ลูกไม่ดิ้น
การดูแลลูกในท้องให้สมบูรณ์แข็งแรง เป็นสิ่งที่จะต้องทำร่วมกันโดยหลายๆฝ่าย แพทย์ พยาบาล แต่ที่สำคัญที่สุด คือคุณแม่ เพราะคุณแม่คือคนที่อยู่กับเจ้าตัวน้อยตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจะเป็นคนที่สังเกตได้ดีที่สุดว่า แต่ละช่วงเวลานั้น ลูกในท้องอยู่อย่างไร ดิ้นอย่างไร การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ เป็นตัวบอกสุขภาพของลูกในท้อง ที่แม้จะไม่ได้ดีที่สุดเท่ากับการตรวจพิเศษอื่นๆแต่ก็เป็นวิธีที่ง่าย ทำได้ที่บ้าน ทุกเวลา และไม่ต้องใช้อะไรเลย นอกจาก"ความใส่ใจ" วันนี้ Mamaexpert ขอนำเรื่องเล่า จากพยาบาลเด็ก เกี่ยวกับการนับลูกดิ้น มาฝากคุณแม่ทุกผ่าน เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจว่า อย่าปล่อยผ่านหากพบว่าลูกดิ้นน้อย ควรพบแพทย์
คุณพยาบาลแชร์ประสบการณ์เคสคุณแม่ ลูกไม่ดิ้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ 34สัปดาห์ ครรภ์แรก มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามนัด พยาบาลซักประวัติเบื้องต้นสอบถามอาการดิ้นของลูก คุณแม่ให้ประวัติว่าลูกไม่ค่อยดิ้น พยาบาลจึงสอบถามถึง ตารางนับลูกดิ้น คุณแมตอบว่าไม่ได้นำมาด้วย พยาบาลจึงสอบถามต่อว่า ลูกดิ้นครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ คุณแม่แจ้งว่า เมื่อวานช่วงเช้าๆค่ะเมื่อวาน ยุ่งๆลืมนับลูกดิ้น แต่ก่อนเข้านอนรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้นเลย
ลูกไม่ดิ้น พบแพทย์เลยดีไหม
ควรพบแพทย์ทันที เคสดังกล่าวสามีให้ข้อมูลว่า... พยายายามที่จะพาภรรยามาพบแพทย์ ตั้งแต่เมื่อคืน 20 น. แต่ภรรยามีความเห็นว่า วันนี้แพทย์นัด รอมาวันนัดเลยดีกว่า จึงรีบมาแต่เช้า ภรรยาแย้งตนว่าอาจจะใกล้คลอด ลูกตัวโตจึงไม่ค่อยดิ้น
หมอทำอย่างไรหากพบว่าลูกไม่ดิ้น
พยาบาลหน้าห้องตรวจครรภ์รายงานแพทย์ทันที และให้คุณแม่ลัดคิวเพื่อพบแพทย์ ... เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก เมื่อแพทย์ตรวจคุณแม่ทันที พบว่า ทารกในครรภ์ไม่ดิ้น เนื่องจากเสียชีวิตแล้ว สามีเธอร้องไห้อย่างหนักเพราะ กว่าจะมีลูกต้องผ่านการช่วยด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพัยธุ์เข้าช่วย เนื่องจากมีบุตรยาก หลังจากนั้นแพทย์ให้คุณแม่รอคลอดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ ตลอดระยะเวลาที่คุณแม่รอคลอดลูกน้อยที่เสียชีวิตออกมานั้น สุดจะทรมานใจมาก ...พยายาลผู้เล่า เป็นเวรรับเด็กคลอดในวันนั้นค่ะ ทารกไร้ลมหายใจของคุณแม่ที่คลอดออกมานั้น หน้าตาน่ารัก ผิวดี น้ำหนักแรกคลอดดีมาก 3,900 กรัม น่าเสียดายที่แม่อุ้มท้องมานานแต่ไม่มีโอกาสให้ลูกน้อยได้ดูดนมของแม่ ฝากเป็นอุทาหรณ์เตือนใจ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกๆ บ้าน หากพบความผิดปกติในกรณีทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง ให้รีบพบแพทย์ในทันทีไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด ( ขอบคุณข้อมูล : นฤมล เปรมปราโมทย์ พยาบาลแผนกทารกแรกเกิด)
ไม่ว่ากรณีใดๆก็แล้วแต่ ทั้งหมดที่กล่าวมา หากคุณแม่ตั้งครรภ์กังวลและกลัว ให้รีบพบแพทย์หรือปรึกษาผู้เชียวชาญทันที อย่าเก็บความสงสัยไว้เพียงลำพังนะคะ นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพจิตแล้ว ความผิดปกติดังกล่าวอาจส่งผลต่อชีวิตลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ได้ค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ลูกดิ้นเมื่อไหร่ อาการลูกดิ้นเป็นอย่างไร?
2. อาการเจ็บครรภ์เตือน ความแตกต่างระหว่างเจ็บครรภ์เตือนและเจ็บครรภ์จริง
3. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องต้องระวัง
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team