เบบี๋อารมณ์ขุ่นมัวอาจเพราะนมที่ดื่ม คุณแม่แก้ไขด่วน!

07 September 2018
6145 view

หลากหลายสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ลูกน้อยหงุดหงิด ร้องไห้ ขับถ่ายไม่สะดวก ท้องผูก ท้องอืด ไม่สบายท้อง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลทำให้พัฒนาการลูกสะดุดได้ วันนี้คุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับปัญหา ลูกถ่ายยากกันค่ะว่า…เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพัฒนาการลูกอย่างไร พร้อมทั้งวิธีการดูแลแก้ไขให้ลูกสบายท้อง สบายก้น อารมณ์ดี มีพัฒนาการสมวัย ก่อนอื่นคุณต้องทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ของการขับถ่ายและพัฒนาการลูกก่อนนะคะ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

ความสัมพันธ์ของการขับถ่ายกับพัฒนาการเด็ก

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตไหมว่าเวลาลูกน้อยมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ขับถ่ายยาก มักจะมีอารมณ์หงุดหงิด หรือแสดงออกทางสีหน้า หน้าบูดหน้าบึ้ง แล้วไม่อยากจะทำกิจกรรมใดๆ ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้มงวดเรื่องการขับถ่าย เร่งหรือบังคับให้ลูกถ่าย ลูกจะมีพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ลูกอุจจาระเปื้อนกางเกงลูกจะชอบหลบหน้าพ่อแม่ กลัวความผิด คิดว่าตนทำเป็นผิดและไม่กล้าเผชิญหน้า กลายเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจ ไม่ชอบเข้าสังคม เก็บกดทางอารมณ์ ส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งสอดคล้องกับที่ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาได้ระบุไว้ว่าในช่วงระยะ 2-3 ขวบ เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อขับถ่ายที่ดีขึ้น สามารถขับถ่ายได้ช่วงนี้ถูกเข้มงวดเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลให้เด็กเกิดความวิตกกังวล เก็บกด ⁽¹⁾

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ คุณแม่คงตระหนักดีแล้วว่าปัญหาการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องเล็กๆและปล่อยผ่านไปไม่ได้ ดังนั้นเรามาดูต้นเหตุของเด็กอึยาก อึลำบาก จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของลูกกันค่ะ

สาเหตุลูกอึยาก อึลำบาก อารมณ์ขุ่นมัว

  1. ลูกอึยากเพราะเจ็บป่วย โรคบางชนิดทำให้เด็กถ่ายลำบาก เช่น ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด โบทูลิซึม ไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น
  2. ลูกอึยากเพราะไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เด็กที่ไม่มีกิจกรรม นั่งนิ่ง นอนนิ่งๆ ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวจึงทำให้ระบบขับถ่ายหยุดนิ่งไปด้วย การเคลื่อนไหวเป็นการช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ลูกอึยากเพราะอาหาร อาการเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกท้องผูก เพราะการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย จึงทำให้ท้องผูกและขับถ่ายลำบาก
  4. ลูกอึยากเพราะนม นมจัดว่าเป็นอาหารหลักของเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน องค์การอนามัยโลกต่างให้คำแนะนำคุณแม่ทั่วโลให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนนาน 6 เดือน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยการขับถ่าย จะเห็นได้ว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มักสุขภาพลำไส้ดี ถ่ายง่าย ถ่ายคล่องมากกว่าเด็กที่ดื่มนมผสมนมผสมจึงถูกมองว่าเป็นตัวแปลสำคัญที่ทำให้ลูกอึยาก จริงหรือไม่อย่างไร มาดูรายละเอียดกันต่อเลยค่ะ

นมสาเหตุหลักทำลูกรักอึยากจริงหรือ?

แม่หลายบ้านตอบว่าจริง!!! นมเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ลูกถ่ายลำบาก ท้องผูกเพราะคุณภาพโปรตีนจากน้ำนมไงคะ เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่อาจไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน  เรามาทำความรู้จักกับโปรตีนในนมชนิดต่างๆ ที่ทำให้ลูกบางบ้านถ่ายคล่อง ลูกบางบ้านถ่ายยากกันค่ะ

  1. โปรตีนในนมแม่

ในนมแม่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) ชนิดโอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย พรีไบโอติก (Prebiotics) ช่วยในการขัดขวางจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ทำให้ระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้ของทารกทำงานได้ปกติ ขับถ่ายได้ง่าย ลูกน้อยสบายท้อง ส่งผลให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี นอกจากนี้นมแม่มีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ มีสารอาหารจากธรรมชาติออกมาในปริมาณที่สูง เรียกว่า ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์

  1. โปรตีนในนมผสม

  • นมวัว เป็นนมที่มีพรีไบโอติก (Prebiotics) มีโปรตีน CPP (Casein Phophopeptides) ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุไปสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่านมแพะ รวมทั้งมีเบต้าเคซีนในปริมาณน้อย ทำให้โปรตีนในนมวัวย่อยยากกว่านมแพะ ส่งผลให้ลูกเกิดอาการท้องผูกมากกว่านมแพะ
  • นมแพะ ในนมแพะมีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ซึ่งเป็นระบบเดียวกับนมแม่ทำให้นมแพะมีสารอาหารธรรมชาติในปริมาณที่สูง (ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์) มีโปรตีนย่อยง่าย, มีเบต้าเคซีนที่ย่อยง่ายในปริมาณสูง, มี CPP หรือ Casein Phosphopetides ช่วยดูดซึมแร่ธาตุที่สำคัญ และมีพรีไบโอติก (Prebiotics) ชนิดโอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในทางเดินอาหาร (นมแพะมีมากกว่านมวัว 4-5 เท่า)(2) ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการท้องผูก

เคล็ดลับเพื่อลูกขับถ่ายดี อารมณ์ดี

  1. ขับถ่ายเป็นเวลา ฝึกให้ลูกขับถ่ายเป็นเวลา ไม่ควรเข้มงวดควรค่อยเป็นค่อยไป เลือกเวลาในการฝึกขับถ่ายที่ไม่เร่งรีบ เช่น หลังทานอาหาร เพื่อให้ลูกรู้สึกไม่กดดัน
  2. ปลุกลำไส้ นวดท้อง ยกเท้าขาลูกหรือให้ลูกฝึกยกขาขึ้นลง เพื่อช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องอืด ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก
  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรดื่มน้ำให้มากเพื่ออุจจาระจะได้ไม่แข็ง สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปควรเลือกอาหารที่มีปริมาณกากใยสูงย่อยง่ายให้ลูกทานเป็นประจำ เช่น น้ำส้มคั้น ฟักทองนึ่ง กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก ข้าวกล้องตุ๋นแครอท และอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยเป็นต้น
  4. เลือกดื่มนมย่อยง่าย นมแม่ย่อยง่ายที่สุด หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรเลือกนมที่มีโปรตีนย่อยง่าย มีพรีไบโอติกที่ช่วยในเรื่องการขับถ่าย เพื่อช่วยให้ลูกขับถ่ายสะดวก ท้องไม่อืด มีภูมิคุ้มกันที่ดีและอารมณ์ดีตามไปด้วย

พัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางอารมณ์ต้องดูแลไปพร้อมๆ กัน Mamaexpert สนับสนุนให้ทุกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องและนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่ดีและมีพัฒนาการรอบด้านที่สมวัยพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในทุกๆ วัน

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง

  1. รศ.ดร.ลักขณา สริวัฒน์.จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน.[ค้นคว้าเมื่อ 17 สิงหาคม 2561]
  2. ประโยชน์ของนมแพะ.เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/.[ค้นคว้าเมื่อ 17 สิงหาคม 2561]
  3. .พญ. บุษบา วิวัฒน์เวคิน.เด็กท้องผูกนอกจากเสียสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลถึงสภาพจิตใจ.เข้าถึงได้จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/ท้องผูกในเด็ก/. [ค้นคว้าเมื่อ 20 สิงหาคม 2561]
    4. Mayo Clinic Staff.Constipation. เข้าถึงได้จาก https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/symptoms-causes/syc-20354253.[ค้นคว้าเมื่อ 20 สิงหาคม 2561]