เริ่มต้นอย่างถูกต้อง ด้วยภูมิต้านทานที่เหนือกว่า คือพื้นฐานความสำเร็จในอนาคตที่เหนือใคร

04 November 2015
460 view

คุณแม่ทุกคนคงต่างที่จะอยากเห็นความสำเร็จในอนาคตของลูกด้วยกันทั้งนั้น และนั่นคงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่พยายามทุ่มเทให้กับลูกอย่างเต็มที่ แต่ยิ่งหากคุณแม่รู้วิธีที่จะเริ่มต้นเร็วอย่างถูกต้องให้ลูกตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต นั่นก็อาจยิ่งปูทางให้เขาไปสู่ความสำเร็จได้เร็วขึ้น

อย่างที่คุณแม่ทราบดีว่าช่วงแรกของชีวิต คือตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งผลต่อไปในระยะยาวตลอดชีวิตของเขา ช่วงระยะเวลานี้จึงเป็นโอกาสทองที่คุณแม่จะต้องเริ่มต้นสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้กับลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ระบบภูมิต้านทาน’ ของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสกัดกั้นไม่ให้อุปสรรคเข้ามาแทรกแซงพัฒนาการในทุกๆ ด้านของลูก ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาทและสมอง ระบบโครงสร้างของร่างกาย ระบบเมแทบอลิซึม และระบบย่อยอาหาร

Synbiotic - HiRes   สถาบันวิจัยนิวทริเซีย ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการช่วงแรกของชีวิตได้ทำการวิจัยและคิดค้น ซินไบโอติก ที่ช่วยสร้าง ‘ภูมิต้านทานที่เหนือชั้นกว่า’ โดยทำการวิจัยกับเด็กในช่วงอายุ 11-29 เดือน ในช่วงเข้าเรียนเตรียมอนุบาล ซึ่งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย จำนวน 756 คนจาก 5 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาในการทำการวิจัยทั้งสิ้น 12 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมทุกฤดูกาล อ้างอิงตามมาตรฐานการวิจัยที่ดี ซึ่งผลการวิจัยพิสูจน์แล้วว่า การได้รับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว เช่น ดีเอชเอ ร่วมกับ พรีไบโอติกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ซินไบโอติก สามารถช่วยให้เด็กไม่มีอาการเจ็บป่วยตลอดปีได้มากกว่า* ซึ่งนั่นเท่ากับว่าจะช่วยให้ลูกยิ่งมีพัฒนาการที่พร้อมอย่างเต็มศักยภาพสูงสุดในทุก ๆ ด้าน

Jessy

ด้วยพื้นฐานร่างกายที่พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่ในช่วงวัยที่สำคัญที่สุดนี้ ความสำเร็จในอนาคตของลูก อาจมาถึงเร็วขึ้นก็เป็นได้

*งานวิจัย ‘บทบาทของพรีไบโอติกในการช่วยลดการติดเชื้อในเด็กอายุ1-3ปี’ (พรีไบโอติกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในซินไบโอติก) โดยการวัดผลจะนับจำนวนการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารในกลุ่มทดลอง โดยผลการวิจัยพบว่า เด็กราว 1 ใน 4 ไม่มีการเจ็บป่วยตลอดปี

Chatchatee P., et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2014; 58: 428-437 โดยเด็กได้รับ GOS/lcFOS (9:1) 6 กรัม และ DHA 100 มิลลิกรัม ต่อวัน

ตรวจสอบข้อมูลโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจรุงจิตร์ งามไพบูลย์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซินไบโอติก: http://www.hiqkidsclub.com/research/synbiotic