ตัดสายสะดือหลังคลอดช้า
การจบภาวะพึ่งพาระหว่างแม่และลูกน้อยในครรภ์ เริ่มขึ้นเมื่อสูติแพทย์ทำการ ตัดสายสะดือ หลังจากที่สายสะดือถูกตัดเป็นช่วงเวลาที่ลูกต้องพึ่งพาตัวเองโดยการสูดออกซิเจนเองแทนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนผ่านสายสะดือ (สายรก) ทันทีที่ลูกรักคลอดออกมาจากท้องแม่ไม่ว่าจะวิธีผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ เมื่อสูติแพทย์หรือพยาบาลห้องคลอดได้ขานเวลาเกิดลูก และดูดน้ำคร่ำ น้ำเลือด ออกจากทางเดินหายใจของลูกจนสะอาดระดับหนึ่งแล้ว แพทย์จะทำการตััดสายสะดือทันทีที่กล่าวมานี้เป็นวิธีการเมื่อหลายปีก่อน แต่ปัจจุบันแพทย์ได้ชะลอเวลาตัดสายสะดือออกไปอีก เพราะ การตัดสายสะดือทารกหลังคลอดให้ช้าลงสัก 2 นาที ช่วยให้เกิดผลดีต่อทารก
การตัดสายสะดือทารกหลังคลอดให้ช้าลงสัก 2 นาที ช่วยให้เกิดผลดีต่อทารกอย่างไร
- ช่วยให้เลือดที่อยู่ในรกได้โอนถ่ายมาสู่ทารกมากขึ้น โดยจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะซีดในทารกได้ และยังมีประโยชน์
- ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วย นอกจากนี้ มีการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางระบบประสาทของทารกที่มีการชะลอการตัดสายสะดือทารกหลังคลอด (นาน 2 นาทีหรือมากกว่า) กับทารกที่มีการหนีบตัดสายสะดือเร็ว (น้อยกว่า 10 วินาที) พบว่าเมื่ออายุ 4 ปี เด็กที่มีการชะลอการหนีบตัดสายสะดือหลังคลอดมีคะแนนของพัฒนาการของกล้ามเนื้อขนาดเล็กและการเข้าสังคมได้ดีกว่าเด็กที่มีการหนีบตัดสายสะดือเร็ว
ในคุณแม่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆพูดง่ายๆคือ สุขภาพครรภ์ดีทั้งแม่และลูกในท้อง หลังคลอดธรรมชาติทันทีที่ลูกคลอดออกมา แพทย์จะวางทารกที่อกแม่และเช็ดทำความสะอาดเนื้อตัวทารกไปด้วย
ส่วนคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดบุตร แพทย์จะวางทารกไว้ที่หน้าท้องเหนือแผลผ่าตัดและไม่อนุญาตให้มารดาสัมผัสทารกเพราะจะปนเปื้อนแผลผ่าตัดส่งผลต่อการติดเชื้อที่แผลได้ แพทย์จะวางทารกไว้ที่หน้าท้องคุณแม่สักระยะค่อยตัดสายสะดือ
เทคโนโลยีทางการแพทย์และงานวิจัยทางการแพทย์ ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ มีเรื่องดีๆ ทั้งต่อแม่และลูกเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในโอกาสหน้า mamaexpert จะนำเสนอเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับแม่และเด็กเช่นนี้อีกต่อไปค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. สเต็มเซลล์จากสายสะดือ (MSC) เมื่อแรกคลอด
2. ความเชื่อเรื่องสายสะดือลูก และการเก็บสายสะดือลูกรักไว้เป็นที่ระลึก
3. รีวิวการดูแลสะดือเด็กแรกเกิดที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันสะดือติดเชื้อในเด็ก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
เอกสารอ้างอิง
Andersson O, Lindquist B, Lindgren M, Stjernqvist K, Domellof M, Hellstrom-Westas L. Effect of Delayed Cord Clamping on Neurodevelopment at 4 Years of Age: A Randomized Clinical Trial. JAMA Pediatr 2015.