10 อาการปวดหัวที่คุณต้องรักษาให้ถูกวิธี

02 March 2016
47803 view

อาการปวดหัว

อาการปวดหัว เป็นการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยๆ ซึ่งคุณไม่ควรละเลย เพราะอาการปวดหัวนั้น ต้องแยกให้ออกว่า ปวดแบบไหน เพราะนั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า อาการปวดแต่ละอย่างที่คุณเป็นอยู่ บ่งบอกโรค ทางการแพทย์แบ่งแยก ออกเป็น3 ปวดหัวปกติต้องพักผ่อน ปวดหัวมากต้องรักษา และ ปวดหัวรุนแรงต้องรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน และอาการปวดหัวแบ่งย่อยออกเป็น อาการ ดังนี้

1.อาการปวดหัวฉับพลัน (Emergency headache)

อาการแสดง ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน หน้ามืด และรู้สึกปวดหัวเหมือนหัวจะระเบิด บางรายมีไข้และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากได้รับแรงกระแทกบริเวณศีรษะ รวมทั้งภายหลังเคลื่อนไหวศีรษะเร็วและแรง อีกทั้งยังอาจปวดคอ เกิดอาการชาที่ใบหน้า ลิ้น และปาก จนส่งผลกระทบกับการพูด พร้อมทั้งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุ ปวดหัวทันทีทันใด เกิดจากความเครียดอย่างสูง ซึ่งมีผลต่อระดับความดันโลหิตและการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง รวมทั้งอาจมีสาเหตุจากแรงกระแทกที่ค่อนข้างรุนแรงบริเวณศีรษะ และเนื้องอกที่สมองก็ได้
การรักษา พบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน 

2.ปวดหัวเรื้อรัง (Chronic daily headache)

อาการแสดง  ปวดหัวเรื้อรังหมายถึง ปวดหัวติดต่อกันมากกว่า 15 วันต่อเดือน และปวดอย่างนี้เรื่อย ๆ เกิน 3 เดือน ในบางรายอาจมีอาการไข้และปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่ร่วมด้วย

สาเหตุ สาเหตุของอาการปวดหัวเรื้อรังอาจเกิดจากพฤติกรรมกินยาแก้ปวดติดต่อกันนานเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับยาปริมาณมากเกิน พร้อมกันนั้นอาจวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากโรคไมเกรนและเนื้องอกในสมองได้อีกทางหนึ่งด้วย
วิธีรักษา เริ่มแรกควรหยุดใช้ยาแก้ปวดที่กินเป็นประจำก่อน จากนั้นอาจรักษาโดยใช้ยาแก้อาการเศร้าซึม ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ เช่น อะทีโนลอล (Atenolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), โพรพาโนลอล (Propanolol) ซึ่งเป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคไมเกรน หรือยาแก้อาการชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin), โทพิราเมต (Topiramate) แม้กระทั่งยาแก้ปวดอย่าง นาโพรเซน (Naproxen) และการทำโบท็อกซ์บรรเทาอาการปวด

3. ปวดหัวไมเกรน (Migraine)

อาการแสดง  มีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดแบบหนัก ๆ ในรายที่อาการหนักมากอาจวียนศีรษะและอาเจียนร่วมด้วย หรือบางรายอาจมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง แต่ปวดตุบ ๆ ติดกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทั้งนี้อาการปวดหัวไมเกรนนับเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง

สาเหตุ  สาเหตุของปวดหัวโรคไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักจะเอนเอียงไปทางความผิดปกติชั่วคราวของหลอดเลือดสมองและสารเคมีในสมอง ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังเป็นผลพวงจากการสะสมความคเรียด พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอติดกันเป็นเวลานานด้วยนะคะ
การรักษา ในเบื้องต้นสามารรถรับประทานยาบรรเทาอาการปวดได้ โดยใช้ยาแก้ปวดจำพวกอะซีตะมิโนเฟน (Acetaminophen), ไอบูโพรเฟน และทริปเทนต์ (Triptan) หรือยารักษาโรคไมเกรน แต่อย่างไรก็ดีคววรเข้ารับการรักษาจากแพทย์อีกทางหนึ่ง

4. ปวดหัวชนิดรีบาวน์ด (Rebound headache)

อาการแสดง ปวดศีรษะเกือบทุกวัน โดยเฉพาะหลังตื่นนอน อาจปวดที่บริเวณขมับหรือทั้งศีรษะเลยก็ได้ ส่วนความรุนแรงแล้วแต่อาการของแต่ละคน

สาเหตุ  เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะยาแก้ปวดจำพวกอะซีตะมิโนเฟน (Acetaminophen) หรือไทลินอล, แอสไพริน และไอบูโพรเฟนเกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งยารักษาโรคไมเกรน (Triptans) เกิน 10 วันต่อเดือนด้วย ซึ่งเมื่อเรากินยาแก้ปวดติดต่อกันนาน ๆ จนร่างกายเกิดความเคยชิน อาการปวดก็จะถูกฤทธิ์ยากดไว้ ทว่าพอฤทธิ์ยาในร่างกายหมดไป อาการปวดหัวฟื้นกลับมาแสดงอาการอีกครั้งในทันที
การรักษา อาการปวดหัวชนิดนี้ทำได้เพียงแค่ปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ปรับสมดุลปริมาณยาในร่างกายของเราให้เข้าที่เข้าทาง

5.ปวดหัวจากความเครียด (Tension headache)

อาการแสดง  ปวดหนัก ๆ ที่ขมับทั้งสองข้าง เหมือนมีแรงดันจากภายในแต่ไม่ปวดแบบตุบ ๆ อาจเกิดตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง และมาก บางครั้งอาจมีอาการปวดที่ ต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย

สาเหตุ เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกกดดันในบางเรื่องจนทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดเกร็ง หรือแม้แต่การนั่งและนอนผิดท่า การใช้สายตามากเกินไป และแม้แต่อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิเย็นจัด ก็เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อรอบคอเกร็งจนกระทบกับสมอง นำไปสู่อาการปวดหัวได้เช่นกัน
การรักษา ในเบื้องต้นสามารถรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดจำพวกไทลินอล, แอสไพริน และไอบูโพรเฟนได้ หรือจะไปนวดคลายกล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ปริมาณยาแก้ปวดที่จะกินควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรด้วยนะคะ

6.ปวดหัวจากปัญหาสุขภาพฟัน (Dental headache)

อาการแสดง ปวดหัวสองข้างหรือข้างเดียว รัดรึงที่หัว ปวดรอบ ๆ ดวงตา ปวดร้าวแนวกรามและขากรรไกร บางรายอาจมีอาการกัดฟันในตอนกลางคืนร่วมด้วย และสัมผัสได้ถึงอาการปวดศีรษะเมื่อเอามือไปแตะที่หน้าผาก พร้อมทั้งเมื่ออ้าปากอาจมีเสียงดังกึ้กให้ได้ยินเบา ๆ
 สาเหตุ เกิดจากปัญหาความผิดปกติของข้อขมับและขากรรไกรล่าง ที่ทำให้การสบฟันผิดปกติไปด้วย จนเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อที่ควรได้รับการพักผ่อนต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นหลายเท่า นานเข้าจึงส่งสัญญาณความเมื่อยล้ามาเป็นอาการปวดหัว
วิธีรักษา ปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการผิดปกติและหาทางรักษาคุณต่อไป ซึ่งอาจจะต้องเอกซเรย์ข้อต่อขากรรไกร และสำรวจความผิดปกติของสัมผัสฟันที่มีปัญหาอยู่ด้วย

7. ปวดหัวชนิดคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

อาการ ปวดแต่ละครั้งไม่นาน ราว 5 นาที หรือสูงสุด 3 ชั่วโมง แต่จะรู้สึกปวดหัวแบบทรมานเหมือนจะตายเลยทีเดียว และอาการปวดจะเกิดขึ้นบ่อยแต่เป็นเวลาที่แน่นอน และมักจะมีอาการน้ำตาไหลข้างเดียวและมีเส้นเลือดแตกในตา ทำให้เกิดอาการตาแดง
สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไพเนียลและนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ประสาทสมองที่ 5 ซึ่งทำให้ระบบการส่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทปรวนแปร ส่งผลกระทบให้ประสาทสัมผัสอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา และน้ำมูกทำงานผิดปกติ รวมทั้งปล่อยสารเคมีบางชนิดไปที่เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura) ทำให้เกิดอาการปวดหัวในเวลาต่อมา
วิธีรักษา ควรพบแพทย์  บรรเทาอาการได้โดยใช้ยากลุ่มทริปเทนต์ (Triptan) หรือยารักษาโรคไมเกรน และการสูดดมออกซิเจน ขนาด 10 ลิตรผ่านหน้ากากให้ออกซิเจนก็ได้

8. ปวดหัวจากการมีเพศสัมพันธ์ (Orgasm headaches)

อาการแสดง ปวดจี๊ดที่ศีรษะอย่างฉับพลัน มักจะเกิดในช่วงใกล้ถึงจุดสุดยอดหรือในบางรายอาจปวดก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นได้ โดยมีแนวโน้มเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาการปวดจะคงตัวอยู่ได้นาน 1 ชั่วโมงถึง 1 วันเลยทีเดียว
สาเหตุ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดศีรษะชนิดนี้ แต่ที่จับสังเกตได้คืออาการปวดจะหายไปเองโดยอัตโนมัติ และอาจไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การรักษา ยาบรรเทาอาการปวด หากเคยปวดหลังจากถึงจุดสุดยอดมาก่อน รับประยาบรรเทาปวดก่อนมีเพศสัมพันธ์เป็นอีกทางเลือกที่ดี แต่หากเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์

9. ปวดหัวจากไซนัสอักเสบ (Sinus headaches)

อาการแสดง ปวดหัวจากไซนัสอักเสบมีความคล้ายคลึงกับอาการหวัดทั่วไปและอาการปวดหัวไมเกรนมากจนแทบแยกไม่ออก อาการส่วนมากจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ บริเวณหน้าผาก ร้อนผ่าวกระบอกตา ลามไปถึงโหนกแก้ม
สาเหตุ เกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อโพรงจมูก ซึ่งส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นหดเกร็งจนอาจรู้สึกปวดศีรษะได้
การรักษา รักษาโรคไซนัสให้หายเป็นปกติได้ อาการปวดหัวก็จะหายไปพร้อมกัน หรือบางรายที่อาการไซนัสไม่รุนแรง ร่างกายจะสามารถรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาใด ๆ

10. อาการปวดหัวในช่วงรอบเดือน (Menstrual headaches)

อาการแสดง อาการปวดของเพศหญิงวัยมีประจำเดือนมักเกิดก่อนมีประจำเดือนหรือหลังเป็นประจำเดือนประมาณ 2-3 วัน การปวดดังกล่าวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปวดPMS ส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ขึ้นลงๆของเพศหญิงด้วย
สาเหตุ เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ปวดศีรษะ และมีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ร่วมด้วย
การรักษา แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มักเกิดอาการ PMS อย่างรุนแรงทุกครั้งที่เป็นประจำเดือนรับประทานอาหารแมกนีเซียมสูงได้แก่ กล้วย, อะโวคาโด, ถั่ว, เม็ดมะม่วง, โยเกิร์ต, เต้าหู้, ปลาทูน่า มากกว่าการเลือดรับประยาแมกนีเซียมชนิดเม็ด
ไม่ว่าจะปวดหัวแบบไหนก็ตาม หากคุณมีอาการปวดเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ควรพบแพทย์ เพราะการรับประทานยาบรรเทาปวดติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน ส่งผลต่อการทำงานของตับ อันตรายต่อร่างกาย และคุณอาจมีโรคอื่นแทรกซ้อน ซ่อนอยู่

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. สุดยอดวิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเอง!! ภายใน 5 นาที

2. ลดอาการปวดประจำเดือน ง่ายๆ ด้วยกล้วยหอม!!

3. ช็อกโกแลตซีสต์ โรคฮิตของวัยมีประจำเดือน

เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team