู้สึกหวงของอย่างมากไม่รู้จักการแบ่งปัน
- มีพฤติกรรมรุนแรงขว้างปาข้าวของ เมื่อไม่ได้ดังใจ
- ไม่ชอบให้ใครมาบังคับขัดใจหรือถูกเรียกว่าเป็นเด็กดื้อ
- มีความเป็นตัวของตัวเองและชอบต่อรองมากขึ้น
วัยทองสองขวบ ส่งผลร้ายแรงหรือไม่
โรค วัยทอง 2 ขวบ (Terrible Tow) ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงมากนักผลวิจัยพบว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กวัย 2 ขวบที่กำลังจะพัฒนาจากวัยเตาะแตะมาสู่วัยที่กำลังหัดเดินหรือโตมากขึ้น จึงทำให้ร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าว โดย วัยทองสองขวบ คือพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร และก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน หากเด็กที่มีภูมิคุ้มกันทางด้านอารมณ์ที่ดีคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดภาวะ Terrible Two ส่วนเด็กที่เป็นโรคนี้พอผ่านช่วงวัยนี้สักพักก็จะหายไปเอง
คุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี
หากพบว่าลูกมีอาการ วัยทองสองขวบ คุณแม่จะต้องรับมือให้ถูกวิธีเพื่อที่ลูกจะได้หายจากอาการนี้ได้เร็วที่สุด สำหรับวิธีรับมือนั้นคุณแม่สามารถทำตามด้วยวิธีดังนี้
1.พยายามใช้เหตุผลมากขึ้น
โดยเด็กที่เป็น วัยทอง 2 ขวบ คุณแม่จะต้องเข้าใจและยอมรับว่าลูกน้อยของคุณแม่นั้น ดื้อ งอแง มีนิสัยต่อต้าน เพราะเป็นช่วงวัยของเขา ให้คุณแม่ใช้เหตุและผลกับลูกเสมอ
2.พยามใช้ความอดทนอดกลั้น
คุณแม่ต้องพยายามอดทนอดกลั้นให้มากที่สุดถึงแม้จะยากเย็นสักแค่ไหนก็ตาม และไม่ควรใช้กำลังหรือตีลูกอย่างเด็ดขาดเพราะจะยิ่งทำให้ลูก วัยทองสองขวบ ก้าวร้าวต่อต้านมากยิ่งขึ้น
3.ใช้อารมณ์ขันเข้าแลก
การจะใช้อารมณ์และทำหน้าจริงจังพูดกับเด็กวัยนี้ไม่ได้ เพราะจะยิ่งทำให้พวกเขาต่อต้าน คุณแม่ควรใช้อารมณ์ขันหรือยิ้มสู้เข้าไว้เมื่อคุณแม่ต้องการจะบอกสอนอะไรกับลูก ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เขาวิ่งหกล้ม หรือเป็นตอนที่ชวนลูกเล่นสนุกๆ
4.หากิจกรรมสนุกๆ ให้ลูกได้ปล่อยพลัง
วัยทอง 2 ขวบ คุณแม่ควรหากิจกรรมสนุกๆ ทำร่วมกันในครอบครัวเพื่อที่ลูกๆ จะได้เล่นสนุกและผ่อนคลาย ช่วยให้ลูกได้ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น เพราะการได้ทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกันทั้งครอบครัว ลูกได้เห็นรอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่ก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม และได้ปลดปล่อยพลังอย่างเต็มที่
5.เปลี่ยนจากห้ามเป็นให้ทำ
หากคุณแม่ต้องการให้ลูกหยุดเล่นน้ำ เปลี่ยนจากคำพูดที่ว่าห้ามเล่นน้ำ มาเป็นบอกให้ลูกปิดน้ำแทนและบอกเหตุผลด้วยว่าถ้าเล่นน้ำมากเกินไปจะทำให้ลูกไม่สบายเป็นไข้หวัดหรือปอดบวมได้ ให้บอกลูกด้วยเหตุผล
6.เบี่ยงเบนความสนใจ
คุณแม่พยายามสังเกตว่าถ้าลูกทำอะไรอยู่และสิ่งไหนทำให้หงุดหงิดใจ ก็พยายามหาสิ่งอื่นให้ทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจก่อนที่ลูกจะอารมณ์เสีย
7.ยื่นข้อเสนอให้เลือก
วัยทองสองขวบ จะมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจเหนือสิ่งอื่นใด การที่จะพูดให้ลูกเข้าใจเลยเป็นเรื่องที่ยาก บางครั้งคุณแม่ต้องการให้ลูกทำอะไรก็ต้องมีข้อเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเสมอ การจะไปพูดหรือบังคับให้ทำตามเลยเป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้นจะต้องค่อยพูดค่อยยื่นข้อเสนอกับเด็กวัยนี้
8.ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่
หลายคนชอบสอนลูกให้อยู่ในระเบียบมากจนเกินไป อย่างเช่น เวลาทำอะไรผิดก็มักจะให้เข้ามุมเพื่อสำนึกผิดทิ้งให้เขาสงบสติอยู่ลำพัง แทนที่จะทำแบบนั้นลองเปลี่ยนมาเป็นให้คุณแม่อยู่กับเขาตลอดเวลาและบอกสอนเขาด้วยเหตุผลเพื่อให้เขาสงบลง ช่วยปลอบให้ลูกอารมณ์เย็นขึ้นด้วยความรักความเข้าใจนั่นเอง
เด็กที่อยู่ในช่วง วัยทองสองขวบ เป็นช่วงเวลาที่เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ในช่วงวัยนี้ลูกจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอารมณ์สองขั้ว คุณแม่จะต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุดอดทนอดกลั้นเข้าไว้เพื่อให้ลูกสามารถผ่านช่วงวัยนี้ไปให้ได้
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ข้อควรรู้สำหรับการทำโทษลูกด้วยการตี
2. 10 กิจกรรมยอดฮิต ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้สมวัย
3. 7 ข้อสำคัญในการเลี้ยงลูก ไม่ให้เป็นเด็กขาดความอบอุ่น
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team