เทคนิค 4 ด. เทคนิคอมตะ ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้สำเร็จ

10 February 2016
38283 view

เทคนิค 4 ด.

คุณแม่ทุกคนตั้งใจ จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวให้นานที่สุดโดยปราศจาคอุปสรรค เป้าหมายนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม หากใช้เทคนิค 4 ด.นี้ค่ะ 

เทคนิค 4 ด. ข้อที่ 1 ดูดเร็ว

เทคนิคในข้อนี้เน้นให้คุณแม่ทุกคนหลังลอดบุตรแล้ว หากฟื้นตัวดีแล้วและลูกอยู่ในสภาพร่างกายปกติ ให้นำมาดูดกระตุ้นนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การดูดกระตุ้นนี้ ทำได้เลยไม่ต้องรอให้มีน้ำนม ต้องระตุ้นทุก สองชั่วโมง ครั้งละ 10 นาที ทั้ง สองข้าง

  • คุณแม่คลอดธรรมชาติ ค่อนข้างได้เปรียบในข้อนี้เพราะหลังคลอด 2 -6 ชั่วโมง อาการปวดแผลและเมื่อยล้าจากการคลอดจะทุเลาลงแล้ว สามารถเตรี่ยมความพร้อมในการให้นมบุตรได้ทันที
  • คุณแม่คลอดโดยการใช้สูติศาสตร์หัตการ ได้แก่ คลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือ คลอดโดยใช้คีม อาจพักพื้นตัวนานกว่าคุณแม่คลอดธรรมชาติ
  • คุณแม่ผ่าตัดคลอดบุตร  หลังคลอด คุณแม่กลุ่มบล็อคหลังมีข้อจำกัดต้องนอนราบ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นการให้นมมื้อแรกต้องหลังจากที่คุณแม่ปลอดภัยจากการบล็อคหลังแล้ว

เทคนิค 4 ด. ข้อที่ 2 ดูดบ่อย

หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา คำนี้ใช้กับทารกแรกเกิด 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอดไม่ได้ เนื่องจากทารกพกปิ่นโตมาด้วย หมายถึง ทารกมีปริมาณสารอาหารที่ได้จากรกของแม่ก่อนคลอดออกจากท้องแม่ เพราะฉะนั้นทารกส่วนใหญ่ จะมีพฤติกรรมหลับ  ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  คุณแม่เห็นลูกหลับไม่กล้าปลุก ไม่ได้ค่ะ คุณแม่ทำผิด ถึงแม้ลูกจะหลับคุณแม่สามารถปลุกลูกให้ดูดนมแม่ได้เลย ทุกๆ 2 ชั่วโมง สม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วมากขึ้น

เทคนิค 4 ด. ข้อที่ 3 ดูดถูกวิธี

ดูดถูกวิธีมีผลต่อสุขภาพแม่และลุก คือ หากลุกดูดถูดวิะี จะได้รับน้ำนม อิ่มท้องนอนหลับ ไม่ร้องกวน หากลุกดูดผิดวิธี แม่หัวนมแตก เจ็บ ท้อแท้ อยากหยุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะหมดไป หากคุณแม่ใช้เทคนิค ด.ที่ 3 ดูดถูกวิธี มีดังนี้

  • ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก แบะๆลักษณะเหมือนปากปลา คางของลูกจรดกับเต้านมแม่ จมูกลูกไม่ถูกสิ่งใดกดเบียด
  • ขณะดูดนม สังเกตเห็นขากรรไกรและใบหูของลูกขยับเล็กน้อยตามจังหวะการกลืน ลูกออกแรงดูดน้ำนมจากเต้าแม่โดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมเป็นจังหวะสม่ำเสมอ หากมีน้ำนมแล้วแม่จะได้ยินเเสียงลูกกลืนนมเป็นจังหวะ
  • ลูกหยุดดูด แม่กระตุ้นใต้คางเบาๆ เพื่อให้ลุกดูดต่อ หากลูกเอาปากออกจากหัวนมแม่ ไม่ดูดต่อ หมายถึงลูกอิ่ม

เทคนิค 4 ด. ข้อที่ 4 ดูดเกลี้ยงเต้า 

เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนคาดไม่ถึง กับการดูดนมแม่จากอก ทำไมต้องรีดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าด้วย  ข้อนี้พลาดไม่ได้จริงๆค่ะ เพราะน้ำนมของแม่มีสอง ส่วน คือ น้ำนมแม่ส่วนหน้า และน้ำนมแม่ส่วนหลัง นมแม่ส่วนหลังจะมีโปรตีนและไขมันสูงกว่านมส่วนหน้า ลักษณะข้นกว่า นมแม่ส่วนหลังมีไขมันดี อุดมไปด้วย omega AA ARA มีคอเรสเตอรอลที่จะสร้างใยสมอง ซึ่งในนมผงไม่มีคอเลสเตอรอลชนิดนี้ และไม่สามารถเลียนแบบได้

32014


ทราบได้อย่างไรว่าลูกดูดน้ำนมเกลี้ยงเต้าแล้ว

  • หลังให้ลูกดูดนมเสร็จแล้ว เต้านมนิ่มลงทั้งเต้า
  • อาการเจ็บตึงที่เต้านมหรือที่เรียกว่านมคัดก็หายไปด้วย
  • ถ้ายังไม่แน่ใจให้ลองบีบเต้านมดู  น้ำนมจะไม่พุ่งแต่ออกมาเพียง 1-2 หยดเท่านั้น

Mamaexpert สนับสนุนให้คุณแม่ทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ เพราะนมแม่คือขุมทรัพย์วิตามินบำรุงสมองและร่างกายของลูกที่ดีที่สุดในโลก สู้ๆทุกคนค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. ทำอย่างไรเมื่อน้ำนมมาน้อยลูกดูดนมไม่อิ่ม

2. ปัญหาที่เกิดกับแม่เลี้ยงลูกด้วยนมและวิธีป้องกัน

3. ท่าให้นมลูกแต่ละท่ามีข้อดีต่างกันอย่างไร

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team