เนื้องอกรังไข่
เนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor)หรือก้อนที่รังไข่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ในหญิงทุกอายุ แต่พบได้น้อยในเด็กและในผู้สูงอายุ ชนิดของเนื้องอกรังไข่รวมถึงสาเหตุและอาการของเนื้องอกรังไข่ รายละเอียด ดังนี้
ชนิดเนื้องอกรังไข่
- ถุงน้ำ (Cyst)เป็นเนื้องอก ที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อ
- เนื้องอกธรรมดาหรือชนิดไม่ร้ายแรง (Benign)
- เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง (Malignant)
สาเหตุการเกิดเนื้องอกรังไข่
- กรรมพันธุ์ ประวัติการเป็นมะเร็งของยาย ป้า มารดา พี่สาว น้องสาว
- หญิงที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง พบว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า
- อายุเข้าสู่วัยทองหรือมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
อาการเนื้องอกรังไข่?
พล.ร.ต.นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนรีเวช โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้อธิบายถึงอาการของเนื้องอกรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ไว้ ดังนี้
- มีความผิดปกติของประจำเดือน
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
- ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดลำไส้
- ท้องโตขึ้น
- ปวดท้องเฉียบพลัน อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดการแกว่งตัวบิดขั้ว แตกออก เกิดการตกเลือด ติดเชื้อ
- ท้องอืด เบื่ออาหาร
มะเร็งรังไข่ต่างจากเนื้องอกรังไข่อย่างไร?
สำหรับอาการที่ควรสงสัยว่าเป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดเนื้อร้าย (มะเร็งรังไข่) นั้น พล.ร.ต.นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ ได้แนะนำ ให้สังเกตความผิดปกติ ดังต่อไปนี้
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเนื่องจากก้อนเนื้อโตเร็ว
- อาจพบภาวะท้องมาน(มีน้ำในช่องท้อง) จากการตรวจร่างกายหรืออัลตราซาวด์ เนื่องจากมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปอวัยวะอื่นๆ
- ผลการตรวจชิ้นเนื้อ สามารถจำแนกประเภทของเนื้องอกรังไข่ได้
ตรวจเนื้องอกรังไข่ ทำอย่างไร?
- แพทย์ซักประวัติ สอบถามอาการและตรวจร่างกายทั่วไป
- ตรวจโดยการคลำทางหน้าท้อง อาจพบก้อน
- ตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนัก
- ตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ ผ่านทางหน้าท้องหรือช่องคลอด
- ตรวจโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- ตรวจโดยการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แนวทางการรักษาเนื้องอกรังไข่
- กรณีแพทย์ตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่าเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะรักษาด้วยยาและเฝ้าติดตามอาการว่าเนื้องอกยุบลงหรือโตขึ้น อาจจะนัดอัลตราซาวด์เป็นระยะ
กรณีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ แพทย์จะผ่าตัดเนื้อร้ายออกให้มากที่สุดและรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา - กรณีผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดา จะพิจารณาข้อบ่งชี้ คือ หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ โตขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนปวดเฉียบพลันจากการบิดขั้วของเนื้องอก มีการแตกของเนื้องอก มีเลือดออก แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด
บทความแนะนำเพิ่มเติม
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณรูปภาพ : ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท 1
ขอบคุณบทความ : พล.ร.ต.นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนรีเวช โรงพยาบาลพญาไท 1