วิธีกระตุ้นคลอดเพื่อให้ปากมดลูกเปิด และปัจจัยสำคัญที่แพทย์ต้องใช้วิธีกระตุ้นคลอด

07 December 2016
79882 view

กระตุ้นคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนแอบหวั่นใจ เมื่อเข้าสู่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์เตือนเลยแม้แต่น้อย เกรงว่าจะถูกเร่งคลอด เพราะจากประสบการณ์คุณแม่ที่ผ่านการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดนั้นต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เจ็บมากกว่า การเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติหลายสิบเท่าตัว จึงทำให้คุณแม่ที่ยังไม่มีอาการเตือนในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์หวั่นใจ เกรงว่าต้องถูกเร่งคลอดแน่ๆ ก่อนอื่นคุณแม่ตั้งครรภ์ มาทำความเข้าใจเรื่อง “เร่งคลอด” และ “กระตุ้นคลอด” ให้ถูกต้องนะคะ เพราะสองคำนี้ความหมายทางการแพทย์ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงค่ะ

การกระตุ้นคลอดคืออะไร

ทางการแพทย์ หมายถึง กรณีคุณแม่ตั้งครรภ์ ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์เตือนตามธรรมชาติ แต่มีเหตุเพื่อประครองชีวิตแม่ หรือเพื่อให้ลูกมีชีวิตรอดจึงต้องทำให้คุณแม่ท่านนั้นเข้าสู่กระบวนการคลอด โดยไม่ต้องรอให้เป็นไปตามธรรมชาติ  สาเหตุสำคัญที่สูติแพทย์จะพิจารณา กระตุ้นคลอดให้กับแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่

  1.  หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเเทรกซ้อนครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง
  2. ตรวจพบทารกในครรภ์เสียชีวิตแล้ว
  3.  ทารกในครรภ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานระดับรุนแรง
  4. แม่ตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติในระดับวิกฤต
  5. มีน้ำเดินโโยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ทารกเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อหากน้ำเดินเกิน 14 ชั่วโมง แล้วไม่คลอด

กระตุ้นคลอดควรทำในอายุครรภ์กี่สัปดาห์

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีอาการตาม5 อาการข้าต้นที่กล่าวมา และการตั้งครรภ์เป้นไปตามปกติสุขภาพครรภ์แข็งแรงดี สูติแพทย์จะพิจารณา กระตุ้นคลอด เมื่ออายุครรภ์ภ์เกินกำหนด คือมากกว่า 42 สัปดาห์

วิธีกระตุ้นคลอดทำโดยสูติแพทย์ 

  1. กระตุ้นให้เกิดการคลอดด้วยการใช้นิ้วมือของสูติแพทย์กระตุ้นบริเวณปากมดลูก ลักษณะคล้ายกับตรวจภายใน เรียกอีกอย่างว่า การกวาดปากมดลูก
  2. กระตุ้นคลอดด้วยการใช้บอลลูนใส่เข้าไปในปากมดลูก เป็นวิธีที่ใช้ในต่างประเทศ ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนักไหร่
  3. กระตุ้นคลอดด้วยการใช้ยาเหน็บ ยาที่ใช้เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง คืออร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) โดยสูติแพทย์อาจจะเลือกใช้ในรูปของเจลหรือยาเหน็บช่องคลอด ตามความเหมาะสมของคุณแม่แต่ละราย  ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์
  4. กระตุ้นคลอดด้วยการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ หรือให้ผ่ายสายน้ำเกลือ ยาที่สูติแพทย์เลือกใช้คือ Syntocinon ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นให้มดลุกหดรัดตัวมากกว่าปกติ จะเข้าสู่กระบวนการคลอดตามธรรมชาติ การหดรัดตัวของมดที่มากกว่าปกตินี้ ส่งผลให้ คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์มากกว่าเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ คุณแม่ที่ใช้ยา Syntocinon กระตุ้นคลอด จึงอาจได้รับยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำด้วยเช่นกัน 

วิธีที่สูติแพทย์ใช้ในกระตุ้นคลอด และเร่งคลอด กระตุ้นคลอดด้วยการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ

การกระตุ้นคลอดและการเร่งคลอดคืออะไร

ที่คุณแม่หลายคนอาจใช้ผิดความหมายและเข้าใจว่า คือ เรื่องเดียวกับการกระตุ้นคลอดนั้นไม่ใช่ค่ะ การเร่งคลอดนั้น แพทย์จะกระทำเมื่อคุณแม่ มีสัญญาณของการเข้าสู่กระบวนการคลอดแล้ว แต่การคลอดม่ก้าวหน้าเช่น  ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม  มดลูกหดรัดตัวไม่ดีพอ วิธีที่สูติแพทย์ใช้ในการเร่งคลอด ได้แก่

  1. การเจาะถุงน้ำคร่ำ กระทำโดยสูติแพทย์โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์เจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว มดลูกจะหดรัดตัวถี่และเเรงมากขึ้น ส่งผลให้แม่ตั้งครรภ์เข้าสู่กระบวนการคลอดตามปกติ แต่บางรายอาจไม่ได้ผล
  2. กระตุ้นคลอดด้วยการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ หรือให้ผ่ายสายน้ำเกลือ  เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัวดีขึ้น ปากมดลูกเปิดขยายเร็วขึ้น โดยการเร่งคลอดด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่แพทย์จะเจาะถุงน้ำคร่ำร่วมด้วย
วิธีที่สูติแพทย์ใช้ในกระตุ้นคลอด และเร่งคลอด
การเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อเร่งคลอด

เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 36 คุณแม่หลายคนอาจมีการเจ็บครรภ์เตือนนำมาบ้างแล้ว สำหรับคุณตั้งครรภ์สัปดาห์ที่40แต่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์เตือนเลย อย่าตกใจเกินกว่าเหตุนะคะ หมั่นสังเกตลูกดิ้น และสังเหตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากตั้งใจคลอดวิธีธรรมชาติแล้ว รอได้ถึงอายุครรภ์42 สัปดาห์ค่ะ  Mama Expert ขอให้คุณแม่ทุกคนคลอดง่ายๆ นะคะ

Mamaexpert Tips
คงเคยได้ยินกันว่า เด็กผ่าคลอดมีโอกาสเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ เนื่องจากทารกจะไม่ได้รับโพรไบโอติกจากช่องคลอดของแม่ โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ยิ่งต้องใส่ใจ ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ “โพรไบโอติก” และใยอาหารของจุลินทรีย์ “พรีไบโอติก” เร่งเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้และยับยั้งเชื้อก่อโรคให้กับลูกได้ คลิกรู้จักโภชนาการที่ช่วยคืนภูมิต้านทานตั้งต้นให้กับลูกน้อย

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ 

1. การแบ่งไตรมาสของการตั้งครรภ์ และข้อควรระวังของแม่ท้องแต่ละไตรมาส 

2. พัฒนาการทารกในครรภ์ น้ำหนัก ความยาว ตลอด 42 สัปดาห์ 

3. สูติแพทย์แนะนำวิธีเบ่งคลอดตามสเต็ปที่ถูกต้อง และคลอดง่าย

เรียบเรียงโดย  :  Mamaexpert Editorial Team