แท้งบ่อย
ภาวะแท้งเป็นอาจิณ หมายถึง มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นและแท้งบุตรติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้งขึ้นไป จะถือว่าอาจมีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อการป้องกันและแก้ไข ไม่ให้เกิดการแท้งบุตรอีก อุบัติการณ์ของการแท้งบุตรต่อเนื่องในอายุต่างๆของแม่ โดยนับว่ามีการแท้งต่อเนื่องมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีข้อมูลตามตารางแสดงดังนี้คือ
อายุของแม่ ( ปี ) |
โอกาสการแท้งต่อเนื่องเป็นร้อยละ |
15-19 |
9.9 |
20-24 |
9.5 |
25-29 |
10.0 |
30-34 |
11.7 |
>35-39 |
17.7 |
40-44 |
33.8 |
44 หรือ มากกว่า |
53.2 |
สาเหตุของการแท้งบ่อย แท้งอย่างต่อเนื่อง
1.ความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรม
โครโมโซม ขาด เกินหรือมีความผิดปกติในบางส่วนของตัวโครโมโซมบางตัว เป็นผลให้เกิดความผิดปกติในการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และตัวอ่อนอาจตายไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้จึงเกิดการแท้งบุตร มักพบเป็นสาเหตุหลักในผู้ป่วยที่แท้งบุตรหลายครั้งโดยเฉพาะในช่วงสามเดือน แรกของของการตั้งครรภ์
2.ความผิดปกติของมดลูก
มักเป็นความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดในการพัฒนารูปร่างของมดลูก ทำให้โพรงมดลูกมีขนาดเล็กมีผลต่อการขยายตัวของมดลูกในขณะตั้งครรภ์จึงทำให้ เกิดการแท้งบุตร
3.ความผิดปกติของปากมดลูก
โดยเกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อของปากมดลูกทำให้ไม่สามารถอุ้มการตั้งครรภ์ ให้เจริญเติบโตจนครรภ์ครบกำหนดได้มักเป็นผลทำให้เกิดการแท้งบุตรในระยะไตร มาสที่สองของการตั้งครรภ์
4.เนื้องอกของมดลูก
ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของโพรงมดลูกในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่ายขึ้น การตัดสินใจในการให้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ เหมาะสม เพราะการผ่าตัดอาจทำให้โพรงมดลูกเสียรูปร่างหรือเกิดแผลเป็นจนไม่สามารถตั้ง ครรภ์ได้
5.ความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนจากรังไข่
โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีความสำคัญต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและการ เจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงทำให้เกิดการแท้งบุตรขึ้น ความผิดปกติเช่นนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็อาจจะเกิดขึ้นอีกซ้ำๆถ้าหากไม่ได้รับ การวินิจฉัยที่ถูกต้องและการแก้ไขอย่างเหมาะสม
6.โรคทางอายุรกรรมที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว
เช่น โรค Systemic lupus erythematosus (SLE) โรคต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้มีผลทำให้เกิดการแท้งบุตรได้บ่อยถ้าไม่ได้รับการรักษา ที่เหมาะสม
7.ภูมิคุ้มกันผิดปกติ
โดยปกติแล้วภูมิคุ้มกันเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันตัวเองต่อโรคต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบนี้ จะทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อเซลล์รกและ/หรือเซลล์ตัวอ่อน เนื่องจากภูมิต้านทานนั้นแปลผลว่าเซลล์รกและเซลล์เด็กเป็นเซลล์แปลกปลอม ในการรักษาภาวะนี้ต้องทำการลดภูมิต้านทานที่ผิดปกติเหล่านี้ด้วยยาหรือสาร ที่ลดปฏิกิริยาของภูมิต้านทานเหล่านั้น
การรักษาผู้ป่วยที่แท้งบ่อย แท้งต่อเนื่อง
การตรวจหาสาเหตุแต่ละรายเป็นเฉพาะรายไป เมื่อเกิดการแท้งบุตรต่อเนื่องสองครั้งขึ้นไปแนะนำให้ทำการตรวจหาสาเหตุ แม้ในบางครั้งก็ยากที่จะตรวจหาสาเหตุได้อย่างชัดเจน จากสถิติพบว่าเราหาสาเหตุได้ชัดเจนเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ทั้งหมด แต่ในบางครั้งก็สามารถหาสาเหตุได้ง่าย และสามารถป้องกันหรือรักษาไม่ให้เกิดการแท้งครั้งต่อไปได้
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ภาวะแท้งคุมคาม คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกต้องระวัง
2. แม่ตั้งครรภ์ออกกำลังกายแบบไหน ปลอดภัยไม่แท้ง
3. แม่ท้องกลั้นปัสสาวะเสี่ยงแท้งต่อการติดเชื้อ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team