กลั้นปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้ง จริงหรือ?

13 August 2012
7151 view

กลั้นปัสสาวะขณะตั้งครรภ์

กลั้นปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้ง จริงหรือ? สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากจะมีขนาดท้องที่โตขึ้นทุกวันแล้ว ยังมีพฤติกรรมที่แปลกออกไปอีกอย่างคือ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมาก ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากเมื่อเทียบกับตอนก่อนตั้งครรภ์ แต่เพราะว่าต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้น ทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนเลือกที่จะกลั้นปัสสาวะอันตรายต่อแม่ตั้งครรภ์อย่างไร มาดูกันค่ะ

กลั้นปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร

ผลร้ายของการอั้นปัสสาวะอาจจะทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้เลยทีเดียวปัญหาปวดปัสสาวะบ่อยมักจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกและจะเป็นอีกครั้งคือช่วงใกล้คลอด สาเหตุเพราะว่าในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกนั้น มดลูกจะมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้ไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ และยังมีเลือดที่ไหลเวียนมายังบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้น ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยนั้นเองส่วนระยะใกล้คลอดก็จะปวดปัสสาวะบ่อยอีกเช่นกัน เนื่องจากศีรษะของทารกในครรภ์ได้เคลื่อนตัวไปใกล้และกดลงบริเวณหัวหน่าว ซึ่งก็จะเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกเช่นกัน   แต่เนื่องจากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนอาจจะต้องทำงานนอกบ้าน ไม่สะดวกที่จะเข้าห้องน้ำ จึงใช้วิธีการกลั้นปัสสาวะแทน ซึ่งผลเสียของการกลั้นปัสสาวะ (ไม่ว่าจะเป็นช่วงตั้งครรภ์ หรือไม่ตั้งครรภ์ก็ตาม) จะทำให้กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ นานวันเข้าก็จะเริ่มมีอาการเหมือนปัสสาวะไม่สุด (เหมือนว่ายังจะปัสสาวะอีกแต่ไม่ออกแล้ว) และเมื่อรุนแรงมากขึ้นก็จะปัสสาวะน้อยลง (แต่ถี่ขึ้นเรื่อยๆ) และสุดท้ายอาจถึงขึ้นกรวยไตอักเสบ ซึ่งอาจทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ทางแก้ไขสำหรับคุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์และไม่สะดวกในการเข้าห้องน้ำระหว่างเดินทาง คือให้พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนจะออกเดินทางไปข้างนอกสัก 1 ชั่วโมง เช่น ถ้าจะไปข้างนอกตอน 10 โมงเช้า หลัง 9 โมงเช้าก็ไม่ควรดื่มน้ำ และควรถ่ายปัสสาวะออกก่อนเดินทางถึงแม้จะไม่ปวด แล้วพอไปถึงที่หมายค่อยดื่มน้ำชดเชยเอา ก็พอช่วยแก้ไขปัญหาไปได้ค่ะ

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ถ้าสะดวกในการเข้าห้องน้ำระหว่างเดินทาง คือให้พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนจะออกเดินทางไปข้างนอกสัก 1 ชั่วโมง เช่น ถ้าจะไปข้างนอกตอน 11 โมง หลัง 10 โมงก็ไม่ควรดื่มน้ำ และควรถ่ายปัสสาวะออกก่อนเดินทางถึงแม้จะไม่ปวดค่ะ

บทความแนะนำสำหรับแม่ตั้งครรภ์

1. ข้อบ่งชี้ในการตรวจเจาะน้ำคร่ำในแม่ตั้งครรภ์

2. ภาวะแท้งคุกคาม

3. โรคอันตรายระหว่างตั้งครรภ์

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team