ภูมิแพ้อากาศในเด็กไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แม่ๆ อย่าปล่อยผ่าน!!!

05 September 2019
2456 view

ฮัดชิ่ว!!! เสียงจามของลูก ทำแม่ๆ กังวลใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ยิ่งลูกจามบ่อยๆ ไม่หายสักที แบบนี้ยิ่งทำให้แม่กังวลใจมากขึ้นไปอีก Mamaexpert ชวนคุณแม่มาเช็กอาการของลูกกันว่าที่ลูกจามบ่อยๆ นั้นใช่ภูมิแพ้อากาศหรือไม่ พร้อมกับสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้อากาศในเด็กและวิธีการรักษา ตามมาค่ะ 

ภูมิแพ้อากาศในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่เกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้

ภูมิแพ้อากาศในเด็ก หรือเรียกว่า “โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้” เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่จะแตกต่างกันไป บางคนมีโอกาสเป็นได้มาก บางคนก็เป็นได้น้อย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กเกิดภูมิแพ้อากาศ ได้แก่

1. พันธุกรรม เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้อากาศ เพราะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนี้

  • พ่อกับแม่เป็นภูมิแพ้ชนิดเดียวกัน จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นประมาณร้อยละ 75(1)
  • พ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นประมาณร้อยละ 50(1)  
  • พ่อหรือแม่เป็นภูมิแพ้ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นประมาณร้อยละ 25(1)

แต่หากพ่อกับแม่ไม่เป็นภูมิแพ้ ใช่ว่าลูกจะไม่เป็นภูมิแพ้เลยนะคะ เพราะลูกก็มีโอกาสเป็นร้อยละ 13 เช่นกัน

2. ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สารก่อภูมิแพ้ เป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นภูมิแพ้เกิดการตอบสนองต่อการแพ้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสารก่อภูมิแพ้นั้นอาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจ การรับประทาน รวมทั้งการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ตัวไรในฝุ่นบ้าน ขนของสัตว์ เชื้อราในอากาศ ละอองหรือเกสรดอกไม้ เป็นต้น 
  • ปัจจัยด้านอื่นๆ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้มากขึ้น ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล สุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มลพิษทางอากาศ และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ(1)

พันธุกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดได้หรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้านสิ่งแวดล้อมเราสามารถหลีกเลี่ยงได้ คือการเฝ้าระวัง ป้องกันและสังเกตอาการต่างๆ ของภูมิแพ้อากาศในเด็ก เพื่อรับมือได้ทันท่วงที

5 สัญญาณเตือนภูมิแพ้อากาศในเด็ก

หากเด็กเริ่มเป็นภูมิแพ้อากาศจะเริ่มแสดงอาการ หรือความผิดปกติกับร่างกาย ดังนี้

  1. คันในจมูก 
  2. คัดจมูก หรือจมูกไม่สามารถได้กลิ่นต่างๆ
  3. จามบ่อยๆ หรือจามติดกันหลายครั้ง 
  4. มีน้ำมูกใส หรือมีเสมหะไหลลงคอ
  5. คันตา คอ หู หรือที่เพดานปาก(1) 

หากลูกมีอาการดังกล่าวเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และเป็นมากในช่วงเช้าหรือกลางคืน คุณแม่สงสัยได้เลยว่าลูกอาจเป็นภูมิแพ้อากาศ และที่สำคัญรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป

ภูมิแพ้อากาศในเด็ก เป็นแล้วรักษาอย่างไร

ภูมิแพ้อากาศในเด็ก เป็นโรคที่สามารถรักษาและลดความเสี่ยงต่อชีวิตได้  โดยการควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม การรักษาด้วยยา ฉีดวัคซีน และการผ่าตัด

  • ควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อมหรือหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นให้เกิดการแพ้ เช่น หลีกเลี่ยงจากฝุ่น ควัน ทำความสะอาดที่นอน เครื่องใช้ในบ้านให้สะอาดไร้ฝุ่น ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขน ก่อให้เกิดการแพ้ไม่ว่าจะเป็น แมว สุนัข 
  • รักษาด้วยยา เป็นการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ยาต้านฮิสทามีน เป็นต้น
  • การฉีดวัคซีน จะฉีดในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือได้รับผลข้างเคียงจากตัวยา 
  • การผ่าตัด ใช้กับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล(1) รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีโรคอื่นร่วมด้วย 

การรักษาภูมิแพ้อากาศในเด็กจะได้ผลดีนั้น ส่วนหนึ่งย่อมมาจากคนในครอบครัวที่ต้องช่วยกันและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศของลูกได้ด้วยการล้างจมูก

รู้ไหมการล้างจมูกช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศในเด็กได้

การล้างจมูกเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคภายในจมูกให้ลดลง รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ซึ่งวิธีการล้างจมูกของเด็กแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันตามนี้ค่ะ

  • เด็กแรกเกิด - 6 เดือน คุณแม่ต้องห่อตัวลูกไว้ เพื่อไม่ให้ลูกดิ้น จากนั้นอุ้มลูกหรือให้นอนโดยให้ศีรษะสูงเล็กน้อย ใช้น้ำเกลือหยดเข้าจมูก 2-3 หยด ให้น้ำมูกอ่อนตัว แล้วใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกมา วิธีนี้ใช้ในกรณีที่เด็กมีน้ำมูกไม่มาก แต่หากลูกมีน้ำมูกมากแนะนำให้พบแพทย์นะคะ
  • เด็ก 6 เดือนขึ้นไป ประคองลูกนั่ง โน้มหน้าลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย หรืออุ้มลูกในท่าคว่ำ พร้อมประคองหน้าลูกให้นิ่ง จากนั้นใช้ไซริงค์ขนาด 10 ซีซี ดูดน้ำเกลือฉีดเข้ารูจมูกลูก โดยฉีดให้หมดในครั้งเดียว 
  • เด็กโตหรือเด็กที่กลั้นหายใจเป็นแล้ว จัดให้ลูกนั่งในท่าที่สบาย ก้มหน้าลงเล็กน้อย ใช้ไซริงค์ขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือ และฉีดเข้าจมูกให้หมดในครั้งเดียวโดยให้ลูกกลั้นให้หายใจ แล้วให้ลูกสั่งน้ำมูกออกมา จากนั้นฉีดน้ำเกลือเข้าจมูก ทำจนกว่าน้ำมูกจะใส  

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าการล้างจมูกเป็นวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศในเด็กได้ และคุณแม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่อุปกรณ์ที่กล่าวไปนั้นอาจไม่สะดวกต่อการพกพา จะดีกว่าไหมถ้าใช้อุปกรณ์ล้างจมูกที่พกพาง่าย สะดวกสบายทุกที่ ทุกเวลาอย่าง Hashi Plus  

Hashi Plus เป็นอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดโพรงจมูก ที่พัฒนามาให้ใช้งานได้ง่าย สะอาด ปลอดภัย มีน้ำหนักเบาพกพาไปได้ทุกที่ Hashi Plus ประกอบด้วย

  • ฝาปิด ไว้สำหรับปิดขวดเพื่อความสะอาดและปลอดภัย 
  • หัวกระจายน้ำแบบ 5 ทิศทาง ถูกดีไซน์ให้มีลักษณะโค้งมนและแนบกับรูจมูกได้ดี ช่วยให้น้ำเกลือกระจายไปทั่วโพรงจมูก 
  • ท่อพลาสติก เป็นอุปกรณ์เสริม สามารถถอดเข้า ถอดออกได้ง่าย เพียงแค่ต่อเข้ากับจุกในจะช่วยให้การล้างจมูกแบบแนวตั้งสะดวกมากขึ้น
  • ขวดฮาชชิ ถูกออกแบบมาให้จับถนัดมือ ขณะล้างจมูกทำให้เราสามารถควบคุมแรงดันน้ำภายในขวดได้ดี และล้างจมูกได้อย่างต่อเนื่อง
  • เกลือฮาชชิสูตรอ่อนโยน (Hashi Salt Gentle) ซึ่งเกลือฮาชชินั้นแตกต่างจากเกลือทั่วไป คือเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ผงเล็กละเอียด ละลายในน้ำได้ง่าย และมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับของเหลวในร่างกาย (Isotonic) ทำให้ไม่แสบหรือระคายเคืองโพรงจมูก

Hashi Plus สามารถใช้ได้กับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ใช้งานง่ายเพียงแค่เทเกลือลงในขวด เติมน้ำเขย่าขวดให้เกลือละลาย จากนั้นก็นำไปล้างจมูกได้ นอกจาก Hashi Plus จะเหมาะกับคนที่เป็นหวัด เป็นภูมิแพ้แล้วยังเหมาะกับคนที่เจอมลพิษ เจอฝุ่นละอองทางอากาศ รวมทั้งคนที่ใช้ยาพ่นจมูก ยาหยอดจมูกเป็นประจำอีกด้วย

ถึงแม้ภูมิแพ้อากาศในเด็กจะสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม แต่ก็สามารถรักษาและช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศของลูกให้ดีขึ้นได้ด้วยการล้างจมูก และเพื่อการล้างจมูกที่ง่ายและได้ผล Mamaexpert แนะนำ Hashi Plus อุปกรณ์ล้างจมูกที่พกพาง่าย สะอาดและปลอดภัย ไว้ช่วยลดปัญหาภูมิแพ้อากาศให้กับลูกน้อยนะคะ

สามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

FB : Hashi.Clear, IG : Hashi_official, Website : www.hashi.co.th

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 
อ้างอิง

  1. รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน.ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.แนวทางการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในปัจจุบัน.เข้าถึงได้จาก http://www.rcot.org/2016/People/Detail/227.[ค้นคว้าเมื่อ 28 สิงหาคม 2562]
  2. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร.รายการพบหมอรามาI Rama Care I ล้างจมูกเด็ก I 12 มี.ค. 58 (3/4).เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=jWASbElCsXM.[ค้นคว้าเมื่อ 19 สิงหาคม 2562]
  3. โรคจมูกอักเสบชนิดแพ้ (Allergic rhinitis).เข้าถึงได้จาก http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/672/Allergicrhinitis.[ค้นคว้าเมื่อ 29 สิงหาคม 2562]
  4. All About Allergies.เข้าถึงได้จาก https://kidshealth.org/en/parents/allergy.html.[ค้นคว้าเมื่อ 19 สิงหาคม 2562]