ไวรัสโรต้า
ไวรัสโรต้า ( Rotavirus ) เป็นอีกเชื้อโรคที่คุณแม่มือใหม่หลายคนอยากรู้จัก ถ้าจะไม่รู้จักเลยก็ไม่ได้ เพราะเด็กทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อนี้ได้ในทุกวัน เด็กวัยเริ่มพลิกเริ่มคลาน จะหยิบจับสิ่งของรอบตัวเข้าปากอยู่บ่อยๆ นับเป็นช่องทางให้เชื้อโรต่้าเข้าสู่ร่างกายหนูน้อย เมื่อได้รับเชื้อดังกล่าว จึงทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องร่วงรุนแรงตามมา มีสถิติเด็กเสียชีวิตจากท้องร่วงสูงนับร้อยคนต่อปี คุณแม่ต้องใส่ใจและทำความรู้จักกับไวรัสโรต้าตัวนี้ รวมไปถึงวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง หรือวัคซีนโรต้านี้ด้วย วันนี้ Mama Expert นำ 17 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไวรัสโรต้าที่คุณแม่ควรรู้มาฝาก มาดูกันเลยจ้า..
17ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไวรัสโรต้า
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง โรตา ที่เป็นข่าวและเข้าใจผิดกันมาก
1 โรคท้องเสียโรตา เป็นโรคที่เกิดกับ เด็ก มากกว่า ผู้ใหญ่
การศึกษา ในเม็กซิโก เด็ก ตั้งแต่เกิดจนถึง 2 ปี ไม่มีใครเลย ไม่เคยติด/
2 เชื้อโรต้า 70% ติดถึง 2 ครั้ง 40% ติดถึง 3 ครั้ง 20% ติดถึง 4 ครั้ง 10% ติดถึง 5 ครั้ง
3 การติดเชื้อครั้งแรก อาการจะรุนแรง และการติดเชื้อครั้งต่อไป อาการจะน้อยลง จนในที่สุด จะเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ
4 ไวรัสนี้จะเป็นมาก ในฤดูหนาว อากาศยิ่งเย็น จะยิ่งพบมาก ติดต่อได้ง่าย ในอากาศที่เย็น หรือหนาว
5 เด็กที่โตเกินกว่า 5 ปี มีโอกาสติดเชื้อได้ แต่มีอาการน้อยมาก มาก หรือไม่มีอาการเลย
6 ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อได้ แต่ส่วนใหญ่ เป็นแบบไม่มีอาการ ยกเว้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กินยากดภูมิต้านทาน หรือสูงวัยมากๆ ก็อาจจะมีอาการได้
7 เราจะเห็นว่าโรคนี้ติดกันได้ง่าย ในฤดูหนาว มารดาที่ดูแลลูก ที่เป็นท้องเสียโรตา ก็ติดเชื้อจากลูก ได้ แต่จะไม่มีอาการของโรค เหมือนผู้ใหญ่ทั่วทั่วไป
8 ในผู้ใหญ่ ที่ตรวจพบเชื้อในอุจจาระ แสดงว่ามีการติดเชื้อ ส่วนมากจะไม่มีอาการอะไรเลย และผู้นั้นถ้าติดเชื้อร่วมกับไวรัสตัวอื่น เช่นโนโรไวรัส ที่ทำให้เกิดท้องเสียในผู้ใหญ่ได้ การตรวจพบเชื้อไวรัสโรต้า แต่ไม่ได้ตรวจเชื้อโนโร ก็จะเข้าใจผิดคิดว่า rota ทำให้เกิดท้องเสียในผู้ใหญ่ ทั้งที่ผู้ร้ายคือ โนโร
9 ตั้งแต่เดือนธันวาคม มาจนถึงปัจจุบัน ปีนี้มีอากาศหนาวเย็น ทำให้พบโรคทั้งสอง ได้มาก เป็นปกติเช่นทุกปี ที่พบในหน้าหนาว
10 ไวรัสโรต้า มีหลายสายพันธุ์ เช่น G1, G2 G3 G4 G9 G12 แต่การพบ ในปีนี้ เป็น G2 มากกว่าปกติ ไม่ได้มี การกลายพันธุ์ ไปจากเดิม
11 ไวรัสโรต้า มีวัคซีน ให้ในทารก อายุระหว่าง 6 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยให้กิน 2-3 ครั้ง
12 ไวรัสโนโร ไม่มีวัคซีน ในการป้องกัน
13 ไวรัสทั้งสองนี้ ติดต่อกันได้ง่ายมาก เพราะมีการขับถ่าย ไวรัสจำนวนมโหฬาร ออกมากับอุจจาระ สิ่งที่อาเจียนออกมา โรคนี้จึงพบได้ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีการดูแลความสะอาดอย่างดี และประเทศที่กำลังพัฒนา ที่มีฐานะยากจน ก็พบได้ ไม่แตกต่างกัน
14 อย่างไรก็ตาม ก็ยังแนะนำให้ดูแลเรื่องความสะอาด สุขอนามัย รับประทานอาหารที่สะอาด การกำจัดผ้าอ้อมเด็ก ที่เกิดจากท้องเสีย ควรทิ้งในถุงแดง หรือถุงติดเชื้อ เพื่อจะได้มีการทำลาย ที่ถูกต้อง จะเป็นการลดเชื้อโรค ที่จะไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
15 ในทางปฏิบัติยอมรับว่ายาก จึงทำให้โรคนี้พบได้ ทั้งในประเทศตะวันตก ที่พัฒนาแล้วก็ไม่ต่างกับประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่ควรตระหนก หรือแชร์ข้อมูล ให้เกิดความน่ากลัว เพราะไม่ใช่โรคไหม่ อยู่กับคนไทยมา เป็นร้อยร้อยปีแล้ว
16 มีประเทศจำนวนมาก ให้วัคซีนโรต้า อยู่ในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก และลาตินอเมริกา ทำให้โรคดังกล่าวลดลงอย่างมาก เช่นในอเมริกา ฟินแลนด์
17 ประเทศไทย ควรนำ rota vaccine เข้าในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ แต่เนื่องจาก ไม่มี NGO เกี่ยวกับการป้องกันโรค อยู่ในสปสช แผนการนี้ริเริ่มมากว่า 5 ปี จึงยังไม่สำเร็จ ตรงข้ามกับโรคบางโรคที่มี NGO อยู่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ