ทายามหาหิงคุ์ให้ลูกโปรดระวัง!!! ลูกอาจแพ้ได้

07 April 2016
19052 view

ทายามหาหิงคุ์ให้ลูก

คุณแม่มือใหม่โปรดระวังในการใช้ยามหาหิงคุ์!!!  เป็นที่ทราบกันดีว่ายามหาหิงคุ์ มีเอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือกลิ่นยาค่อนข้างแรง นอกจากมีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืดในเด็กแล้ว ยังพบว่ายามหาหิงคุ์ยังใช้ในการรักษาโรคหวัด และไอได้ด้วย แต่อย่าลืมว่า ยามหาหิงคุ์ ชนิดน้ำที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น มีส่วนผสมหลักคือ แอลกอฮอร์มากถึง 70% เลยทีเดียว หากทาบ่อยๆ อาจทำให้เด็กผิวแห้งได้ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มที่มีผิวแห้งอยู่แล้ว

เคสตัวอย่าง คุณแม่และคุณยยายพาลูก พาเด้กอ่อนอายุประมาณ 2-3 เดือนมาหาหมอด้วยเรื่องผิวหน้าท้องเป็นผื่นแดง แห้ง แตกถามประวัติแล้วได้ความว่าลูก หลานร้องไห้ กวน เลยเอายามหาหิงคุ์ ทาหน้าท้องให้ทุกครั้ง จนกระทั่งมีผื่นขึ้นที่หน้าท้อง จึงพามาหาหมอ

ยามหาหิงคุ์มีข้อแนะนำและข้อจำกัดในการใช้ ดังนี้ 

  • มหาหิงคุ์ที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะทิงเจอร์มหาหิงคุ์) ไม่ควรให้เด็กรับประทาน เพราะแอลกอฮอล์ปริมาณมากจะมีผลเสียต่อเด็ก แต่ถ้าหยดเพียงเล็กน้อยผสมกับน้ำแล้วรับประทานชั่วครั้งชั่วคราวก็สามารถทำได้
  • ถ้าเป็นยาทาควรทาเฉพาะที่ ในสถานที่อากาศโปร่ง ถ่ายเทสะดวก หรือที่หลายๆ คนได้ลองทำแล้วก็คือ หลังจากทายาที่ท้องแล้ว ใช้ผ้าอ้อมห่อบริเวณท้องเด็ก ก็อาจช่วยให้ท้องอุ่น ช่วยเสริมการออกฤทธิ์ของยาได้ดีขึ้น
  • ควรระมัดระวังไม่ให้ยาเข้าตาหรือสัมผัสกับเนื้อเยื่ออื่น โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแผลหรือรอยถลอก
  • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก และไม่ควรเก็บรวมกับยารับประทานตัวอื่นๆ
  • ควรสำรวจวันหมดอายุของยา เนื่องจากการเก็บยาไว้นานๆ จะทำให้ตัวยาออกฤทธิ์สลายตัวและให้ผลได้ไม่เต็มที่
  • หลังทา หากมีผื่น  ผิวแห้งมาก ลอกเป็นขุย  ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์
  • เพราะฉะนั้นควรใช้ยามหาหิงคุ์ อย่างระมัดระวัง หากพบว่าลูกผิวแห้ง แตก ลอกเป็นแผ่น ควรเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว หรือปรึกษาแพทย์

Mamaexpert Tips :
ลูกจะเป็นภูมิแพ้หรือไม่? ต้องรู้ให้ไวที่สุด เพื่อจะได้ป้องกันได้ทันก่อนลุกลามไปสู่อาการแพ้อื่นๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เองอาจไม่ทราบว่าอาการที่ตนเป็นอยู่คืออาการภูมิแพ้ที่อาจส่งต่อไปยังลูกได้เช่น ไอจามเป็นชุด, คัดจมูก, หายใจไม่อิ่ม, นอนกรน
วันนี้คุณสามารถรู้ความเสี่ยงภูมิแพ้ของลูกได้ง่ายๆด้วยตัวคุณเอง แค่คลิกเช็คความเสี่ยงภูมิแพ้ กับแบบทดสอบที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รู้ทันและหาวิธีป้องกันภูมิแพ้ให้กับลูกน้อย

บทความแนะนำเพิ่มเติม 

  1. เรื่องลูกแหวะนมแม่ต้องรู้!!!
  2. ลูกอาเจียนหลังป้อนยา ต้องป้อนซ้ำหรือไม่
  3. 7 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เด็กท้องผูกและรักษาอย่างถูกวิธี

เรียบเรียงโดย  :  Mamaexpert Editorial Team

ขอบคุณข้อมูล เคสตัวอย่างและรูปภาพ คลีนิกหมอสังคม (Sungkom Clinic)