อาหารติดคอลูกน้อย คุณแม่ต้องรู้ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไร

01 November 2022
1730 view

อาหารติดคอ

.

.

ปัจจุบันเรามักจะเห็นข่าวบ่อย ๆ เกี่ยวกับเรี่องของ อาหารติดคอ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มักนำสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก หรือเกิดจากการเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียดและเกิดจากความรีบกลืน ทำให้มีข่าวสูญเสียเกิดขึ้นมากมาย ทำให้พ่อแม่หลายท่านหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ทำให้การเรียนรู้การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้ วันนี้เราเลยมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล เมื่อมีอาหารติดคอมาฝาก ต้องทำอย่างไรเราศึกษาไปพร้อมกันเลยดีกว่า 

อาหารติดคอลูก เกิดจากอะไร

อาหารติดคอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งนอกจากการทานอาหารแล้ว การนำสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นของเล่นหรืออะไรก็ตามเข้าปากก็มีโอกาสที่จะทำให้ติดคอ หรือเข้าไปติดในหลอดลมได้ นอกจากจะสามารถเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยหรือเด็กเล็กแล้วก็ยังเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนอีกด้วย ซึ่งบางครั้งแม้ว่าจะระวังแค่ไหนก็ตาม โดยเฉพาะในเด็กหากไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด โอกาสที่เด็กจะนำอาหารเข้าปากด้วยตนเองมีสูงมาก เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นเหตตุการณ์สุดวิสัยที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งตัว พ่อแม่และทุกคนจึงควรศึกษาและเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น เพราะหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นกับคนใกล้ตัวจะได้สามารถรับมือได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง

อาการเมื่อลูกมีอาหารติดคอ

อาหารติดคอ ถือเป็นอาการที่น่ากลัวหากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที โดยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมีสูงมาก เด็กเล็กบางคนยังเล็กเกินที่จะพูดหรือบอกอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองเมื่อมี อาหารติดคอ ดังนั้นพ่อแม่อย่างเราๆ จึงควรหมั่นสังเกตลูกน้อยบ่อย ๆ เมื่อทานอาหาร และหากเมื่อไหรก็ตามที่สังเกตเห็นอาการต่อไปนี้ระหว่างทานอาหาร ให้สันนิฐานเลยว่า อาหารติดคอ และรีบช่วยเหลืออย่างถูกต้องทันที 

  • สำลักอาหาร หรือมีอาการไอระหว่างการทานอาหารอย่างรุนแรง และมีลักษณะเป็นการไออย่างต่อเนื่อง 
  • หายใจไม่ออก หรือมีอาการหายใจเสียงดังเหมือนคนเป็นโรคหอบ หืด 
  • พูดไม่มีเสียงออกมา หรือพูดลำบาก
  • หายใจเร็วกว่าปกติ 
  • หากอยู่ในอาการที่รุนแรง จะมีอาการปากเขียว เกร็ง ซึ่งกรณีนี้จะต้องได้รับการปฐมพยาบาลทันทีโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้ 

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อมีอาหารติดคอลูกน้อยควรทำอย่างไร เป็นเรื่องใกล้ตตัวที่พ่อแม่และคนรอบข้างจะต้องเรียนรู้ เพื่อจะได้สามารถช่วยได้ทันทีก่อนนำส่งโรงพยาบาล โดยมีวิธีปฐมพยาบาลดังนี้

  1. ในกรณีที่สังเกตเห็นว่าลูกยังสามารถหายใจได้เองอยู่ ให้ลูกพยายามไอออกมาโดยการจับลูกนอนคว่ำ และตบแรง ๆ ที่บริเวณทรวงอกด้านหลัง ระหว่างกระดูกสะบัก จนอาหารหลุดออกมา 
  2. ในกรณีที่ อาหารติดคอ หายใจไม่ออกหรือสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มปากเขียวแล้ว ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ที่อาจเสียชีวิตได้ในไม่กี่นาที ควรรีบช่วยด้วยวิธี Heimlich โดยการนั่งหรือโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ซึ่งพ่อแม่อยู่ด้านหลังใช้แขนสองข้างโอบลำตัว กำมือวางไว้ใต้ลิ้นปี่ ดันมือลงตรงที่ตำแหน่งลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้แรงกดในช่องท้องดันให้อาหารหลุดออกมา จากนั้นรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วทันที 

แนวทางป้องกันไม่ให้อาหารติดคอลูกอีก

อาหารติดคอ เป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เราก็สามารถป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ โดยมีแนวทางการป้องกันไม่ให้ อาหารติดคอ ลูกน้อยได้ดังต่อไปนี้ 

  • นั่งทานอาหารตัวตรงทั้งตอนระหว่างทานอาหารและหลังจากที่ทานอาหารเสร็จ โดยห้ามนอนทันทีหลังจากทานอาหาร ซึ่งควรรอให้อาหารย่อยก่อนอย่างน้อย 30 นาที 
  • ทานอาหารอย่างช้า ๆ ไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลที่หิวก็ตาม 
  • ทานอาหารให้เรียบร้อย โดยห้ามมีสิ่งรบกวน เช่น การพูดคุยระหว่างการทานอาหาร การเดิน หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารไปด้วยและดูทีวีไปด้วย 
  • เก็บอาหาร หรือของชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นมือเด็ก เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ลูกอม ข้าวโพดคั่ว ลูกเกด ขนมเยลลี่ เป็นต้น เนื่องจากอาหารลักษณะนี้เป็นอาหารที่มีขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่เคี้ยวแต่จะกลืนลงไปเลย ทำให้เสี่ยงต่อการติดคอได้ง่าย 
  • หมั่นสอนลูกน้อยให้เคี้ยวอาหารช้า ๆ และละเอียดก่อนกลืนทุกครั้ง และทุกครั้งที่ทานอาหารจะทานให้เรียบร้อย ไม่พูดคุยหรือเล่นกันเด็ดขาด
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น หรือแข็ง ลื่น รวมไปถึงอาหารที่มีก้าง กระดูก ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีโอกาสที่จะหลุดลงไปติดคอได้ง่าย ควรให้ทานอาหารอ่อน นิ่ม เคี้ยวง่าย 

ดังนั้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่าอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้วหากไม่ต้องการให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น พ่อแม่และคนทุกคนควรศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้ดีเพื่อเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และแน่นอนเลยว่าหากเรารู้ทันเหตุการณ์เหล่านี้การสูญเสียจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน รวมถึงการดูแลคนรอบข้างไม่ให้เสี่ยงกับอันตรายเหล่านี้ด้วย 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เครื่องปั่นอาหารทารก ไอเทมที่จะช่วยให้คุณแม่ เตรียมอาหารลูกง่ายขึ้น

2. ลูกสำลักอาหาร สำลักแบบไหนอันตราย สังเกตได้อย่างไร หมอแอมมีคำตอบ!!!

3. คุณหมอแชร์ประสบการณ์ เตือนคุณแม่ ไส้กรอกติดคอหนูน้อย 3 ขวบ สุดท้ายเสียชีวิต

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team