ไข้ซิกา โรคร้ายไร้วัคซีน ส่งผลต่อสมองทำงานผิดปกติ

07 January 2016
2831 view

ไข้ซิกา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข้ซิกา

Zika คือโรคติดเชื้อไวรัสที่มาจากยุงลาย หรือเรียกอีชื่อว่าไข้ซิกา  เป็นอีกโรคร้ายแฝงเงียบมากับยุง ส่งผลตรงต่อระบบสมอง โดยเฉพาะเด็กในครรภ์ โตช้า แคระแกร็น ไม่ปกติ ไม่ใช่โรคใหม่แต่ไม่คุ้นหูเพราะตรวจพบน้อย เคยตรวจพบระบาดมากในประเทศบลาซิล เมื่อปี 2557

โรคไข้ซิกา คืออะไร

โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกาเป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก สาเหตุหลักของการติดเชื้อเกิดจากการโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกาติดและช่องทางอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านทางเลือด การแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์

อาการไข้ซิกา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข้ซิกา

จะมีระยะฟักตัวประมาณ 4 ถึง 7 วัน จากนั้นจะมีอาการ ไข้ ผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง ปวดข้อ หน้ามืดเวียนศรีษะบ่อยขึ้น เยื่อบุในตาอักเสบ ตาแดง ปวดตามข้อ ท้องร่วง และต่อมน้ำเหลืองโต (ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน)

พาหะนำโรคไข้ซิกา

ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ตัวการสำคัญที่นำพาเชื้อไวรัสดังกล่าวและแพร่กระจายไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคไข้เหลือง ไข้เลือดออกและไวรัสชิคุนกุนย่า

ความรุนแรงของโรคไข้ซิกา

ความรุนแรงของไวรัสซิกาเป็นเชื้อโรคที่อันตรายและร้ายแรงมาก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวไหนที่สามารถตอบโจทย์ในการรักสาเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ ทำได้เพียงแค่ควบคุมและลดปริมาณในการขยายตัวของยุงลาย โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของโรคในวงกว้าง

วิธีการป้องกันโรคไข้ซิกา

วิธีการป้องกันโรคไข้ซิกา จะต้องระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด วิธีนี้สำคัญที่สุด โดยใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการทำความสะอาด การเทน้ำทิ้ง หรือปิดฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำได้ เช่น กระถางต้นไม้ เพื่อป้องกันน้ำขังอันจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไข้ซิกา

หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาทันที และคุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด แต่หากจำเป็นต้องเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์และป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. โรคร้ายในเด็กแต่ละช่วงวัย

2. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง