ด่วน นมโรงเรียนปลอดภัยไหม เผยผลตรวจที่นี่

26 February 2018
7037 view

นมโรงเรียนปลอดภัยไหม

เป็นประเด็นที่คุณพ่อคุณแม่ทุกบ้านต่างก็สงสัย แต่ไม่กล้าถาม เพราะเป็นเรื่องยากหากจะตรวจสอบ เพราะต้องใช้อุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งวันนี้ Mama Expert เปิดผลตรวจนมโรงเรียน-นมจืด! โดยนิตยสารฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาดูกันเลย 

14 ตัวอย่างกลุ่มนมโรงเรียนจากภูมิภาคต่างๆ 

ลำดับ ชื่อโรงเรียน ปริมาณ อะฟลาท็อกซินเอ็ม1
( ไมโครกรัม ต่อ กิโลกรัม )
1 รร.วัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) กทม. เขตสายไหม น้อยกว่า 0.03
2  รร.วัดนางนอน (อนุบาลและประถม) กทม. เขตจอมทอง น้อยกว่า 0.03
3  รร.ต้นม่วง จ.พะเยา น้อยกว่า 0.03
4  รร.ชายเคือง จ.ฉะเชิงเทรา น้อยกว่า 0.03
5  รร.มหาไถ้ จ.ขอนแก่น น้อยกว่า 0.03
6  รร.ยุวศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี น้อยกว่า 0.03
7 รร.เทศบาล 2 จ.สงขลา น้อยกว่า 0.03
8  รร.วัดท่าเกวียน จ.ฉะเชิงเทรา น้อยกว่า 0.03
9  รร.วัดราชคฤห์ (วัดมอญ) กทม. เขตธนบุรี น้อยกว่า 0.03
10 รร.วัดชนะสงคราม กทม. เขตพระนคร น้อยกว่า 0.03
11 รร.วัดมะพร้าวเตี้ย กทม.เขตภาษีเจริญ น้อยกว่า 0.03
12 รร.บ้านแบนชะโด กทม. เขตคลองสามวา น้อยกว่า 0.03
13 รร.วัดไทรน้อย จ. อยุธยา ยูเอสที น้อยกว่า 0.03
14 รร.วัดไทรน้อย จ. อยุธยา พาสเจอร์ไรด์ น้อยกว่า 0.03


ทั้ง 14 ตัวอย่าง พบมีทุกตัวอย่างแต่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คืออะฟลาท็อกซินเอ็ม1 น้อยกว่า 0.03 นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างนมประเภทรสนมธรรมชาติจากร้านค้าปลีก อีก13กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 



กลุ่มนมรสธรรมชาติจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อจำนวน 13 ตัวอย่าง ได้แก่

ลำดับ ชื่อโรงเรียน ปริมาณ อะฟลาท็อกซินเอ็ม1
(ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม )
1 โฟร์โมสต์ ประเภทยูเอชที 0.08
2  ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทยูเอชที 0.05
3 ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทยูเอชที 0.04
4 ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทพาสเจอร์ไรส์ 0.04
5 ฟาร์มโชคชัย ประเภทพาสเจอร์ไรส์ น้อยกว่า 0.03
6 โฟร์โมสต์ ประเภทพาสเจอร์ไรส์ น้อยกว่า 0.03
7 เอ็มมิลค์ ประเภทพาสเจอร์ไรส์ น้อยกว่า 0.03
8 ฟาร์มโชคชัย ประเภทยูเอชที น้อยกว่า 0.03
9 เอ็มมิลค์ ประเภทยูเอชที น้อยกว่า 0.03
10 ไทย-เดนมาร์ค ประเภทยูเอชที น้อยกว่า 0.03
11 วาริช (โครงการพระราชดำริ)
ประเภทยูเอชที
น้อยกว่า 0.03
12 หนองโพ ประเภทยูเอชที น้อยกว่า 0.03
13  เนสท์เล่ ตราหมี น้อยกว่า 0.03

ประเภทสเตอริไลส์พบทุกตัวอย่างมีสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินเอ็มวันสูงสุด 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และต่ำสุดที่น้อยกว่า 0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529) กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20 ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และมาตรฐานโคเด็กซ์ (CODEX) กำหนดให้ไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน


เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่แต่ละบ้านวางใจแล้วใช่ไหมคะว่า นมที่ลูกดื่มนั้นผ่านมาตรฐาน คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจเช็ค ใส่ใจในการได้รับนมของลูกในทุกช่วงวัย  ทั้งนี้ สารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินเอ็มวัน พบได้ในน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม จัดเป็นสารพิษธรรมชาติที่ร้ายแรงต่อมนุษย์ เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

1. นมแม่ไม่มีแล้ว …เลือกนมให้ลูกอย่างไรดี

2. นมถั่วเหลืองยูเอชทีให้คุณค่าสารอาหารเพียงพอหรือไม่

3. ไขปัญหาคาใจแม่ นมกล่องUHT

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 
ขอบคุณข้อมูล : ฉลาดซื้อ นิยสารออนไลน์