ท้องเสียในเด็ก เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม!!!

01 August 2019
7116 view

การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นในทุกวินาที เริ่มตั้งแต่แรกเกิดหรือแม้แต่วัยอนุบาล เด็กก็ยังมีการเรียนรู้อยู่เสมอ แต่บางครั้งการเรียนรู้ก็มาพร้อมกับโรคท้องเสีย ซึ่ง นพ.ดนัย ธีวันดา ได้กล่าวไว้ว่ากลุ่มที่เสี่ยงเกิดท้องเสียมากที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ(1) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคุณแม่จะรับมืออย่างไร เมื่อพัฒนาการของลูกอาจสะดุด มาค่ะ Mamaexpert มาช่วยไขความสงสัยพร้อมกับวิธีรับมือกับเชื้อโรคตัวร้าย ที่ทำให้ลูกท้องเสียและวิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกรัก มาฝากทุกบ้านตามมาสิคะ  

ท้องเสียในเด็ก เรื่องเล็กๆ ที่เกิดขึ้นได้จากสาเหตุนี้

อาการท้องเสียในเด็กเป็นเรื่องกังวลใจของพ่อแม่อย่างมากเลยใช่ไหมคะ และสาเหตุหลักๆ ของอาการท้องเสียบ่อยๆ ในเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 1 ปี พบว่าประมาณ 70% เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย(2) โดยการหยิบจับสิ่งของ ยิ่งเด็กอยู่ในช่วงวัยคืบคลาน หัดหยิบจับสิ่งของ ชอบเลีย ชอบกัด หรือทำกิจกรรมที่มีการสัมผัสสิ่งต่างๆ ยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เพราะเชื้อโรคจะเข้าทางปากได้ และเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงและทำให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้น แต่อย่ากังวลไปนะคะ เพราะอาการท้องเสียนั้นสามารถป้องกันได้

ท้องเสียในเด็ก ป้องกันได้ ไม่ยากเลย

การป้องกันที่ดีวิธีหนึ่งคือ #ปกป้องลูกน้อยด้วยภูมิคุ้มกันอย่าง จุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG และ Prebio 1 (พรีไบโอวัน) ซึ่งคือใยอาหารที่มาจากธรรมชาติโอลิโกฟรุกโตสและอินนูลิน #LGG คือจุลินทรีย์ในน้ำนมแม่ เป็น “โพรไบโอติกส์” ซึ่งโพรไบโอติกส์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น(3) ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเสีย ทำให้ลำไส้ดี รวมทั้งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่วน #Prebio1 (พรีไบโอวัน) ซึ่งคือใยอาหารที่มาจากธรรมชาติโอลิโกฟรุกโตสและอินนูลินนั้นเป็นพรีไบโอติกส์มีส่วนช่วยลดอาการท้องผูก ช่วยกระตุ้นให้โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อจุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG และ Prebio1 (พรีไบโอวัน) มาทำงานร่วมกันจึงช่วยให้ลูกน้อยสบายท้องขึ้น และจากการศึกษายังพบว่านอกจาก #LGG จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินอาหารแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินหายใจ(4) อีกด้วย เห็นแบบนี้แล้วสบายใจได้เลยค่ะว่า LGG และ Prebio1 (พรีไบโอวัน) คือสารอาหารที่ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินอาหารสำหรับเด็ก ลูกท้องเสียน้อยลงแน่นอนค่ะ

ท้องเสียในเด็กเป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบ #ปกป้องลูกน้อยด้วยภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG และ Prebio1 (พรีไบโอวัน) ด้วยการเลือกนมที่มี #LGG และ #Prebio1 (พรีไบโอวัน) เพราะ LGG และ Prebio1 (พรีไบโอวัน) คือสารอาหารที่ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินอาหารสำหรับเด็ก นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถป้องกันลูกท้องเสียได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น

  • ทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้าน หรือของเล่นลูกให้สะอาดอยู่เสมอ 
  • หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดให้ลูกบ่อยๆ รวมทั้งพ่อแม่ด้วยเช่นกัน

แต่หากป้องกันลูกน้อยอย่างดีแล้ว ลูกยังท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจนะคะ เพราะอาการท้องเสียนั้นรักษาได้ด้วยวิธีง่ายๆ 

วิธีดูแลเด็กท้องเสีย วิธีง่ายๆ ที่พ่อแม่ทำได้

เด็กท้องเสียควรทำอย่างไร? เป็นคำถามที่พ่อแม่ต่างอยากรู้ ซึ่งวิธีดูแลเด็กท้องเสียนั้นไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ยาหยุดถ่ายเพราะจะเกิดการสะสมของเชื้อโรคและสารพิษ ทำให้มีการกระจายของเชื้อออกนอกลำไส้(2) และทำให้ลำไส้ไม่ทำงาน เกิดอาการท้องอืดได้ ในเด็กที่ดื่มนมแม่ควรให้ลูกดื่มนมให้บ่อยๆ หรือให้มากกว่าปกติ ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมก็ให้ดื่มได้ตามปกติค่ะ แต่หากเป็นเด็กโตต้องให้ทานอาหารอ่อนๆ อาหารที่ย่อยได้ง่าย ให้ทานบ่อยๆ ขึ้น และที่ขาดไม่ได้คือให้ลูกดื่มเกลือแร่

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังไว้นะคะ เพราะหากลูกมีอาการท้องอืด ท้องผูก หายใจหอบ ดื่มน้ำเกลือแร่แล้วยังดูซึม อ่อนเพลีย มีไข้สูงหรือชัก เป็นหวัด มีไอร่วมด้วย ทานอาหารหรือดื่มนมได้น้อย ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 10 ครั้งใน 1 วัน(2) หรือถ่ายเหลวจนก้นแดง อาเจียนบ่อย จนร่างกายขาดน้ำและไม่สามารถดื่มน้ำเกลือแร่เข้าไปชดเชยได้อย่างเพียงพอ จะทำให้เกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง และอาจทำให้เกิดภาวะช็อก หากแก้ไขไม่ทันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้(5) ดังนั้นหากลูกมีอาการตามที่กล่าวมาต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

เห็นไหมคะว่าเด็กท้องเสียไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่ที่พ่อแม่ต้องดูแลและป้องกันลูก ซึ่งยาแก้ท้องเสียที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันนะคะ เพราะรักของแม่คือ #LoveBestProtect แล้วกลับมาพบกับสาระดีๆ จาก Mamaexpert ในโอกาสหน้าค่ะ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง : 

  1. ระวัง โรคท้องร่วง.เข้าถึงได้จาก http://pesc.pw/GKUKM.[ค้นคว้าเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562]
  2. ผศ.พญ.นิยะดา วิทยาศัย.โรคท้องเสียในเด็ก.เข้าถึงได้จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161218145400.pdf.[ค้นคว้าเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562]
  3. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข.4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์.เข้าถึงได้จาก http://pesc.pw/HD29E.[ค้นคว้าเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562]
  4. Hojsak, Iva, et al.Lactobacillus GG in the prevention of nosocomial gastrointestinal and respiratory tract infections.เข้าถึงได้จาก http://pesc.pw/GSVES.[ค้นคว้าเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562]
  5. ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ.ท้องเสีย เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา.เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1311.[ค้นคว้าเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562]
  6. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร?.เข้าถึงได้จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics.[ค้นคว้าเมื่อ 19 กรกฎาคม 2562]