ลูกไม่ยอมดูดเต้า ลูกปฏิเสธเต้านม ทำอย่างไร ?

07 September 2016
26762 view

ลูกไม่ยอมดูดเต้า

ลูกไม่ยอมดูดเต้า หรือ ลูกปฏิเสธเต้านม Nursing strike คืออาการที่ลูกปฏิเสธเต้านมหลังจากที่ดูดนมเป็นปกติมาเป็นเวลาหลายเดือน การปฏิเสธเต้านมอาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดกับลูกของคุณและลูกพยายามสื่อสารให้คุณรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติ ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีปฏิกิยาเดียวกันในสถานะการณ์ที่ต่างกัน บางคนสามารถดูดนมต่อไปได้ บางคนอาจฉุนเฉียวกับเต้านม บางคนอาจปฏิเสธเต้าตลอดไป

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมดูดเต้าเกิดจากอะไร

  1. ปวดฟันเนื่องจากฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หรือเจ็บคอจากหวัด
  2. หูติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม
  3. ความเจ็บปวดจากท่าให้นมซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บบนร่างกายทารกหรือความเจ็บปวดหลังการได้รับฉีดวัคซีน
  4. ความสับสนที่ต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงมากในกิจวัตรประจำวัน
  5. มีสิ่งอื่นน่าสนใจที่อยู่รอบๆตัว
  6. เป็นหวัดคัดจมูกซึ่งทำให้การหายใจลำบากขณะดูดนม
  7. ปริมาณน้ำนมที่ลดลงเนื่องจากไปให้นมขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป
  8. ตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่แข็งกร้าวของแม่เมื่อแม่ถูกลูกกัด
  9. รู้สึกสับสนเมื่อได้ยินคนในครอบครัวโต้แย้งหรือใช้เสียงที่แข็งกร้าวขณะที่ดูดนม
  10. ตอบสนองต่อความเครียด ถูกกระตุ้นมากเกินไป ถูกเลื่อนการให้นมเมื่อถึงเวลาอยู่บ่อยๆ

ถ้าลูกของคุณปฏิเสธนมแม่ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะกังวลและสับสนโดยเฉพาะถ้าลูกไม่มีความสุข ที่สำคัญคือคุณต้องไม่รู้สึกผิดหรือโทษว่าเป็นความผิดคุณ  คุณอาจรู้สึกอึดอัดที่เต้านมของคุณเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้นวันนี้มีทางแก้ไข คุณแม่ทุกท่านที่มีปัญหานี้อยู่ลองดูนะคะ


ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมดูดเต้า

  1. พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและท่อน้ำนมอุดตัน
  2. พยายามใช้วิธีอื่นในการป้อนนมลูกเป็นการชั่วคราว เช่น ใช้ถ้วย หลอดหยด หรือช้อน ตรวจสอบผ้าอ้อมลูกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ (5-6 ครั้งต่อวัน)
  3. พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด  ถ้าลูกไม่ยอมให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง ลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อลูกง่วงมากๆ
  4. พยายามลองท่าให้นมหลายๆท่า
  5. พยายามให้ความสนใจลูกเต็มที่และปลอบโยนลูกด้วยการสัมผัสและกอดรัดมากขึ้น
  6. พยายามให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยกในห้องที่เงียบที่ไม่มีสิ่งรบกวน

หากลูกไม่ยอมดูดเต้าเป็นเวลานาน อาจทำให้น้ำนมแม่ลดลงได้ ต้องรีบแก้ไขตามคำแนะนำ คุณแม่ที่ตั้งใจจริง ทำได้แน่นอนค่ะ mamaexpert สนับสนุนคุณแม่คนไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด และเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุครบ 6 เดือน สู้ๆค่ะ 

บทความแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่

1. ลูกดูดนมข้างเดียว แก้อย่างไรดี

2. น้ำนมแม่พุ่งแรง แก้อย่างไรดี

3. อายุของนมแม่แช่แข็ง

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 

ขอบคุณข้อมูล  :  www.breastfeedingthai.com