ลดปัญหาลูกท้องผูก งอแงเลี้ยงยากด้วยใยอาหาร

11 September 2019
2938 view

ปัญหาท้องผูกของลูก เชื่อว่าแม่ๆ ทุกบ้านต้องเจอกับปัญหานี้ นอกจากจะสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่แล้ว อาการท้องผูกยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกด้านต่างๆ ได้ คุณแม่ส่วนใหญ่เลือกใยอาหารเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ใยอาหารแบบไหนล่ะที่ตอบโจทย์ ลดปัญหาท้องผูกในลูกน้อยได้จริง มาเจาะลึกเรื่องนี้กับ Mamaexpert กันค่ะ

แม่ๆ รู้ยังว่าใยอาหารสำคัญมากแค่ไหน?

ใยอาหารมีความสำคัญและมีประโยชน์กับร่างกาย ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี เรียกได้ว่าใยอาหารนั้นมีประโยชน์และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย ดีขนาดนี้มาดูกันค่ะว่าใยอาหารมีอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง

ใยอาหารมีในอาหารประเภทไหน...แม่ๆ ต้องรู้?

ใยอาหารมีอยู่ในอาหารแต่ละมื้อของคนไทย เพราะใยอาหาร คือ ส่วนประกอบที่เป็นกากอาหารของพืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งธัญพืชและเมล็ดพันธุ์ต่างๆ(1) และพบได้ในนมแพะ ซึ่งเป็นใยอาหารชนิด โอลิโกแซคคาไรด์ เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในทางเดินอาหาร จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และลดปัญหาท้องผูกอีกด้วย หากต้องการรับประทานใยอาหาร ก็สามารถหาได้ตามนี้ค่ะ

  • ผักต่างๆ เช่น ผักหวาน คะน้า ตำลึง ฟักทอง ผักกาดขาว และที่สำคัญผักหวานเป็นผักที่มีใยอาหารสูง โดยมีมากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม(2)
  • ผลไม้ เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล พุทรา ส้ม สับปะรด และควรทานผลสดๆ เพื่อให้ได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ดี
  • ธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ข้าวเจ้า โดยเฉพาะข้าวกล้องเป็นข้าวที่มีใยอาหารสูง
  • ถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน ถั่วแดง ถั่วเขียว เม็ดแมงลัก เป็นต้น
  • นม เช่น นมแม่ นมแพะ เป็นต้น

ใยอาหารที่กล่าวมานั้นเป็นทั้งใยอาหารที่ละลายในน้ำและไม่ละลายในน้ำ เพื่อความสมดุลของสำไส้ ระบบขับถ่ายที่ดี คุณแม่ควรให้ลูกรับประทานใยอาหารให้ครบและหลากหลาย แต่เนื่องจากระบบย่อยอาหารและฟันที่ใช้เคี้ยวอาหารของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นแล้วใยอาหารของเด็กแต่ละช่วงวัยก็แตกต่างตามไปด้วย

แหล่งใยอาหารของเด็กแต่ละช่วงวัย ได้จากไหนกัน!!!

อย่างที่ทราบกันแล้วว่าเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายแตกต่างกัน แหล่งใยอาหารของเด็กแต่ละช่วงวัยก็จะต่างกัน ตามนี้ค่ะ

  • วัยแรกเกิด - 6 เดือน เด็กในวัยนี้ได้รับใยอาหารจากนม ซึ่งใยอาหารในนมแม่มีใยอาหารชนิดละลายน้ํามากกว่า 150 ชนิด(3) เรียกได้ว่าเพียงแค่ดื่มนมแม่ก็ได้ใยอาหารครบ แถมยังขับถ่ายได้ง่าย ไร้ปัญหาท้องอืดอีกด้วย
  • 6 เดือน - 12 เดือน นอกจากเด็กจะได้รับใยอาหารจากการดื่มนมแล้ว ยังได้รับจากอาหารที่รับประทานอีกด้วย ซึ่งอาหารของเด็ก 6 - 12 เดือน ควรเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่าย บดละเอียดตามช่วงวัย และมีใยอาหาร เช่น เพิ่มผักเข้าไปในอาหารแต่ละมื้อ หรือให้รับประทานผลไม้ที่เนื้อนุ่ม ย่อยง่าย เป็นของว่างรับประทานเล่นในช่วงหัดเคี้ยว เช่น มะละกอสุก แอปเปิ้ล เป็นต้น
  • 12 เดือนขึ้นไป เด็กยังได้รับใยอาหารจากการดื่มนม และได้รับใยอาหารจากอาหารที่หลากหลาย เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยหยิบจับ เคี้ยว กลืนได้คล่อง จึงทำให้สามารถรับประทานอาหารและได้รับใยอาหารหลากหลายตามไปด้วย เช่น ผัก ผลไม้ หรือเมนูซาลาเปาผักยัดไส้กุ้งสับ ผักลวกจิ้มกับผงธัญพืช แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ ข้าวผัดสับปะรด เป็นต้น

เห็นไหมคะว่าใยอาหารของเด็กแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกัน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการให้ลูกดื่มนมที่มีใยอาหารควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร ในกรณีที่คุณแม่ มองหานมเสริมให้กับลูก ควรเลือกนมที่มีใยอาหาร อย่างการดื่มนมแพะ เพราะในนมแพะมีใยอาหาร 2 ชนิด อินนูลิน (Inulin) และ โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งใยอาหารทั้ง 2 ชนิดมีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อโรค การอักเสบ รวมทั้งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดปัญหาท้องผูกให้กับลูกน้อยได้ และที่สำคัญอินนูลิน (Inulin) ช่วยลดไขมันในเด็กที่เป็นโรคอ้วน(4) ได้อีกด้วย

เห็นไหมคะว่าใยอาหารนั้นมีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารของลูกอย่างมาก นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูก ลดการติดเชื้อ การอักเสบในระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับลูกอีกด้วย ในวันที่คุณแม่ต้องเลือกนมให้กับลูก Mamaexpert แนะนำ DG3 Advance Gold มีการผสมใยอาหาร 2 ชนิด อินนูลิน (Inulin) และ โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ไว้เป็นตัวช่วยสยบปัญหาลูกท้องผูก ลูกงอแงเลี้ยงยากให้อารมณ์ดีได้อย่างแน่นอนค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง

  1. ศรีวรรณ ทองแพง.ศูนย์เบาหวานศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.ใยอาหารสำคัญอย่างไรกับร่างกาย.เข้าได้ถึงจาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/6_44_1.pdf.[ค้นคว้าเมื่อ 14 สิงหาคม 2562]
  2. ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์.Dietary fiber / เส้นใยอาหาร.เข้าถึงได้จาก http://pesc.pw/KX9Y5.[ค้นคว้าเมื่อ 14 สิงหาคม 2562]
  3. ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ.ใยอาหาร.เข้าถึงได้จาก http://pesc.pw/KJKQJ.[ค้นคว้าเมื่อ 14 สิงหาคม 2562]
  4. INULIN.เข้าถึงได้จาก https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1048/inulin.[ค้นคว้าเมื่อ 14 สิงหาคม 2562]