การนวดทารก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและประโยชน์มากมายจากการนวดทารก

02 November 2017
58652 view

การนวดทารก 

การนวดทารกมีประโยชน์มากมายที่คุณแม่คาดไม่ถึง การนวดเด็กก็เหมือนในผู้ใหญ่ ทำให้ผ่อนคลาย  เด็กสุขภาพดี ส่งผลให้พัฒนาการหลายๆด้านดีตามไปด้วย ขณะนวด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการได้ยินจากการที่คุณแม่พูดกับเขาอยู่ตลอด หรือเปิดเพลงคลอไปด้วย ส่งเสริมพัฒนาการการมองเห็นในหนูน้อย น้อยกว่า 3 เดือน ช่วงนวดคุณแม่มีโอกาสที่จะยื่นหน้าเข้าหนลูกน้อยอยู่บ่อยๆ ทำให้เขาเรียนรู้อวัยวะต่างๆ บนใบหน้าของคุณแม่  คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยง ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมในการนวดคือ เวลาที่ลูกไม่โยเย ก่อนมื้อนม หรือหลังอาบน้ำ และผู้นวดต้องไม่เครียดด้วยนะคะ การนวดถึงได้ดำเนินไปด้วยดี

ประโยชน์ของการนวดทารก

  1. การนวดช่วยผ่อนคลาย คลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เด็กอารมณ์ดี  พัฒนาการดีตามไปด้วย
  2.  การนวด ช่วยไล่ลม ในช่องท้องลดอาการท้องอืด ส่งเสริมการย่อย  ในเด็กโคลิกแนะนำนวดเพื่อบำบัดอากรโคลิคได้
  3.  การนวด เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของแม่และลูก ขณะนวด คุณแม่ได้มีโอกาสพูดคุย ลูกก็จะส่งเสียงตาม อ้อแอ้
  4.  การนวด เป็นการช่วนให้คุณแม่ได้สังเกตเห็นถึงอาการผิดปกติต่างๆของลูกเช่น  ผิวหนัง ผดผื่นตามบิเวณอื่นๆ
  5. การนวดช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เพราะลูกได้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อไหวตามไปด้วย หากลำไส้เคลื่อนไหวดี การขับถ่ายคล่องตัว ท้องไม่ผูกด้วย

สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ก่อนการนวดทารก

  1.  ขณะนวดควรพูดคุยกับทารก ร้องเพลงหรือเปิดเพลงเบาๆ
  2. ไม่นวดบริเวณที่เป็นจุดบอบบางของทารก
  3.  สังเกตปฏิกิริยาทารกที่มีต่อการนวดสัมผัส และคอยสังเกตว่าทารกชอบให้นวดบริเวณใดเป็นพิเศษหรือไม่ หากไม่ชอบ ร้องไห้หรือแสดงอาการไม่พอใจอื่นๆ ให้หยุด
  4.  ช่วงเวลาที่เหมาะสม หลังอาบน้ำหรือ เวลาที่แม่ลูกอารมณ์ดีทั้ง 2 ฝ่าย คุณแม่หงุดหงิดไม่ควรนวดลูกเพราะเด็กสัมผัสได้ถึงความเครียดของแม่ณ เวลานั้นๆ และอีกอย่างคุณแม่อาจเผลอลงน้ำหนักแรงไป ในการนวดเนื่องจากอารมณ์ขึ้นๆลงๆ
  5. เวลาในการนวด  30 – 40 นาที
  6. อายุที่เหมาะสม  สามารถนวดได้ตั้งแตต่แรกเกิด

อุปกรณ์ในการนวดทารก 

  1. ผ้ารองที่นุ่มๆ สำหรับวางทารก
  2. แป้ง หรือ ออยด์

ขั้นตอนการนวดทารก

  1.  ล้างมือและแขนให้สะอาด
  2. ถอดเครื่องประดับออกให้หมดก่อนเช่น แหวน กำไล นาฬิกา สร้อยข้อมือ เข็มกลัด เป็นต้น
  3. ตัดเล็บให้สั้นและสะอาด
  4. ถอดเสื้อผ้าทารกออกทั้งหมด วางบนเบาะสำหรับนวด หากอากาศหนาว หรือมือแม่เย็น ควรวอร์มมือ ด้วยการนำมือมาถูกันไปมา เพื่อให้มืออุ่น ค่อยทำการนวด หากมือแม่เย็น ลูกจะร้องตกใจได้
  5. เทแป้ง ชนิดไร้สารทัลคัม ลงในมือแม แล้วทาบริเวณที่ต้องการนวด เพื่อให้นวดได้ง่ายลื่นมือ ไม่ควรทาเยอะ ระวังฟุ้งกระจายเข้าจมูกลูก  หากไม่ใช้แป้ง ให้ใช้ออยล์สำหรับเด็ก เทลงบนผ่ามือแม่ และแม่ค่อยๆทาบริเวนที่ต้องการนวด

1.ท่านวดบริเวณใบหน้า การนวดทารก บริเวณใบหน้า จุดเน้นบริเวณใบหน้าและหน้าผาก ประโยชน์ของท่านี้าช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณหน้าผาก ลายเสนประสาทลดวามตึงเครียด ส่วนบริเวณปาก ช่วยกระตุ้น การกินการดูดกลืนของลูกน้อยและยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในช่วงที่ฟันของลูกกำลังเริ่มขึ้นด้วย

  • เริ่มต้นด้วย วางมือทั้ง2 ข้างบริเวณหน้าผากคล้ายๆกับที่คาดผม แล้วลากลงระหว่างหน้าผากทั้ง2 ข้างเบาๆ 5ครั้ง

    bm_face3
  • ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางตรงกลางเหนือริมฝีปากบน แล้วลากออกมาเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากลูกวนซ้ำ 5 ครั้ง
  • ต่อด้วยนวดบริเวณริมฝีปากล่างในแบบเดียวกันอีก 5 ครั้ง

bm_face5

 

2.การนวดหน้าอก  ช่วยเสริมจังหวะการทำงานของปอดและหัวใจของลูกให้ดีขึ้นช่วยให้เด็กหายใจได้อย่างปลอดโปร่ง

  • ใช้ผ่ามือทั้งสองข้าง ลูบไล้จากบริเวณกลางหน้าอก แยกมือออกจากกัน ไปทางด้านข้างของลำตัว ตามแนวซี่โครง โค้งลงมาชนกันที่กลางท้องน้อย โดยให้แนวการนวด เหมือนการวาดรูปหัวใจ ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • ทำเหมือนเดิม 5ครั้ง

bm_chest1bm_chest

3.การนวดแขน

  • จับข้อมือลูกยกขึ้นเหนือศีรษะ นวดบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นนวดต่อมน้ำเหลืองใต้ รักแร้ (ทำเหมือนกันทั้งสองข้าง)
  • นวดแขนลูกทีละข้าง โดยจับแขนลูกแล้วยกขึ้น แล้วใช้มืออีกข้าง จับรอบแขน นวดคลึงเป็นห่วงวงกลม จากต้นแขน ค่อยๆเคลื่อนไปสู่ข้อมือ แล้วเคลื่อนลงไปต้น แขน ขึ้น-ลง (ทำ5ครั้ง)
  • ต่อจากนั้น ใช้หัวแม่มือ กดฝ่ามือเบาๆ(ทำเหมือนกันทั้งสองข้าง)

bm_arm
bm_arm2

4.การนวดกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร

  • ใช้ผ่ามือลูบเป็นเส้นตรง จากใต้ราวนมด้านซ้าย ถึงบริเวณท้องน้อยเป็นรูปตัวไอ (ทำ5ครั้ง)
  • ใช้ผ่ามือลูบเป็นรูปตัวแอลกลับหัว บริเวณท้อง โดยเริ่มจากซ้ายไปทางขวา (ของผู้นวด)(ทำ5ครั้ง)
  • ใช้ผ่ามือลูบเป็นรูปตัวยูคว่ำ โดยเริ่มจากซ้ายไปขวาของผู้นวด(ทำ5ครั้ง)
  • วางฝ่ามือทั้งสองตั้งฉาก โดยเริ่มจากใต้ราวนม เคลื่อนมือลงด้านล่าง ถึงบริเวณท้องน้อย ทีละข้าง ทำเป็นจังหวะ เมื่อมือข้างหนึ่งเคลื่อนลงจนสุดก็เริ่มอีกข้างหนึ่งเคลื่อนลงล่าง ทำสลับกัน(ทำ5ครั้ง โดยนับมือหนึ่งมือใดเป็นหลัก)

bm_abdo5

bm_abdo2 (1)

bm_abdo3

 

5.การนวดขา และเท้า   ท่าจะคล้ายกับท่านวดแขนและมือเนื่องจากเท้าและข้อเท้าของลูกมีความสำคัญเพราะเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัวเมื่อหัดยืนและเดินการนวดเท้าจะเป็นการเตรียมพร้อมให้ลูกในการหัดยืนและเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า

  • นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นแล้วใช้มืออีกข้างจับรอบขา นวดคลึงเป็น ห่วงวงกลม เริ่มจากต้นขา ค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลง(ทำข้างละ5ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้หัวแม่มือ กดฝ่าเท้าลูกเบาๆ
  • ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขาลูกไปมาสองมือสวนทางกัน โดยเริ่มจากหัวเข่าไปข้อเท้า แล้วคลึงลง (ทำข้างละ5ครั้ง)

bm_leg4 bm_leg3 bm_leg2 bm_leg5

6.นวดหลัง  เด็กๆค่อนข้างชอบท่านวดหลังมากทีเดียวเพราะเป้นท่าที่ลูกน้อยของคุณผ่อนคลายมากที่สุด อาจหลับไปเลยก้ได้ค่ะ

  • จับลูกนอนคว่ำ
  • เริ่มจากบริเวณไหล่ด้านหลัง ถูมือกับหลังในจังหวะเดินหน้า และถอยหลัง โดยให้มือหนึ่ง เคลื่อนลงและอีกมือหนึ่งเคลื่อนลงมาจนถึงก้นกบ แล้วเคลื่อนขึ้น (ขึ้นลง5ครั้ง)

คลิปสาธิตการนวดทารก


ลูกบ้านไหนที่โย เย บ่อยๆ และหลับยาก ท้องอืด ท้องผูกบ่อยๆ คุณแม่ลองนวดในละครั้ง หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งดูนะคะ ลูกคุณแม่ต้องเปลี่ยนไปแน่นอนค่ะ จากเด็กโยเยก็จะกลับมาอารมณ์ดี ขับถ่ายสะดวกท้องไม่อืด เด็กสุขภาพดี พัฒนาการก็จะดีตามไปด้วยค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. วิธีทำให้ลูกเรอแบบฉบับคุณแม่มืออาชีพ

2. ลูกท้องเสียเพราะยืดตัวจริงหรือ?

3. อย่างไรเรียกว่าลูกท้องผูก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team