1,000 วันแรก กับ พัฒนาการทางสมอง ของลูกรัก

13 January 2014
1862 view
1,000 วันแรกของชีวิตลูกนั้น เริ่มนับตั้งแต่ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จนถึงอายุ 2 ขวบปีโดยช่วงการตั้งครรภ์นับจากวันแรกที่ปฏิสนธิไปจนถึงคลอดรวม 270 วัน จากนั้นอีก 730 วันต่อมานับจากวันแรกที่ลูกเกิดจนถึงวันที่ลูกมีอายุครบ 2 ขวบปีซึ่งในช่วงเวลาทองแห่งการสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของสมองคือช่วง 1,000 วันแรกที่เป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของลูกเพราะการเจริญเติบโตของสมอง ส่วนการเรียนรู้ ความจำ พัฒนาอย่างรวดเร็วสูงสุดใน 1,000วันนี้ หาก คุณแม่ลองสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลา 1,000 วัน ที่คุณแม่ตั้งครรภ์จวบจนลูกค่อย ๆ เติบโต ความเปลี่ยนแปลงของพัฒนารอบด้านของลูกไม่ว่าจะเป็นร่างกายสติปัญญา ความฉลาด และพัฒนาการต่างๆ ลูกสามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆได้มากยิ่งขึ้น เช่น การหยิบจับ หัดเดิน เคี้ยวอาหาร นั่นคือสิ่งเล็ก ๆ ที่ช่วยสะท้อนถึงการใส่ใจดูแลและขีดความสามารถของเด็กแต่ละคน

ความสำคัญของ 1,000 วันแรกกับพัฒนาการสมอง
 
นับ ตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิต สมองของเด็กทุกคนจะมีการเพิ่มเซลล์สมองมากขึ้นควบคู่ไปกับการสร้างเส้นใย ประสาทอย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กอายุครบ 1,000 วันสมองจะมีขนาดใหญ่ถึง 80% ของสมองผู้ใหญ่ และมีจำนวนเซลล์สมองมากถึงแสนล้านเซลล์รวมทั้งการสร้างเส้นใยประสาทจะทำ งานอย่างสมบูรณ์
 
การสร้างเส้นใยประสาท
 
ส่วน ประกอบหลักของเส้นใยประสาทคือโปรตีนและไขมันในอาหาร ดังนั้นใน 1,000 วันเด็กทุกคนจึงควรได้รับปริมาณโปรตีนและไขมันอย่างเพียงพอ เพื่อเสริมเส้นใยประสาทที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมองให้เสร็จสมบูรณ์ จึงทำให้สารอาหารที่กำลังมาแรงอย่างแอลฟา-แล็คตัลบูมินเป็นแหล่งโปรตีน คุณภาพที่มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาทของลูกได้อย่างครบถ้วน
 
การสร้างสารสื่อประสาท
 
สารสื่อประสาทที่สำคัญต่อการทำงานของสมองที่ว่านี้ร่างกายเด็กเล็กไม่สามารถ สร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนเพื่อใช้เป็นสาร ตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาทโดยคุณภาพของโปรตีนที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อ การการสร้างสารสื่อประสาทในสมองของเด็กที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้ สารอาหารอย่างแอลฟา-แล็คตัลบูมินเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนคุณภาพ ที่ มีส่วนช่วยเสริมสร้างสารสื่อประสาทในการทำงานของสมองได้ดีที่สุด
 
แอลฟา-แล็คตัลบูมินสารอาหารที่พบมากในนมแม่
 
นมแม่ เป็นอาหารสำคัญอีกอย่างที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาสมองหลาย อย่างเช่นโปรตีน ดีเอชเอเอเอไอโอดีนลูทีนธาตุเหล็กและที่สำคัญยังมีสารอาหาร แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงซึ่งพบมากในนมแม่ช่วยสร้างสารสื่อประสาทขับเคลื่อน การทำงานของสมอง นอกจากนี้ผลวิจัยทางการแพทย์ยังชี้ให้เห็นว่าเด็กที่ได้รับนมแม่จะสร้างสาร สื่อประสาทได้มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ ส่งผลให้เด็กนอนหลับง่าย และมีอารมณ์ดีกว่าซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และการ พัฒนาสมองอีกด้วย