ลูกโป่งวิทยาศาสตร์เป้นของเล่นที่อยู่คู่คนไทยมานานหลายสิบปีแล้ว หายไปอยู่นาน วันนี้ได้กลับมาเป้นของเล่นยอดนิยมของเด็กยุคปัจจุบัน เพราะลูกโป่งวิยาศาสตร์เป็นที่นิยมนำมาขายในตลาดโบราณสถานที่เที่ยวตามจังหวัดต่างๆ เด็กๆเล่นแล้วเพลินดี และผู้ปกครอบหลายบ้านอาจจะยังไม่ทราบว่า ของเล่นชิ้นโปรดของลูกชิ้นนี้มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่มาก ทีเดียว
ลูกโป่งวิทยาศาสตร์มีสารอะไร ทำไมถึงอันตราย
“ลูกโปงวิทยาศาสตร” หรือ “ลูกโปงพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” มีสารเคมมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สาร Ethyl Acetate หรือเอทิล อะซิเตท อักษรย่อ EA ซึ่งเป็นสารละลายชนิดเดียวกับที่มีอยู่ในกาวและทินเนอร์ ขณะที่เด็กๆเป่าลุกโป่งวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนานนั้น จะสูดดมสาร เอทิล อะซิเตท นี้เข้าไปในปอดด้วย หากลูกเล่นเป็นเวลานาน นาน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเหมือนการสูดดมกาว ทินเนอร์ได้เช่นกันออาการที่บ่งบอกว่าลูกรักของคุณอาจได้รับสาร เอทิล อะซิเตท ในปริมาณเกินขนาดและอันตรายต่อร่างกายได้แก่
- ระคายเคืองตา จมูก คอ และระบบทางเดินหายใจ
- เมาคล้ายเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ ไม่ชัด ควบคุมตัวเองไม่ได้
- อาจกระตุ้นระบบประสาททำให้ ร่าเริง ตื่นเต้น นอนไม่หลับ
- หรือระยะยาวจะกดระบบประสาท ทำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าสูดดมมาก อาจกดศูนย์การหายใจ ทำให้หยุดหายใจจนเสียชีวิตได้ อันตรายมากจริงๆ
ปัจจุบันคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประกาศห้ามเล่นเป่าลูกโป่งวิทยาศาสตร์และจัดให้ลูกโป่งวิทยาศาสตร์เป็นสินค้าผิดกฎหมาย ห้ามจำหน่าถาวร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2549 คุณพ่อ คุณแม่ต้องดูแลระมัดระวังของเล่นด้วย และอย่าเผลอซื้อให้ลูกเล่นเชียวนะคะ
ขอบคุณข้อมูล : คําสั่งคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค