ปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน เกิดจากอะไร สาวๆ ต้องรู้

18 June 2024
225 view

ปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนต้องเจอ เพราะจะมี อาการก่อนประจำเดือนมา หลายสาเหตุโดยจะมาพร้อมกับอาการหลากหลายที่อาจรบกวนชีวิตประจำวันของคุณ ตั้งแต่ความไม่สบายตัวทางกายสุขภาพไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และอื่นๆ  หนึ่งในอาการที่พบบ่อยมากที่สุดก่อนมีประจำเดือนคือ อาการปวดศีรษะ ซึ่งสร้างความทรมานให้กับสาวๆ ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้เราควรทำความเข้าใจกับสาเหตุก่อน เพื่อจะได้รับมือและป้องกันได้อย่างถูกวิธีนั่นเอง

ปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือนมีหลายสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะการลดลงอย่างรวดเร็วของเอสโตรเจน ซึ่งมักเกิดขึ้น 1-3 วันก่อนมีอาการก่อนประจำเดือนมา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้สมองมีความไวต่อสิ่งเร้าเพิ่มขึ้น ทำให้ความความผันผวนของฮอร์โมนนี้จะยังคงเกิดขึ้นจนกระทั่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับอาการนี้อย่างต่อเนื่องตลอดวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง ก็ยังเป็นอีกระยะที่ผู้หญิงอาจพบกับอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความไม่สบายตัวได้นั่นเอง

วิธีบรรเทา อาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน

แม้อาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือนอาจไม่สามารถกำจัดให้หายขาดได้ แต่มีวิธีบรรเทาอาการที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

การรักษาแบบเฉียบพลัน

วิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แม้ไม่ได้แก้ไขที่สาเหตุ แต่ก็ช่วยลดความทรมานได้มาก โดยส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวดทั่วไป แต่ถ้าใครปวดไมเกรนก็อาจใช้ยารักษาไมเกรนโดยเฉพาะ

การรักษาแบบป้องกัน

เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเป็นประจำและต้องการรักษาให้หายขาด โดยจะใช้ยาทริปเทน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาอาการ หรือการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งอาจช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และทำให้เกิดอาการต่างๆ น้อยลง โดยเฉพาะอาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน

ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล รวมถึงจะได้ตรวจเช็กสุขภาพเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงอีกด้วย เนื่องจากบางคนอาจจะมีอาการปวดหัวเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็ได้

แนะแนวทางป้องกันอาการปวดหัว

หากอาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือนยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งแม้ได้รับการรักษาด้วยยาแล้ว แต่อีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด มีหลายประเภท โดยบางชนิดสามารถช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งอาจช่วยลดหรือกำจัดอาการปวดศีรษะได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดควรทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มใช้ เพื่อเลือกชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เข้าใจทั้งประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการบรรเทาอาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน

อาการใดอีกบ้าง อาจพบได้ในช่วงก่อนประจำเดือนมา

นอกจากอาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือน แล้วยังมีอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ในช่วงก่อนประจำเดือนมา ดังนี้

  1. อารมณ์แปรปรวน ความรู้สึกหงุดหงิด โกรธง่าย ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล หรือรู้สึกซึมเศร้าอย่างฉับพลัน
  2. ปวดท้องน้อย อาการเจ็บปวดหรือรู้สึกเกร็งบริเวณท้องส่วนล่าง มักเกิดเป็นระยะๆ
  3. ปวดหลังส่วนล่าง ความรู้สึกปวดตื้อๆ หรือปวดเกร็งที่บริเวณหลังส่วนล่าง อาจลามไปถึงต้นขา
  4. อาการบวมน้ำ รู้สึกตัวบวม โดยเฉพาะที่ท้อง มือ และเท้า อาจทำให้รู้สึกอึดอัดหรือเสื้อผ้าคับ
  5. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง มีความต้องการอาหารบางประเภทมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารหวานหรือเค็ม
  6. เต้านมคัดตึงหรือเจ็บ รู้สึกเจ็บหรือไวต่อการสัมผัสที่เต้านม อาจรู้สึกหนักหรือเต่งตึง
  7. อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง หรือต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ
  8. ปัญหาการนอน นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือในทางกลับกัน อาจนอนมากกว่าปกติ
  9. สิว เกิดสิวบริเวณใบหน้าหรือลำตัวมากกว่าปกติ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  10. ปัญหาระบบทางเดินอาหาร รู้สึกท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องผูก อาจมีอาการท้องเสียในบางราย
  11. ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ รู้สึกปวดเมื่อยตามข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลังและขา
  12. คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้ หรืออาเจียนโดยไม่มีสาเหตุอื่น
  13. เวียนศีรษะ รู้สึกมึนงง เวียนหัว หรือเสียการทรงตัวเล็กน้อย
  14. ร้อนวูบวาบ รู้สึกร้อนผิดปกติเป็นช่วงๆ คล้ายกับอาการวัยทอง แต่เกิดในช่วงสั้นๆ
  15. ความรู้สึกทางเพศเปลี่ยนแปลง อาจมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ

อาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือนมีหลากหลายรูปแบบและสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรืออาการอื่นๆ อีกมากมายที่ได้กล่าวถึง การเข้าใจและจัดการกับอาการเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้หญิงแต่ละคนควรหาวิธีที่เหมาะสมกับตนเองในการบรรเทาอาการ ซึ่งอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การใช้ยา หรือวิธีธรรมชาติต่างๆ รวมถึงการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็จะช่วยลดการเกิดอาการปวดศีรษะได้ดี

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1.การขับถ่ายของทารก และการแก้ไขหากลูกขับถ่ายผิดปกติ

2.ฝึกการขับถ่ายให้ลูกอย่างไรดี เริ่มเมื่อไหร่

3.ผลไม้แก้ท้องผูก ช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ขับถ่ายง่าย ไม่ท้องผูกบ่อย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

  • No tag available